"สมศักดิ์ เทพสุทิน" สนับสนุนการยึดทรัพย์ แก้ปัญหายาเสพติดในสังคมไทย

12 ก.ย. 2567 | 14:00 น.
อัปเดตล่าสุด :12 ก.ย. 2567 | 14:32 น.

ใน​การประชุมร่วมกันของรัฐสภา วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2567 รัฐมนตรีกว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงปัญหายาเสพติด ร่วมสนับสนุนการยึดทรัพย์ แก้ปัญหายาเสพติดในสังคมไทย

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีกว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เรื่องยาเสพติดจะต้องมีประเด็นสำคัญคือเรื่องของการยึดทรัพย์ ซึ่งเป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่ถูกต้องและเป็นแนวทางที่นายกมนตรีได้ความสำคัญ เพราะจากต้นเหตุจนนำมาสู่ปลายเหตุกลายจนเกิดยาเสพติดกระจายอยู่ทั่วบ้านทั่วเมือง ในระบบสาธารณะสุขไม่มีเตียงเพียงพอจะดูแลพี่น้องประชาชนได้ ฉะนั้น ในแนวทางที่ท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติได้อภิปรายในเรื่องประเด็นของการยึดทรัพย์ถือเป็นการเน้นหนักในเรื่องนี้อย่างจริงจัง

โดยต้นทุนยาเสพติดตั้งแต่อดีตถูกว่าเม็ดละ 50 สตางค์ แต่เวลาขายที่ผ่านมาเม็ดละ 200-300 บาท จนถึงปัจจุบันราคากลับเหลือเพียงเม็ดละ 20 บาท สำหรับพ่อค้ารายใหญ่ในอดีตจนถึงปี 2564 ถูกดำเนินการยึดทรัพย์ได้มากถึงถึง 39,959 ล้านบาท แต่ตอนนี้การยึกทรัพย์กลับลดน้อยลง ซึ่งการดำเนินการยึดทรัพย์ในปัจจุบันผู้ร้ายมีความรู้ทันฐบาลมากขึ้น มีนวัตกรรมการหนีคดีเป็นระยะ 

อสม.ชุมชนต้องมีส่วนร่วม

สำหรับการยึดทรัพย์จากผู้ค้า พี่น้องประชาชนที่แจ้งเบาะแสจะต้องมีส่วนร่วมด้วย เมื่อยึดทรัพย์ได้ 100 บาทประชาชนก็จะได้ 5 บาท หรือในส่วนของราชการก็จะได้ 25.25 บาท เปอร์เซ็นต์ในส่วนนี้คือการบูรณาการช่วยกระบวนยุติธรรมได้ สามารถดำเนินการในเรื่องของการร่างกฎหมายของ ส่วนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ก็ต้องทำกองทุนเป็นต้นทุนทำงานเพื่อประโยชน์ เช่น ในกรณีที่การแจ้งเบาะแสแจ้งเบาะแสผู้ค้ายาเสพติด หรือหากไม่กล้าแจ้งในนามของตัวเองเพราะกลัวคนร้ายจะรู้แล้วฃเป็นอันตรายต่อชีวิต ก็สามารถแจ้งในนามของคนเป็นกลุ่มหรือเป็นกองทุนของ อสม.ได้ 

\"สมศักดิ์ เทพสุทิน\" สนับสนุนการยึดทรัพย์ แก้ปัญหายาเสพติดในสังคมไทย

โดยเงินส่วนนี้จะกลับมาสู่กองทุน เป็นค่าดำเนินการให้กับ อสม.หรืออาสาสมัครสาธารณสุข ซึ่งจริงๆแล้วประเทศไทยมีบุคลากรอาสาสมัครสาธารณสุขถึง 1 ล้านคนทั่วประเทศ นอกจากนี้ ในมติของอดีตคณะรัฐมนตรีสมัยก่อนหน้านี้ ที่กำหนดให้ยาเสพติดมายาเสพติด 1 เม็ดยังไม่ถือว่าเป็นผู้เสพนั้น ต้องดำเนินการสืบหาต้นต่อด้วย ไม่ใช่แต่ให้ผู้เสพไปบำบัดอย่างเดียว 

"ต้องสืบค้นแค้นให้ได้ว่าหนึ่งเม็ดนั้นเขาได้มาจากไหน คนขายเป็นใคร แล้วถ้านำคนขายเข้าไปดำเนินคดีขยายผล ถ้าเราไม่ได้ค้นหาต้นน้ำแต่จับกุมที่ปลายน้ำ พ่อค้าตัวตัวจริงจะเริ่มรู้ตัว นี่คือแนวทางของรัฐบาลที่จะดำเนินการในส่วนต่างๆ ต่อไป"

ขณะเดียวกัน จำนวนผู้ป่วยยาเสพติดมีเตียงไม่เพียงพอและขาดแคลน ในกรุงเทพกรุงเทพมหานครมีอยู่แค่ 100 เตียง แม้ความจริงแล้วมีของสำนักงานปลัดยุติธรรมจะมีอีกรวมทั้งหมด 749 เตียงรวมทั่วประเทศ ซึ่งสำนักงานปลัดกระทรวงสาสุขมีอีก 3,622 เตียง กรมการแพทย์มี 1,840 เตียง กรมสุขภาพจิต 1,094 เตียง รวมmงโรงบาลจิตเวชยาเสพติดอีก 4,469 และเมื่อรวมจากทั้งหมดจะมีประมาณ 9,931 เตียง 

นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ด้านกรมสุขภาพจิตก็ได้มีแนวทางในการปรับแก้การทำงาน เป็นกรมสุขภาพจิตและยาเสพติด โดยกำลังดำเนินการในการเสนอกฎหมายเพราะ ในกระบวนการยึดทรัพย์จากพ่อค้ายาเสพติดแล้วเอาทรัพย์สินเหล่านั้นมาสู่กระบวนการของกรมสุขภาพจิตและยาเสพติด

"เรากำลังดำเนินการเสนอร่างเตรียมเข้ามาสู่คณะรัฐมนตรี ด้วยแผนงานตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อน พัฒนาบุคลากรสาธารสุข 10 ปี ทั้งแพทย์และแพทย์จิตเวช แพทย์ทั่วไปอีก 3 หมื่นกว่าราย ในอีก 10 ปี เพื่อป้องกันระบบให้คำปรึกษาสุขภาพจิตและบำบัดยาเสพติด โดยมีสายด่วน 1323 ให้คำปรึกษาและแนะนำในส่วนต่างๆ"