"เครื่องจับเท็จ" จับพิรุธ จุดโกหกได้จริงไหม ?

28 ก.พ. 2565 | 15:10 น.
อัปเดตล่าสุด :28 ก.พ. 2565 | 22:24 น.
4.8 k

คดี "แตงโม นิดา" ล่าสุดตำรวจเตรียมนำเครื่องจับเท็จมาใช้ในการสอบสวน กลุ่มเพื่อนของเเตงโม ที่อยู่บนเรือง คำถามคือ "เครื่องจับเท็จ" จับพิรุธ จุดโกหกได้จริงไหม ?

คดี “แตงโม นิดา” นักแสดงสาวชื่อดัง จากเหตุพลัดตกเรือกลางแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นคดีที่ไม่อาจละสายตาได้ ล่าสุด ตำรวจเล็งใช้ “เครื่องจับเท็จ” สอบปากคำกลุ่มเพื่อนของแตงโมที่อยู่บนเรือ เพื่อหาคำตอบที่สังคมสงสัยว่าให้การจริงหรือโกหก

“แตงโม นิดา” นักแสดงสาวชื่อดัง

แล้ว “เครื่องจับเท็จ” จับพิรุธ จุดโกหกได้จริงไหม น่าจะเป็นคำถามที่หลายคนสนใจอยู่ไม่น้อย ว่าเจ้าเครื่องนี้มันทำงานยังไง เป็นตัวช่วยตำรวจทางคดีนิติวิทยาศาสตร์ ใช้ได้จริงไหม คำตอบก็คือ จริงแต่ไม่ทั้งหมด

ปัจจุบันยังมีการใช้งานอยู่บ้าง แต่ใช้เป็นเพียงอุปกรณ์ประกอบการสอบสวน ไม่สามารถใช้ยืนยันในชั้นศาลได้ว่าบุคคลดังกล่าวโกหกจริงหรือไม่ แม้ว่าจะมีความแม่นยำ 87-90% เพราะผู้บริสุทธิ์บางคน เมื่อถูกรัดด้วยเครื่องมือ อาจจะประหม่า มีอัตราการเต้นของหัวใจสูง มีเหงื่อออกมาก

“เครื่องจับเท็จ” เรียกแบบทางการว่า  “เครื่องโพลีกราฟ” (Polygraph) เป็นการผสมผสานอุปกรณ์ทางการแพทย์การแพทย์ ซึ่งมีไว้สำหรับบันทึกชีพจรของผู้ป่วย ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยวินิจฉัยความผิดปกติของหัวใจและเพื่อตรวจวัดสภาพผู้ป่วยในระหว่างการผ่าตัด ทั้งตรวจวัดชีพจร, ความดันโลหิต, อุณหภูมิ รวมถึงอัตราการหายใจ การจับเท็จด้วยเครื่องโพลีกราฟนั้นมักจะใช้ในการสอบสวนคดีอาญา แต่บางครั้งก็นำไปใช้ในกรณีอื่นๆ ด้วย 

 

เป้าหมายของการใช้เครื่องจับเท็จ

  • เพื่อดูว่าบุคคลผู้นั้นกำลังบอกความจริงหรือกำลังโกหกอยู่ ในขณะที่ตอบปัญหาในบางคำถาม 
  • เมื่อเข้าเครื่องจับเท็จ จะมีการวางตัวรับสัญญานไว้บนร่างกาย 4 – 6 จุด
  • เมื่อการทดสอบเริ่มขึ้น ผู้ทดสอบจะถามคำถาม 2 – 3 คำถามเพื่อตรวจสอบสัญญานชีพที่จับได้จากผู้เข้ารับการทดสอบ
  • จากนั้นจะเริ่มถามคำถามจริงที่ใช้ในการจับเท็จ  ในระหว่างการถามคำถามนั้น  สัญญานที่จับได้จะถูกบันทึกบนกราฟคอมพิวเตอร์
  • ผู้ต้องสงสัยที่ถูกถาม ผู้ตรวจจะดูอัตราการต้นของหัวใจ ความดันโลหิต อัตราการหายใจ และการเปลี่ยนแปลงกระแสคลื่นไฟฟ้าที่ชั้นผิวหนัง โดยเปรียบเทียบกับภาวะปกติ
  • ถ้าเส้นกราฟที่ได้มีการแกว่งหรือขึ้นๆ ลงๆ ที่ต่างกันมาก นั่นก็อาจจะชี้ได้ว่าผู้ที่ถูกตรวจสอบในขณะนั้นกำลังหลอกลวง

 

ประสิทธิภาพของเครื่องจับเท็จเคยมีการอ้างอิงว่าแม่นยำถึง 87-90% แต่กฎหมายของหลายประเทศก็ไม่ได้นำมาใช้ในชั้นศาลตัดสินผู้ต้องสงสัย เพียงแค่ใช้ในขั้นตอนสืบสวนคดี เช่น สืบพยาน หรือผู้ต้องสงสัย

 

การตรวจสอบผู้ต้องสงสัยด้วย “โพลีกราฟ” เพื่อมองหาการแสดงออกที่ไม่ได้ตั้งใจอันเป็นนัยสำคัญขณะที่ผู้ต้องสงสัยอยู่ในสภาวะที่กดดันหรือเคร่งเครียด แต่ ดร.บ็อบ ลี (Dr.Bob Lee) อดีตผู้อำนวยการบริหารแอกซ์ไซชัน ซิสเต็ม (Axciton Systems) ผู้ผลิตเครื่องโพลีกราฟ ระบุว่าการตรวจแบบนี้ไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้หากผู้นั้นโกหกจริง

 

แต่ก็จะปรากฏการตอบสนองทางร่างกาย เป็นสิ่งที่ปรากฏในคนทั่วไปขณะที่พยายามหลอกลวงผู้อื่น ด้วยการถามคำถามกดดันพิเศษขณะสอบสวนและตรวจสอบ ซึ่งมีผลต่อปฏิกิรยาทางร่างกาย ส่วนโพลีกราฟก็จะช่วยแสดงว่าพฤติกรรมเช่นนี้โกหกอยู่หรือไม่

 

อุปกรณ์เครื่องจับเท็จ

  • Pneumograph tupe  ใช้วัดความเปลี่ยนแปลงของระบบหายใจ
  • Blood pressure cuff  ใช้วัดความเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต
  • Galvanic skin reflex (GSR)  ใช้วัดความต้านทานกระแสไฟฟ้าที่ผิวหนัง
  •  อุปกรณ์บันทึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อเป็นถุงลมยางติดตั้งไว้ที่พนักพิงเก้าอี้

 

อ้างอิง : polygraph The American Polygraph Association