สางปัญหาสิ่งแวดล้อม ดัน ‘วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร’ ขึ้นทะเบียนมรดกโลก

29 ม.ค. 2560 | 17:00 น.
756
Green Idea ฉบับนี้ ขอพูดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมในสถานที่สำคัญของไทยกันบ้าง จากการที่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจังหวัดนครศรีธรรมราช จัดทำแผนจัดการการอนุรักษ์และคุ้มครองแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม "วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร" จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อให้วัดได้รับการปกป้องและคุ้มครองอย่างยั่งยืน ด้วยมาตรการที่เหมาะสม โดยไทยได้เตรียมเสนอชื่อ "วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร" ขึ้นทะเบียนแหล่งเป็นมรดกโลก ในปี 2561 ซึ่งขณะนี้ ชื่อของ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อยู่ในบัญชีเตรียมการ (Tentative List) แล้ว ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 37 ประเทศกัมพูชา เมื่อเดือนมิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา
แต่การที่ "วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช" จะขึ้นเป็นมรดกโลกได้ ก็ต้องมีการจัดเตรียมแผน ซึ่งทาง มธ. ได้เสนอแผนบริหารจัดการลด 2 ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่

MP31-3230-2 1. การคุกคามโดยมนุษย์ อาทิ ปัญหาขยะ ปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกิน ปัญหาร้านค้าและผู้ค้าเร่ภายในวัด ฯลฯ และ 2. การคุกคามโดยธรรมชาติ อาทิ น้ำท่วมขัง และ การทำให้เสื่อมสภาพโดยนกพิราบ เป็นต้น

[caption id="attachment_126765" align="aligncenter" width="336"] รศ.โรจน์ คุณเอนก รศ.โรจน์ คุณเอนก[/caption]

รศ.โรจน์ คุณเอนก อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม บอกว่า เพื่อให้วัดพระมหาธาตุฯ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยสมบูรณ์ ประเทศไทยจะต้องจัดทำแฟ้มข้อมูล (Nomination File) เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาอีกครั้ง

ส่วน "แผนจัดการการอนุรักษ์และคุ้มครองแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช" ประกอบด้วย 1. การเพิ่มจุดทิ้งขยะให้เพียงพอ และสามารถเก็บขนได้อย่างสะดวก พร้อมทั้งรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวแยกขยะ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ 2. จัดการแบ่งพื้นที่ขายของให้เป็นสัดส่วน 3. ปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกิน ส่งผลให้เกิดแรงสั่นสะเทือนซึ่งเสี่ยงต่อการแตกหักของผนังโบสถ์ หรือยอดเจดีย์ ก็สามารถแก้ไขได้โดยมีมาตรการห้ามรถบรรทุกน้ำหนักเกินมาตรฐานขับผ่าน ฯลฯ

MP31-3230-4 4. งดการให้อาหารกับสัตว์ เช่น นกพิราบ เป็นการถาวร 5. ประสานการทำงานร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด และสถาบันการศึกษาในพื้นที่ ทำการผสมกวาวเครือขาวลงไปในอาหารนก เพื่อลดการขยายพันธุ์ของนกพิราบ 5. ประสานงานร่วมกับเทศบาลในพื้นที่ ปรับพื้นที่ให้เกิดทางน้ำไหลที่เหมาะสม สร้างระบบระบายน้ำใหม่ที่มีประสิทธิภาพ หรือขยายท่อระบายน้ำให้มีขนาดใหญ่ขึ้นบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ฯลฯ

MP31-3230-1 ส่วนสถานที่อื่นๆ ที่ไทยเตรียมผลักดันเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม-ธรรมชาติ เพิ่มเติมอีก 4 รายการ คือ "เส้นทางวัฒนธรรมพิมาย ปราสาทพนมรุ้ง-ปราสาทเมืองต่ำ" ครอบคลุมพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ นครราชสีมา และละสุรินทร์ "อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท" จ.อุดรธานี "สถานที่อนุสรณ์สถาน และพื้นที่ทางวัฒนธรรมในเชียงใหม่ เมืองหลวงแห่งล้านนา" จ.เชียงใหม่ และ "พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน" รวมไปถึงเขตพื้นที่เมืองเก่า อาทิ เมืองเก่าตาก เมืองเก่าเชียงราย เมืองเก่าพะเยาเมืองเก่าสตูล และเมืองเก่าตะกั่วป่า เป็นต้น พื้นที่เหล่านี้ ก็ต้องได้รับการดูแล และให้ความสำคัญกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างเต็มที่

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,230 วันที่ 26 - 28 มกราคม 2560