อาร์ยู แอสเซท หนุน 3 สถาบันจุฬาฯ ผลิตหน้ากาก Cure AIR SURE

22 ก.ค. 2564 | 15:20 น.
อัปเดตล่าสุด :22 ก.ค. 2564 | 22:25 น.

“ธีระชัย-ฐกร รัตนกมลพร” หนุน 3 สถาบันจุฬาฯ "วิศวะจุฬาฯ สถาบันวิจัยโลหะฯ และแพทยศาสตร์จุฬาฯ" ผลิตหน้ากาก Cure AIR SURE ครั้งแรกในไทย ป้องกันโควิด 19 ได้สูงกว่า หน้ากาก N95 เผยเป็นนวัตกรรมประสิทธิภาพสูง เพื่อบริจาคบุคคลากรทางการแพทย์สู้ภัยโควิด

นายธรีระชัย รัตนกมลพร ประธาน บริษัท อาร์ยูแอสเซท ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19 รุนแรงมากขึ้น บุคคลากรทางการแพทย์ต้องประสบปัญหาการทำงานที่มีความเสี่ยงสูง ประกอบกับอุปกรณ์ในการป้องกันตัวเองก็ไม่เพียงพอ บริษัทฯ จึงให้การสนับสนุนคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาฯ และสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุจุฬาฯ ผลิตหน้ากาก Cure AIR SURE จำนวน 1,000  ชุด มูลค่า 400,000 บาทเพื่อมอบให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ได้แก่ โรงพยาบาลสวนเบญจกิติเฉลิมพระเกียรติ สำนักแพทย์และอนามัย การท่าเรือแห่งประเทศไทย กองทันตแพทย์ กรมการแพทย์ทหารบก สถาบันราชนุกูล กรมสุขภาพจิต ทันตแพทย์สมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และโรงพยาบาลในจังหวัดชลบุรีอีก 2 แห่ง

กลุ่มบริษัทบริษัท อาร์ยูแอสเซท ดีเวลล็อปเมนท์ ทำธุรกิจทางด้านนวัตกรรมจึงเห็นความสำคัญและส่งเสริมการผลิตอุปกรณ์ ที่เน้นในเรื่องนวัตกรรมเพื่อสังคมซึ่งหน้ากาก CUre  AIR SURE เป็นผลงานการวิจัยสหศาสตร์ โดยนักวิชาการและบุคลากรจากสามหน่วยงานหลักภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ และคณะแพทย์ศาสตร์ ซึ่งจากการทดลอง CUre AIR SURE โดยแล็บทดสอบสี่แห่งในประเทศไทยและต่างประเทศพบว่าได้ประสิทธิภาพดังนี้ 99 PFE (Particle Filtration Eficiency) 99.99 BFE (Bacterieal Filtration Eficiency) Fittest Score 192) ซึ่งป้องกันได้มากกว่าหน้ากาก N95

 

หน้ากาก Cure AIR SURE เป็นนวัตกรรมล่าสุดและผลิตเป็นครั้งแรกมีประสิทธิภาพกันเชื้อโควิด19 ได้ 99% จากการใช้ในงานพบว่าหายใจสะดวกดูแลรักษาง่ายเหมาะที่จะใช้กับบุคคลากรที่มีความเสี่ยงทุกระดับจึงเห็นว่าจะเป็นประโยชน์กับบุคลากรทางการแพทย์อย่างมาก