thansettakij
ผู้ประกอบการต้องรู้ 10 เทรนด์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ ในระบบสาธารณสุขปี 2568

ผู้ประกอบการต้องรู้ 10 เทรนด์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ ในระบบสาธารณสุขปี 2568

16 ม.ค. 2568 | 22:00 น.
อัปเดตล่าสุด :17 ม.ค. 2568 | 07:58 น.

อัพเดท 10 เทรนด์เทคโนโลยีทางการแพทย์ ปี 2568 บริการสาธารณสุขกับการตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สู่การดูแลรักษาอย่างยั่งยืน ที่ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขทั่วโลกต้องพัฒนา

การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ กับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในวงการสาธารณสุข องค์กรด้านเฮลท์แคร์และผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขทั่วโลก จึงจำเป็นต้องพัฒนาและหาแนวทางในการให้บริการสาธารณสุขที่ดีกว่า พร้อมตระหนักถึงความสำคัญในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมี 10 เทรนด์เทคโนโลยีทางการแพทย์ในปี 2568 ที่จะมาช่วยดูแลรักษาให้กับผู้คนได้มากขึ้นอย่างยั่งยืน ดังนี้

ผู้ประกอบการต้องรู้ 10 เทรนด์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ ในระบบสาธารณสุขปี 2568

1. Generative AI: เทคโนโลยีที่มาเป็นผู้ช่วยเพื่อลดเวลาทำงาน ในวงการเฮลท์แคร์ได้หันมาใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติเพื่อลดภาระงานให้กับบุคลากรทางการแพทย์มากขึ้น จากผลสำรวจ 2024 Philips Future Health Index report เผยให้เห็นว่า 92% ของผู้บริหารชั้นนำในวงการเฮลท์แคร์เชื่อว่า เทคโนโลยีอัตโนมัติเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาด้านการขาดแคลนบุคลากร ช่วยลดงานและกระบวนการที่ซ้ำซ้อน ในขณะที่กว่าร้อยละ 90 ยังเชื่อว่าเทคโนโลยีอัตโนมัติจะลดภาระงานด้านเอกสาร ได้ แต่บุคลากรทางการแพทย์มีเวลาในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้มากขึ้น

2. ทำให้การวินิจฉัยที่ซับซ้อนเป็นเรื่องง่ายด้วย AI

แม้ว่าปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะช่วยปรับปรุงการการทำงานด้านบริหารจัดการและเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยได้อย่างมาก แต่บทบาทของ AI ในด้านสาธารณสุขไม่ได้มีเพียงแต่ในด้านการทำงานระบบอัตโนมัติ แต่ AI ยังสามารถช่วยยกระดับทักษะของบุคลากรทางการแพทย์ได้อีกด้วย ในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์เฉพาะทางขาดแคลนในหลายๆ พื้นที่ทั่วโลก แต่หากมีการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้จะช่วยให้การวินิจฉัยที่ซับซ้อนกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้น และช่วยให้บุคลากรรุ่นใหม่สามารถให้การดูแลรักษาที่มีประสิทธภาพได้อย่างมั่นใจ

3. ศัลยกรรมยุคใหม่

การปฏิวัติเงียบๆ ในวงการศัลยกรรมได้เริ่มแผ่ขยายเป็นวงกว้าง เมื่อการผ่าตัดเล็ก (minimal invasive) กำลังเข้ามาแทนที่การผ่าตัดใหญ่แบบดั้งเดิม โดยการผ่าตัดเล็กมาเปลี่ยนแปลงแนวทางการรักษาแบบเดิมโดยเฉพาะในด้านการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น ลดความเจ็บปวด และลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนได้ดีขึ้น

ผู้ประกอบการต้องรู้ 10 เทรนด์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ ในระบบสาธารณสุขปี 2568

4. ความสำคัญของข้อมูลในการดูแลรักษาผู้ป่วยวิกฤต

การดูแลผู้ป่วยวิกฤต เวลาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง แต่มักจะไม่ทันการณ์เสมอ บุคลากรทางการแพทย์มักจะเสียเวลาในการรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยจากหลากหลายแหล่ง การใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศที่เชื่อมต่อเป็นวงกว้างสำหรับติดตามอาการผู้ป่วยจะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ ด้วยการเชื่อมต่อข้อมูลจากเครื่องมือและเทคโนโลยีที่แตกต่างเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับผู้ป่วยที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกจุดในโรงพยาบาล

5. การดูแลรักษาที่บ้านที่เพิ่มขึ้น

เทรนด์เทคโนโลยีทางการแพทย์ไม่ได้มีเฉพาะในโรงพยาบาลเท่านั้น แต่อีกหนึ่งเทรนด์ที่สำคัญไม่แพ้กันและกำลังได้รับความสนใจมากขึ้นในปี 2025 คือ การดูแลสุขภาพนอกโรงพยาบาล โปรแกรม "การดูแลรักษาที่บ้าน" (Hospital-at-home) มีความต้องการเพิ่มขึ้น เพราะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาเหมือนในโรงพยาบาลจากทุกที่

6. เทเลเฮลท์ (Telehealth) สามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้ทุกที่

การรักษาพยาบาลผ่านทางออนไลน์ (Virtual Care) เพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ช่วงวิกฤตโควิด-19 จนถึงวันนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านบริการสาธารณสุขทั่วโลก เพื่อผลลัพธ์ด้านสาธารณสุขที่ดีกว่าด้วย ทรัพยากรที่อยู่อย่างจำกัด การเข้าถึงระบบสาธารณสุขในพื้นที่ห่างไกล หรือชุมชนที่ด้อยโอกาสเป็นหนึ่งในเรื่องที่สำคัญเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเท่าเทียม และการดูแลผู้ป่วยอย่างทั่วถึง

ผู้ประกอบการต้องรู้ 10 เทรนด์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ ในระบบสาธารณสุขปี 2568

7. ข้อมูลสารสนเทศและดิจิทัลเฮลท์ตอบโจทย์พ่อแม่ยุคใหม่

การเลี้ยงดูลูกในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางดิจิทัลมากขึ้น ด้วยการใช้สมาร์ทดีไวซ์และแอปพลิเคชันต่างๆ พ่อแม่ยุคใหม่เข้าถึงข้อมูลที่ช่วยให้พวกเขาสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของลูกได้อย่างมั่นใจมากขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยี AI ที่ไม่เพียงแต่สามารถช่วยในการติดตามและประเมินด้านสุขภาพ แต่ยังสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกและคาดการณ์แนวโน้มพฤติกรรมของเด็กได้อีกด้วย

8. นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน

จากเทรนด์เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่กล่าวถึงข้างต้น ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เป็นเทคโนโลยีที่ศักยภาพอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงวงการสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน และ AI ยังช่วยในด้านการพัฒนาความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์อีกด้วย

9. ความร่วมมือในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน

การปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์ หรือประมาณ 71% มาจากห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่กระบวนการผลิต การขนส่ง ไปจนถึงกระบวนการกำจัดสินค้าหรือบริการ [9] จริงๆ แล้ว การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ จาก 3 ภาคส่วน คาดว่าจะช่วยลดผลกระทบได้ถึง 7 เท่าเทียบกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ จากการดำเนินงานขององค์กร องค์กรด้านสาธารณสุขเริ่มตระหนักถึงความสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ในห่วงโซ่อุปทานมากขึ้น ไม่เพียงแต่เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายของแต่ละประเทศเท่านั้น แต่ยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งผลต่อผลประกอบการในระยะยาวอีกด้วย ดังนั้นความร่วมมือกับพันธมิตรและคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

10. การสร้างระบบสาธารณสุขด้วยเทคโนโลยีที่รองรับการเปลี่ยนแปลงด้านอากาศ

เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนที่เกิดขึ้นทั่วโลกกำลังก่อให้เกิดความท้าทาย โรงพยาบาลและระบบสาธารณสุขจำเป็นต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อสุขภาพในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น
การเสียชีวิตและโรคที่เกิดจากความร้อน ภัยแล้ง น้ำท่วม มลพิษทางอากาศ ไฟป่า และอื่นๆ [11] สถานพยาบาลหลายแห่งมีจำนวนผู้ป่วยที่เกิดจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงมากขึ้น แต่ไม่ทุกแห่งที่สามารถรับมือกับการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยได้ และไม่เพียงการรับมือกับการดูแลรักษาผู้ป่วยเท่านั้น แต่ระบบสาธารณสุขและสถานพยาบาลยังต้องเตรียมรับมือด้านการดำเนินงานและสถานประกอบการด้ว