โรควิตกกังวล อาการ และ วิธีการรักษา โรคที่ไม่ควรมองข้ามวัยทำงานต้องรู้

09 มิ.ย. 2567 | 16:19 น.
อัปเดตล่าสุด :09 มิ.ย. 2567 | 17:07 น.

โรควิตกกังวล อาการ และ วิธีการรักษา โรคที่ไม่ควรมองข้ามวัยทำงานต้องรู้ โรคทางจิตใจที่หลาย ๆ คน ไม่ควรมองข้าม

โรควิตกกังวล อาการ และ วิธีการรักษา สำนักงานประกันสังคม ได้โพสต์ข้อความ เรื่อง โรควิตกกังวล วัยทำงานต้องมาทำความรู้จักกับ “โรควิตกกังวล”  โรคทางจิตใจที่ไม่ควรมองข้าม อาการและวิธีรักษาเป็นอย่างไรบ้าง

โรควิตกกังวล คืออะไร

โรควิตกกังวล คือ ภาวะความกังวลที่อยู่อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะผ่านเหตุการณ์นั้นไปแล้ว และถ้าเครียดเกิน 6 เดือนหรือไม่รักษา อาจก่อให้เป็นโรคเรื้อรังทางจิตเวช

 

โรควิตกกังวล อาการ

  • วิตกกังวลทุกเรื่องที่เกิดขึ้น
  • ไม่กล้าตัดสินใจ
  • นอนไม่หลับ
  • หลงลืม
  • เหนื่อยล้าง่าย
  • ปวดตึงกล้ามเนื้อ
  • ขาดสมาธิ

โรควิตกกังวล อาการ และ วิธีการรักษา

 

 

 

โรควิตกกังวล  วิธีการรักษา

โรควิตกกังวล  วิธีรักษา แบ่งเป็น 2 วิธีหลัก ๆ

  • การทำจิตบำบัด พูดคุยปรึกษากับจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัด เพื่อให้เข้าใจกับอารมณ์มากขึ้นและปรับเปลี่ยนแนวคิดเดิม ๆ
  • การใช้ยาบำบัด ทานยาตามที่จิตแพทย์สั่งควบคู่กับการบำบัดจิต เพื่อผลลัพธ์ที่ดี
  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะดีขึ้น หลังจากรักษาทั้ง 2 แบบควบคู่กัน รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับมือกับความวิตกกังวล และฝึกการผ่อนคลายอยู่เสมอ

 สำนักงานประกันสังคมให้ความคุ้มครอง  การรักษาโรคจิตเวชทุกประเภท สามารถใช้สิทธิในโรงพยาบาล ตามสิทธิ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หากโรงพยาบาลตามสิทธิไม่สามารถรักษาได้ก็จะส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลที่มีศักยภาพในการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน.

ที่มา: สำนักงานประกันสังคม