ส่องแนวโน้มสุขภาพปี 67 ผู้เชี่ยวชาญชี้ “ศัลยกรรม-เวชศาสตร์ชะลอวัย” มาแรง

10 มิ.ย. 2567 | 15:07 น.
อัปเดตล่าสุด :10 มิ.ย. 2567 | 15:07 น.

ส่องแนวโน้มสุขภาพปี 67 ผู้เชี่ยวชาญชี้ “ศัลยกรรม-เวชศาสตร์ชะลอวัย” มาแรง ระบุเป็นการตอบโจทย์คนยุคใหม่ที่ต้องการมีบุคลิกที่ดูดีแม้จะสูงวัย และไม่ต้องการให้ดูแก่ก่อนวัยอันควร

นางสาวปณภัทร พลอึงรัตนวงศ์ Co-Founder และ Beauty Assistance จากแบรนด์ A-Listic ผู้เชี่ยวชาญกลยุทธ์การตลาด เปิดเผยถึงเทรนด์สุขภาพในปี 2024 ว่า ธุรกิจด้านสุขภาพที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นของไทยยังคงเป็นด้านศัลยกรรมและความงาม ธุรกิจเกี่ยวกับผู้สูงอายุ และธุรกิจด้าน Anti-Aging หรือ เวชศาสตร์ชะลอวัย ซึ่งมีแนวโน้มที่กำลังเติบโตอย่างมาก 

โดยเฉพาะด้านศัลยกรรมและความงาม ที่มีเทคนิคการแพทย์ใหม่ ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ตลาด และด้าน Anti-Aging หรือ เวชศาสตร์ชะลอวัย ที่มีทั้งเทคนิคและเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย สามารถเข้ามาช่วยในการดูแลสุขภาพและชะลอวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์คนยุคใหม่ที่ต้องการมีบุคลิกที่ดูดีแม้จะสูงวัย และไม่อยากให้ดูแก่ก่อนวัย


 

ทั้งนี้ มูลค่าของธุรกิจด้านสุขภาพและความงามในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะอยู่ที่ประมาณ 2-3 หมื่นล้านบาท และมีอัตราการเติบโต 10-20% ทุกปี ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสนใจด้าน Wellness เกี่ยวกับความงามเพิ่มมากขึ้น 

ส่องแนวโน้มสุขภาพปี 67 ผู้เชี่ยวชาญชี้  “ศัลยกรรม-เวชศาสตร์ชะลอวัย” มาแรง

ซึ่งต้องยอมรับว่าประเทศไทยเองก็มีคลินิกและสถานประกอบการด้านสุขภาพที่มีมาตรฐานและมีคุณภาพสูงอยู่เป็นจำนวนมาก คลินิกด้านความงามที่มีมาตรฐานสูง ๆ ก็จะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้แลและให้คำปรึกษา เช่น A-Listic

อย่างไรก็ดี ปัญหาหลักที่พบมากตอนนี้คือ เคสเกี่ยวกับการดูแลรูปร่าง โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้ที่เริ่มมีอายุมากขึ้น และมีปัญหาระบบการเผาผลาญที่ลดลงตามวัย ซึ่งวิธีการหรือเทคนิคในปัจจุบันที่ใช้ในการดูแลรูปร่างนั้น ก็จะมีหลากหลายเทคนิค ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ประเมินและแนะนำเทคนิคที่เหมาะสมในการดูแลรูปร่าง 

ปัจจุบันนี้นอกจากเทรนด์การดูแลสุขภาพจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นแล้ว การก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยยังนับเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้ธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะด้านการชะลอวัยมีการเติบโตเพิ่มสูงขึ้นด้วย จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ที่ระบุว่า ผู้สูงอายุคนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นปีละ 5 แสนคน และคาดการณ์ไว้ว่าในปี 2568 ประเทศไทยจะก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ 

โดยจะมีผู้สูงอายุ 1 คน ต่อประชากร 5 คน ซึ่งเชื่อว่ากลุ่มประชากร Silver Age ที่ยังคงมีสุขภาพแข็งแรงนั้น จะมีความต้องการใช้ชีวิตอย่างแอคทีฟเหมือนคนวัยหนุ่มสาว และส่งผลให้ธุรกิจด้านการชะลอวัยแบบองค์รวมจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงบริการทางการแพทย์และบริการสุขภาพอื่น ๆ ซึ่งจะมีการพัฒนาระดับการดูแลที่ครอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ และอาจรวมไปถึงที่อยู่อาศัย สังคม และคุณภาพชีวิตจนครบทุกมิติด้วย