ไขความลับ “ศาลาว่าการ กทม. เสาชิงช้า” อัตลักษณ์ที่ไม่เหมือนตึกใดใน กทม.

27 พ.ค. 2565 | 08:00 น.
4.4 k

ย้ายศาลาว่าการ กทม. จากเสาชิงช้า ลานคนเมือง ไปยังศาลาว่าการ กทม. แห่งที่ 2 ดินแดง ขอพาไปไขความลับ “ศาลาว่าการ กทม. 1” อัตลักษณ์ที่ไม่เหมือนตึกใดในกรุงเทพฯ เเละมีความเป็นมาอย่างไร

"ย้ายศาลาว่าการ กทม." จากเสาชิงช้า ลานคนเมือง ไปยังศาลาว่าการ กทม. แห่งที่ 2 ดินแดง "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ ให้เหตุผลว่า ตั้งเป้าที่จะย้าย100% เพราะลานคนเมืองเป็นศูนย์กลางการเดินทางของเกาะรัตนโกสินทร์ด้านใน ควรจะเอาพื้นที่ตรงนี้คืนมา ไม่ใช่เป็นที่จอดรถของข้าราชการกทม. เอามาเป็น Hub สำหรับการท่องเที่ยว กระจายออกไปจุดต่างๆ

ย้ายศาลาว่าการ กทม." จากเสาชิงช้า ลานคนเมือง ไปยังศาลาว่าการ กทม. แห่งที่ 2

เมื่อย้อนไปดูนโยบายของชัชชาติ ในหมวดสร้างสรรค์ดี มีนโยบาย “เปลี่ยนศาลาว่าการและลานคนเมือง สู่พิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ และพื้นที่สร้างสรรค์” เพื่อ คนกรุงเทพฯ ได้อะไร ได้พิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ ได้รู้จักกรุงเทพฯ มากยิ่งขึ้น ได้พื้นที่สร้างสรรค์สาธารณะแห่งใหม่ใจกลางสะดือเมือง เป็นโมเดลของการสร้างพื้นที่ประเภท Third Place ในระดับเมือง

 

แนวคิดนี้มีขึ้นตั้งแต่ปี 2555 สมัย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร แนวคิดเรื่องการปรับศาลาว่าการกรุงเทพฯ เสาชิงช้าให้เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองได้ปรากฏขึ้น  เนื่องจากมีแผนที่จะย้ายศาลาว่าการไปยังดินแดง แต่การก่อสร้างที่ล่าช้าอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้โครงการดังกล่าวถูกพับลง

“ฐานเศรษฐกิจ” ขอพามาดูประวัติ “ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร” หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า กทม.1 เสาชิงช้า ตึกสี่เหลี่ยมที่เชื่อมต่อกันด้วยอัตลักษณ์ที่ไม่เหมือนตึกใดในกรุงเทพฯ 

 

ก่อนจะมาเป็น  “ศาลาว่าการ กทม.1 เสาชิงช้า"

  • พ.ศ. 2476 ได้มีการยกเลิกมณฑลโดยพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม 
  • โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคไว้เป็นจังหวัดและอำเภอ เป็นการยกเลิกมณฑลต่างๆ คงเหลือเพียงจังหวัดพระนครและธนบุรีที่มีการปกครองต่างจากจังหวัดอื่นๆ ตามสภาพภูมิประเทศและความสำคัญ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง
  • ต่อมาในปีเดียวกัน พ.ศ.2476ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล
  • พระราชบัญญัติจัดตั้งเทศบาลนครกรุงเทพ พ.ศ. 2479 และจัดตั้งเทศบาลนครกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2480
  • แต่เทศบาลเริ่มเปิดดำเนินงานในวันที่ 27 พฤษภาคม 2480 โดยเช่าบ้านของคุณหญิงลิ้นจี่ สุริยานุวัติ ที่ถนนกรุงเกษมเป็นสำนักงาน มีพลเอกเจ้าพระยารามราฆพเป็นนายกเทศมนตรีคนแรก
  • พระยาประชากิจกรจักร (ชุบ โอสถานนท์) ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเสนอต่อรัฐบาล ซึ่งมีจอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีว่าเทศบาลต้องการที่จะมีสถานที่ทำงานเป็นของตนเองและได้พิจารณาเห็นว่าตึกแถวรอบบริเวณตลาดเสาชิงช้าและตัวตลาดเสาชิงช้า
  • เดือนมกราคม พ.ศ. 2484 เทศบาลจึงได้ย้ายสำนักงานจากถนนกรุงเกษมมาตั้งที่ตำบลเสาชิงช้า ซึ่งเป็นที่ตั้งศาลาว่าการกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน
  • ครั้งแรก เป็นการดัดแปลงตึกแถวเดิมเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ก่อนและได้นำเรื่องเสนอต่อรัฐบาลให้ช่วยดำเนินการนำความกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุมัติให้กระทรวงการคลังขายที่ดิน ซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้กับเทศบาล
  • ในที่สุดก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณได้มีพระบรมราชานุมัติให้ขายแก่เทศบาลในราคา 300,000บาท

เสาชิงช้า

การออกแบบศาลาเทศบาลนครกรุงเทพ

  • สมัยพลเอกมังกร พรหมโยธี นายกเทศมนตรี เห็นว่าที่ทำการของเทศบาลแออัดเกินไปจึงมอบหมายให้หม่อมเจ้าสมัยเฉลิมกฤดากร สถาปนิกพิเศษ กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบศาลาว่าการเทศบาลนครกรุงเทพ
  • ถือเป็นสถาปนิกพิเศษที่มีผลงานมากมาย เช่น การซ่อมหมู่พระที่นั่งหลังพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พ.ศ. 2496-2503 พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์พ.ศ. 2505 พระราชอนุสาวรีย์ รัชกาลที่6 หน้าสวนลุมพินี ฯลฯ
  • พ.ศ. 2498 การออกแบบศาลาเทศบาลนครกรุงเทพเป็นไปอย่างเร่งด่วน เมื่อแบบเสร็จก็ประกอบหุ่นจำลองขออนุมัติสร้างแบบที่หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร ออกแบบไว้มี

 

แบบร่างอาคารศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2498

ลักษณะสำคัญ

  • มีห้องประชุมสภาเทศบาล ซึ่งเป็นแบบหลังคาสูงใหญ่
  • มีสัญลักษณ์ของเทศบาลนครกรุงเทพ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
  • สถานที่ทำการของเทศบาลเป็นแบบ ชั้นโยงเชื่อม เป็นรูปสี่เหลี่ยม รอบในมีลานกลางและสนามทางด้านหน้า
  • ชั้นล่างของอาคารเป็นที่จอดรถ 
  • หลังคาดาดฟ้าเพิ่มขึ้นอีก
  • มีหอสูงตามสมัยนิยมอาคารที่อาณาบริเวณกว้างขวาง
  • มักให้มีหอสูงสำหรับสังเกตการณ์เพื่อดูแลรักษาและตรวจตรา บริเวณโดยสะดวก เช่น กรมโยธาธิการก็มีหอสูงหลังคาโดม

 

การวางศิลาฤกษ์สำหรับศาลาว่าการเทศบาลนครกรุงเทพ เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2499 จนเทศบาลนครกรุงเทพได้รวมกับเทศบาลนครธนบุรีเป็น “เทศบาลนครหลวง” และประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 335 จัดรูปการบริหารนครหลวงเป็น “กรุงเทพมหานคร” ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2515 และกลายเป็น “ศาลาว่าการกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน” ทำหน้าที่เป็น ศูนย์บัญชาการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้ประชาชนชาวกรุงเทพฯ

 

ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า

  • มีความลงตัวในตัวเอง
  • มีลานคนเมืองถัดกับเสาชิงช้าคู่เมือง
  • ทิวทัศน์โบสถ์วัดสุทัศน์ฯ ที่งดงาม 
  • รายรอบด้วยย่าอาหารอร่อยที่มีชื่อมานาน 

ข้อมูล : บางกอก economy