มาแล้ว! Metaverse การศึกษา เรียนยังไงก็ให้เบื่อ "วิสดอม วี กรุ๊ป" จัดให้

18 มี.ค. 2565 | 11:40 น.
อัปเดตล่าสุด :18 มี.ค. 2565 | 19:01 น.

วิสดอม วี กรุ๊ป ผุดแพลตฟอร์ม Metaverse of Education สร้างประสบการณ์ใหม่การศึกษายุคออนไลน์ เรียนยังไงให้ไม่เบื่อ เติมทักษะ Soft Skills หลักสูตรอินเตอร์ เน้นประสบการณ์การเรียนรู้แบบจำลองเชิงเรียนจริง

นางสาวไหมฟ้ารดา (Maifarada) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วิสดอม วี กรุ๊ป จำกัด (WISDOM V GROUP CO., LTD) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้พัฒนาแพลทฟอร์มสำหรับการศึกษา “Mataverst of Education” ที่มีทั้งทักษะวิชาการ (Hard Skill and Academic), ทักษะการทำงาน (Working Skill), ทักษะชีวิตต่างๆ (Soft Skill) เพื่อเป็นแหล่งรวมการศึกษายุคใหม่ของประเทศไทย เบื้องต้นมีวิทยากรเข้าร่วมแล้ว 10,000 คน 

นางสาวไหมฟ้ารดา (Maifarada) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วิสดอม วี กรุ๊ป จำกัด

การจัดหลักสูตรเรียนออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม “Metaverse of Education” มีการเตรียมตัวมาประมาณ 2-3 ปีแล้ว ทั้งการลงมือศึกษาและทำวิจัยร่วมด้วย เพื่อหาจุดเด่น จุดด้อย ให้ได้หลักสูตรเรียนออนไลน์ที่ดีที่สุด เนื่องจากการเรียนในห้องเรียนปกติกับการเรียนทางออนไลน์มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงทั้งวิทยากร ผู้เรียน สถานที่ และช่วงระยะเวลาของการเข้าห้องเรียน การพัฒนาหลักสูตรเรียนออนไลน์จึงต้องแตกต่าง โดยการนำหลักจิตวิทยาการเรียนรู้เข้ามาผนวกในหลักสูตรด้วย คือมีการให้ความสำคัญกับแรงบันดาลใจ (Inspiration) ศาสตร์และศิลปะเข้าไป เพื่อดึงความสนใจของผู้เรียนให้อยู่กับเนื้อหาที่วิทยากรกำลังสอนทางออนไลน์ รวมทั้งแต่ละหลักสูตรยังต้องอิงกับการเรียนรู้ของต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา, ยุโรป, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์, เกาหลีและอื่นๆ มาประยุกต์ใช้

จากการทำวิจัยก่อนที่จะมีการพัฒนาหลักสูตรสู่ Metaverse พบว่าถ้านำคอนเทนต์การเรียนรู้แบบเดิมๆ ที่ใช้ในห้องเรียนปกติ มาเรียนในห้องเรียนออนไลน์พบว่าผู้เรียนจะไม่ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ เพราะเป็นการเรียนรู้คนละบรรยากาศ สถานที่/เวลาแตกต่างกัน ซึ่งการเรียนออนไลน์นั้น ผู้เรียนจะมีระยะเวลาโฟกัสกับเนื้อหาเพียงแค่ 10-15 นาทีแรก เท่านั้น

มาแล้ว! Metaverse การศึกษา เรียนยังไงก็ให้เบื่อ \"วิสดอม วี กรุ๊ป\" จัดให้

การจัดหลักสูตรการเรียนออนไลน์บนแพลตฟอร์ม “Mataverse” จึงไม่เหมือนกับคลิปวิดีโอทั่ว ๆ ไป ที่สอนกันทางช่องยูทูปหรือทางสื่อ Social Facebook แต่จะเน้นประสบการณ์การเรียนรู้แบบจำลองเชิงเรียนจริง  โดยหลักสูตรที่สอนออนไลน์บนแพลตฟอร์มจะมีการแบ่งช่วงเวลาของการเรียนไว้ 5 ช่วง หลักๆ ด้วยกัน คือ ในช่วงเริ่มต้นของการเรียนจะให้เวลาประมาณ 15 นาที และเนื้อหาจะมุ่งเน้นการให้ Inspiration กับผู้เรียน ส่วนช่วงที่ 2 วิทยากรจะค่อย ๆ ลงเนื้อหา รายละเอียด ส่วนในช่วงที่ 3 วิทยากรจะทบทวนเนื้อหา ส่วนช่วงที่ 4 จะเป็นการสรุปเนื้อหาทั้งหมด และช่วงที่ 5 วิทยากรจะทำความเข้าใจให้กับผู้เรียนในประเด็นสำคัญ ๆ ดังนั้นแต่ละช่วงเวลาที่เรียนออนไลน์จะใช้เวลาเพียงแค่ 10 -15 นาที เท่านั้นและจะมี Pop Up ให้ผู้เรียนมี Inter Action เพื่อดึงดูดผู้เรียนให้อยู่กับเนื้อหาตลอด จะเห็นว่าบรรยากาศมีความแตกต่างกับคอสเรียนออนไลน์ทั่วไปที่เป็นการสื่อสารทางเดียวทำให้ผู้เรียนเบื่อไม่จดจ่อกับเนื้อหา และขาดเป้าหมาย

อีกจุดเด่นของหลักสูตรเรียนออนไลน์บนแพลตฟอร์ม “ Metaverse of Education” ก็คือจะมีการเสริมความรู้ทักษะทั้งด้านการทำงานเพื่อให้เข้ากับการทำงานในโลกยุคใหม่ ซึ่งทักษะการเรียนรู้จะไม่เหมือนการเรียนในยุคเดิมอีกต่อไป หลักสูตรต่าง ๆ มีการนำร่องไว้เรียบร้อยแล้วโดยวิสดอม วี กรุ๊ป และพร้อมที่จะทำการสอนได้ 100% เร็วๆ นี้ โดยจะมีการประยุกต์หลักสูตรจิตวิทยาและคำสอนในพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาจิตใจของผู้เรียนไปพร้อมกัน

 

แพลตฟอร์ม “Metaverse of Education” นอกจากจะเป็นการเปิดกว้างให้วิทยากร/ติวเตอร์ที่มีความรู้ความสามารถโดดเด่นด้านใดด้านหนึ่งมาอยู่บนแพลตฟอร์มแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมภาคการศึกษาในภาพรวมและเป็นการช่วยเหลือสังคมร่วมกัน นอกเหนือจากการมีรายได้ โดยตั้งเป้าจะมีผู้เรียนในทุกสาขาอาชีพเข้ามาอยู่ในแพลตฟอร์ม 10 ล้านคน ภายใน 2 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2565

 

วิสดอม วี กรุ๊ป จะทำหน้าที่ดูแลเทคโนโลยีระบบหลังบ้าน ขณะเดียวกันก็มีบทบาทของการเป็นสถาบันพัฒนาวิชาการ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งใครที่ผ่านการอบรมหลักสูตรเรียนออนไลน์บนแพลตฟอร์มของ “Education Commerce” จะมี Certificate ซึ่งรับรองโดยหน่วยงานภาครัฐและเอกชนและให้ถือเป็นมาตรฐานการยืนยันในทักษะความรู้ ความสามารถที่ผู้จบหลักสูตรได้รับโดยผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบการรับรองในระดับนานาชาติ และจะเป็นด่านแรกในการเข้าทำงาน

 

อย่างไรก็ตามถ้าสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ดีขึ้น บริษัทมีแผนที่จะจัดงาน World Education & University Expo’ 2022 ปลายปีนี้ ซึ่งข้อดีของการจัดงานจะทำให้นักเรียนได้มีโอกาสพบกับนักวิชาการจริงๆ ทั้งด้าน Hard Skills และ Soft Skills