หลังจากเกิดกรณีที่นักร้องสาว นางสาวชญาดา พร้าวหอม หรือ ผิง ชญาดา เสียชีวิต จากที่ก่อนหน้านั้นได้โพสต์ว่า ได้ไปใช้บริการนวดและมีการนวดบิดคอ ภายหลังได้เข้ารับการรักษาตัวและเสียชีวิต ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า การนวดมีความเสี่ยงต่อร่างกายหรือไม่นั้น
ล่าสุด นายแพทย์เทวัญ ธานีรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า การนวดไทยเป็นกระบวนการดูแลสุขภาพที่ต้องมีหลักการหรือองค์ความรู้ในการนวดตามแนวเส้นประธานสิบซึ่งจะช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย บรรเทาอาการปวดเมื่อย
สำหรับการนวดไทย แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ การนวดเพื่อผ่อนคลาย หรือนวดเพื่อสุขภาพ และการนวดเพื่อการรักษา ประกอบด้วย
1.หลักสูตรนวดเพื่อสุขภาพ 150 ชั่วโมง กลุ่มนี้จะไม่มีการบิด ดัด เป็นการนวด คอ บ่า แขน ขา สะบักและหลัง วัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
2. หลักสูตรการนวดเพื่อการรักษา เป็นหลักสูตรการเรียนตั้งแต่ 330 ชั่วโมง 372 ชั่วโมง 800 ชั่วโมง และ 1,300 ชั่วโมง เพื่อบำบัดรักษาแต่ละกลุ่มอาการ เช่น กลุ่มปวดกล้ามเนื้อ นิ้วล๊อค หัวไหล่ติด เข่าเสื่อม อัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น
1. ให้บริการนวดเพื่อสุขภาพ (หมอนวด)
2. ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย
3. แพทย์แผนไทย/แพทย์แผนไทยประยุกต์
1.ห้ามนวดบริเวณที่เป็นมะเร็ง
2.ผู้ที่มีไข้สูงเกิน 38.5 องศา
3.บริเวณที่มีอาการอักเสบ บวม แดง ร้อน
4.ผู้ที่มีภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
5.กระดูกแตก หัก ปริ ร้าว ที่ยังไม่หายดี
6.โรคติดเชื้อทางผิวหนังทุกชนิด
1. สตรีมีครรภ์
2. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
3. ใส่อวัยวะเทียมหลังผ่าตัดกระดูก
4. ผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน กระดูกบาง
5. ผู้ที่เพิ่งรับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ (ไม่เกิน 30 นาที) และก่อนให้บริการนวดไทย
สำหรับประชาชนหากมีข้อสงสัย หรือสนใจข้อมูลด้านการนวดไทย สามารถสอบถามได้ที่โรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ หรือ FACEBOOK , Line@ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก หรือโทร 02 149 5678 ได้ในเวลาราชการ