กินเจเเบบคลีนๆ 6 วิธีกินอย่างไรไม่ทำให้อ้วน

04 ต.ค. 2564 | 10:00 น.
อัปเดตล่าสุด :07 ต.ค. 2564 | 22:16 น.

กินเจ 2564 ตรงกับวันที่ 6 - 14 ต.ค. 64 หลายคนกำลังเตรียมพร้อมแต่เอ๊ะ !!! เเล้วจะเลือกอาหารอย่างไรเพื่อให้ได้ประโยชน์ เเถม "ไม่อ้วน" ฐานเศรษฐกิจมีคำตอบให้

ช่วงเทศกาล "กินเจ" ปีนี้ตรงกับวันที่ 6 - 14 ต.ค. 64 รวม 9 วัน 9 คืน ดูเผินๆอาหารเจจะมีแต่ผัก แต่ที่จริงแล้วแฝงไปด้วยแป้งและไขมัน

ปัจจุบันมักจะปรับให้มีรสชาติที่อร่อยขึ้นเพื่อให้รับประทานง่ายขึ้น  หากไม่ควบคุมอาหารให้ดี อาจจะทำให้น้ำหนักขึ้นได้ง่ายเพราะร่างกายได้รับพลังงานและโซเดียมมากเกิน

การกินอาหารเจนั้นดีต่อสุขภาพ หากเลือกกินอย่างถูกต้อง โดยเน้นอาหารจากธรรมชาติ เช่น ผัก ผลไม้ เต้าหู้ หรืออาหารที่ปรุงแต่งน้อยที่สุด

กินเจเเบบคลีนๆ 6 วิธีกินอย่างไรไม่ทำให้อ้วน

วันนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" มีเคล็ดลับกินเจง่ายๆ แบบไม่อ้วนมาฝากกัน ได้บุญและได้สุขภาพที่ดีด้วย

กินเจเเบบคลีนๆ 6 วิธีกินอย่างไรไม่ทำให้อ้วน 

1.เน้นผัก-ลดแป้ง

เน้นผัก ควรจะกินผักให้ครบทั้ง 5 สี ทั้งสีเขียว, เหลือง, ขาว, แดง และดำ

อาหารตระกูลถั่ว หรือผลิตภัณฑ์จากถั่วอย่างเต้าหู้ หรือน้ำเต้าหู้หวานน้อย เพราะถั่วมีโปรตีนสูง อยู่ท้องมากขึ้นได้

กินเจเเบบคลีนๆ 6 วิธีกินอย่างไรไม่ทำให้อ้วน

2.เน้นเมนู ต้ม-ตุ๋น-นึ่ง

เบสิคสุดๆ สำหรับคนที่ไม่อยากอ้วน เพราะอาหารประเภททอดและผัดน้ำมันเยิ้มทำให้เพิ่มแคลอรีและการสะสมไขมันในร่างกาย

ดังนั้นอยากกินเจแบบไม่อ้วนขึ้นก็ควรเลือกกินอาหารประเภทนึ่ง ต้ม ตุ๋น แทน หรือบริโภคแต่น้อยจะช่วยให้ตัวไม่บวมหลังหมดเทศกาลกินเจ

3.เน้นปรุงรสให้น้อยที่สุด

เครื่องปรุงรสแทบทุกชนิดมักจะมีโซเดียม น้ำตาล หรือไขมันผสมอยู่ด้วย หากปรุงรสให้อาหารเจมาก ๆ อาจทำให้เสี่ยงต่อภาวะโซเดียมสูง เกิดอาการบวม และเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะภาวะความดันโลหิตสูง

หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง ของแปรรูป เน้นผักหลากสี ผลไม้สด

4.เน้นอาหารที่สดใหม่เสมอ

อาหารเพื่อสุขภาพ ไม่ว่าจะกินเจหรือไม่ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ"อาหารสดใหม่" ไม่ว่าจะเป็นผัก ผลไม้ หรืออาหารปรุงสุกก็ตาม จะทำให้คุณค่าทางสารอาหารเหล่านั้นอยู่ครบถ้วน เเละช่วยป้องกันอาการอาหารเป็นพิษ อาการท้องเสีย หรือท้องร่วงอีกด้วย

5.หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง ของแปรรูป

อาหารหมักดอง ของแปรรูป อาหารกระป๋อง ผลไม้อบแห้ง ไปจนถึงข้าวกล่องสำเร็จรูปแบบพร้อมทาน มีโซเดียมสูง เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ "บวมน้ำ"

เสี่ยงเป็นโรคไต ควรเน้นอาหารปรุงสดแบบมื้อต่อมื้อ ผักหลากสี และผลไม้แบบสดๆ  และไฟเบอร์ที่ได้จากผักผลไม้ยังช่วยให้อิ่มเร็ว และขับถ่ายง่ายขึ้นอีกด้วย

6.อาหารเจต้องครบ 5 หมู่ และเมนูไม่ควรซ้ำ

อาหารเจส่วนใหญ่ที่ขายตามท้องตลาด มักมีปริมาณแป้งและไขมัน และบ้างเมนูยังขาดโปรตีน อาจทำให้ขาดสารอาหาร ร่างกายไม่แข็งแรง แถม "ลงพุง" ได้ ดังนั้น ควรเลือกเมนูที่มีครบทั้ง 5 หมู่ และเปลี่ยนเมนูบ่อยๆ