‘สวนทรายงาม’ นำ ESG ดูแลสังคมและชุมชนโดยรอบ

05 ก.พ. 2565 | 13:47 น.

“สวนทรายงาม” เดินนโยบายรับผิดชอบสังคม ภายใต้กรอบ ESG สร้างเครือข่าย “คนรักผึ้ง รักษ์ป่า” ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมพัฒนาอาชีพ อบรมให้ความรู้ปลุกจิตสำนึกชุมชนโดยรอบ

“วารุณี วุฒิศักดิ์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท สวนทรายงาม จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ มีนโยบายดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม ชุมชนโดยรอบ และการกำกับดูแลหรือธรรมาภิบาล (ESG) มาตลอด พร้อมทั้งสร้างทัศนคติและวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้พนักงานมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ร่วมกัน ด้วยแนวทางปฏิบัติ ได้แก่

‘สวนทรายงาม’ นำ ESG ดูแลสังคมและชุมชนโดยรอบ

 1. การสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ สังคมและสิ่งแวดล้อม ผ่านกิจกรรม อาทิ มอบเงินสนับสนุนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากคลอง อ.ปะทิว เป็นต้น 

2. ส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับ ให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมปฏิบัติงานและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม อาทิ ปลูกป่าเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับพื้นที่ เป็นต้น 

‘สวนทรายงาม’ นำ ESG ดูแลสังคมและชุมชนโดยรอบ

3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานมีส่วนร่วมทำงานอาสาสมัคร และ 4. ดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ร่วมกับชุมชน

‘สวนทรายงาม’ นำ ESG ดูแลสังคมและชุมชนโดยรอบ

ที่ผ่านมา สวยทรายงาม ได้สร้างเครือข่าย “คนรักษ์ผึ้ง รักษ์ป่า” เป็นการปลุกจิตสำนึกทำให้คนปลูกป่า และกลับมาเลี้ยงผึ้ง ผ่านการอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญและลงมือทำจริง นอกจากนี้ ยังจัดทำโครงการขยายลังผึ้ง เป็นโครงการร่วมกับสถานีวิจัยหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ร่วมมือทดลองการเลี้ยงผึ้งโดยวางลังผึ้งไว้ในสถานีฯ เพื่อให้ผึ้งช่วยเพิ่มผลผลิตพืชผลทางเกษตร เพราะผึ้งจะมาช่วยผสมเกสรให้กับต้นไม้ และเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพราะผึ้งจะช่วยในการผสมเกสรต้นไม้ได้ดี ไม่ต้องพึ่งการใช้สารเคมีเร่งดอก
 

ในปี 2565 บริษัทฯ เตรียมเดินหน้ากิจกรรมหลักๆ ต่อเนื่อง ทั้งการจัดตั้งเครือข่าย “คนรักษ์ผึ้ง รักษ์ป่า” เพื่ออบรมให้กับชุมชนและผู้ที่สนใจการเลี้ยงผึ้ง โครงการร่วมกับสถานีวิจัยหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศึกษาโครงการขยายลังผึ้ง โดยตั้งเป้าปี 2565 จะมีลังผึ้ง 500 ลัง ผลผลิตน้ำผึ้ง 500 กิโลกรัม โครงการพัฒนาการปลูกป่าแบบผสมผสาน และโครงการทดลองปลูกพืชกัญชง
 

นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดด้านการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านโครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยการปลูกต้นไม้ใหญ่เพิ่ม เพื่อช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยร่วมโครงการ “ส่งเสริมปลูกไม้เศรษฐกิจเพื่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) บนพื้นที่ทั้งหมด 20 ไร่ โดยได้รับการสนับสนุนกล้าพันธุ์ไม้คุณภาพดี อาทิ ไม้พะยูง ไม้สัก ไม้ยางนา ไม้ตะเคียนทอง ปัจจุบันปลูกไปแล้ว 1,358 ต้น และโครงการปลูกสวนป่า เพื่อเป็นป่าอาหารของผึ้ง อาทิ กระถินเทพา ประดู่ พยอม ปัจจุบันไปแล้วกว่า 600 ต้น 

 

หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,754 วันที่ 3 - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565