ยลอัตลักษณ์ท้องถิ่น เจียงใหม่ “ไฮบริด... แหมเน้อ"

18 ส.ค. 2564 | 08:32 น.
อัปเดตล่าสุด :18 ส.ค. 2564 | 13:07 น.

“เชียงใหม่” คืออีกหนึ่งจังหวัดที่กำลังเปิดรับนักท่องเที่ยว โดยล่าสุด ได้เปิดเป็น CHARMING CHIANG MAI SANDBOX ในพื้นที่นำร่อง 4 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองเชียงใหม่ อำเภอแม่ริม อำเภอแม่แตง และอำเภอดอยเต่า

โดยประชากรในพื้นที่ทั้ง 4 อำเภอ ต้องได้รับวัคซีนเกินกว่า 70% ซึ่งขณะนี้ทุกอย่างเดินหน้าเปิดรับนักท่องเที่ยวเป็นที่เรียบร้อยและในพื้นที่อื่นๆ อีก 21 อำเภอจะต้องได้รับวัคซีนเกินกว่า 70% ภายใน วันที่ 30 กันยายน 2564 เพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยวภายใน 15 ตุลาคม 2564

ยลอัตลักษณ์ท้องถิ่น เจียงใหม่ “ไฮบริด... แหมเน้อ\"

นั่นคือสิ่งที่กำลังเดินหน้า ส่วนสิ่งที่ควรจะเดินไป “พัลลภ แซ่จิว” ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดเชียงใหม่ เล่าว่า แผนของการเปิดเชียงใหม่ เริ่มจากการจัดเป็นโมเดลไฮบริด ที่เซ็ทเป็นบ็อกซ์เล็กๆ เป็นการโฟกัสแต่ละเซ็กเม้นท์ เช่น บ็อกซ์สนามกอล์ฟ รวมทั้งการจัด 4 อำเภอนำร่อง 
 

 

ยลอัตลักษณ์ท้องถิ่น เจียงใหม่ “ไฮบริด... แหมเน้อ\"

ถ้าจะว่าไปแล้ว สำหรับเชียงใหม่ สามารถขายได้ทั้งเรื่องของสุขภาพ และวัฒนธรรม รวมทั้งธรรมชาติที่สวยงาม ซึ่งในแผนการสร้างการท่องเที่ยวยั่งยืนของเชียงใหม่ คือ การเชื่อมโยงสิ่งที่มีอยู่เหล่านั้นเข้าด้วยกัน โดยมองในเรื่องของ “สุขภาพ” (Wellness) ตอนนี้ไม่ใช่เพียงแค่การรักษาพยาบาล แต่มีเทคโนโลยีที่จะเข้ามาเสริมทำให้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่เชียงใหม่อลังการน่าสนใจมากขึ้น เช่น ดิจิทัลดีท็อกซ์ 
ยลอัตลักษณ์ท้องถิ่น เจียงใหม่ “ไฮบริด... แหมเน้อ\"  

ส่วนต่อมาคือ “Agro Aastro” ที่นำเรื่องของ agriculture เกษตรกรรม และ gastronomy ศาสตร์การทำอาหาร มีการโยง 80 ล้านนาอาหารอร่อยของดีใน 25 อำเภอ เชื่อมโยงไปถึงแหล่งผลิตปลอดภัย ผ่านร้านอาหาร ผ่านเชฟที่มีชื่อเสียง ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างการทำงาน ที่ไหนมีของดีของเด็ด ใน 80 เดสติเนชั่น   
 

“Sport Tourism” เช่น การนำกีฬามวยไทยมาเป็นจุดขาย ซึ่งขณะนี้ “บัวขาว” ร้อยตรี สมบัติ บัญชาเมฆ หรือ บัวขาว บัญชาเมฆ ได้มาเปิดค่ายมวยฝึกสอนที่เชียงใหม่ ก็เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว ที่ซื้อโปรแกรมเข้ามาเรียนฝึกซ้อมการต่อยมวยไทย หรือ การวิ่งเทรล เชียงใหม่ก็มีภูมิเทศที่เหมาะกับกีฬาประเภทนี้ และได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นที่ดอยอินทนนท์ หรือ ดอนม่อนจิ๋ง- ฟูจิออนใต้ 
  ยลอัตลักษณ์ท้องถิ่น เจียงใหม่ “ไฮบริด... แหมเน้อ\"

อีกหนึ่งการท่องเที่ยวคือ “Art and Craft” เป็นการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงถึงชุมชน ซึ่งเชียงใหม่มีชื่อเสียงทั้งเรื่องวัฒนธรรม งานหัตถกรรม นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเลือกซื้อหาของหัตกรรมสวยๆ พร้อมทั้งได้เรียนรู้วิธีการทำงานคราฟท์ไปด้วย หรือการไปเลี้ยงช้าง ที่ไม่ใช่แค่ไปนั่งช้าง แต่เป็นการเรียนรู้วิถีชีวิตของช้าง ได้เรียนรู้การเลี้ยงช้าง รวมไปถึง กาแฟ ชา โกโก้ หรือโคลน ที่เชียงใหม่ ก็ยังเป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน 
 

ยลอัตลักษณ์ท้องถิ่น เจียงใหม่ “ไฮบริด... แหมเน้อ\"

การท่องเที่ยวเชียงใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น คือการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ ที่ได้ทั้งพัฒนาทักษะความรู้ ดูแลสุขภาพ และยังดูแลสิ่งแวด ล้อมเป็น Green Tourisum ไปด้วยในตัว ขณะเดียวกัน ก็เป็นการยกระดับเมืองเชียงใหม่ มีสถานบริการที่ได้มาตรฐาน SHA แล้วถึง 845 แห่ง และเมื่อบุคลากรของสถานบริการเหล่านั้นได้ฉีดวัคซีนแล้ว 100% ก็จะได้เป็น SHA+ 
ยลอัตลักษณ์ท้องถิ่น เจียงใหม่ “ไฮบริด... แหมเน้อ\"  

ส่วนด้านการตลาด ตอนนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ก็เร่งเครื่องเต็มที่ กับการเติมองค์ความรู้ด้านการตลาดดิจิทัลให้กับชุมชน “อภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ” รองผู้ว่าการด้านดิจิทัล วิจัย และพัฒนา ททท. เล่าว่า ได้จัดโครง การดิจิทัลทาเลนท์ชุมชน (Digital Talents Village) เพื่อสร้างทักษะนักการตลาดดิจิทัลรุ่นใหม่ในชุมชน ซึ่งมีทั้งกิจกรรมสัมมนาออนไลน์ให้ความรู้ และเวิร์กช้อปการตลาดดิจิทัลแบบเข้มข้น 5 วัน 12 วิชา และเพื่อต่อยอดทักษะการตลาดดิจิทัลให้ชุมชน ททท. ได้จัดกิจกรรม “Digital Village Competition” เพื่อให้ทั้ง 41 ชุมชนที่เข้าร่วม ได้โชว์ศักยภาพและใช้ทักษะความรู้ที่ได้เรียนมาอย่างเต็มที่ ด้วยการแข่งขันทำตลาดออนไลน์รีวิวเรื่องท่องเที่ยวและโปรโมทสินค้าของชุมชน แถมมีเงินรางวัลให้ด้วย 
 

เรียกว่าเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้าน เพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยื่อนถิ่นฐานบ้านเฮาอีกครั้ง อย่างสบายใจ

หน้า 16 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,705 วันที่ 15 - 18 สิงหาคม พ.ศ. 2564