เก็บเงินจนเครียด อาการที่เรียกว่า “Money Dysmorphia”

26 มี.ค. 2567 | 05:00 น.
1.4 k

คนรุ่นใหม่เก็บเงินจนเครียด เก็บเงินเท่าไรก็ไม่พอ หรือไม่กล้าใช้เงินเเม้ในสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิต อาการลักษณะนี้เรียกว่า “Money Dysmorphia”

ภาวะ "Money Dysmorphia" เป็นคำที่ใช้อธิบายความไม่มั่นคงต่อสถานการณ์ทางการเงิน ถึงแม้ว่าจะมีเสถียรภาพก็ตาม ง่ายๆ ก็คือ เก็บเงินจนเครียด เก็บเท่าไรก็ไม่พอ หรือมีเงินเก็บเป็นจำนวนมากแต่ก็ไม่กล้าใช้ ไม่กล้านำเงินไปใช้จ่ายกับการท่องเที่ยวหรือสังสรรค์กับเพื่อนฝูง เเม้ในเรื่องที่จำเป็น  เช่น การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีราคาค่อนข้างสูงแต่คุณภาพดี เพราะมองว่าเป็นเรื่องสิ้นเปลืองและเลือกที่จะเก็บเงินไว้

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า คนที่มีความหมกมุ่นเรื่องการเงินมากเกินไป ไม่ดีต่อสุขภาพซึ่งอาจนำไปสู่การตัดสินใจทางการเงินที่ไม่ดีและข้อมูลไม่เพียงพอ ปัญหานี้เด่นชัดมากขึ้นในกลุ่มคนรุ่นใหม่ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเปรียบเทียบตนเองกับเพื่อนฝูงบนโซเชียลมีเดีย

ผู้เชี่ยวชาญจาก SIX Financial Information กล่าวว่า คนรุ่นใหม่อยู่ภายใต้แรงกดดันจากสังคมโดยเฉพาะโซเชียลมีเดีย จึงจำเป็นที่จะต้องให้ความรู้แก่คนหนุ่มสาวว่าจริงๆ แล้วหนี้หมายถึงอะไร  รวมทั้งการเพิ่มระดับการศึกษา ความเข้าใจเรื่องเงิน

ในสหรัฐอเมริกา 29% ของคนอเมริกัน ต้องทนทุกข์ทรมานจากภาวะผิดปกติทางการเงินลักษณะนี้ จากการศึกษาของบริษัทการเงินส่วนบุคคล Credit Karma พบว่า โดยเฉพาะ Gen Z 43 %  และ Gen Y 41 % ประสบปัญหาทางการเงินผิดปกติ  แม้ว่าภาวะเงินผิดปกติจะไม่ใช่ภาวะทางคลินิกที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีผลกระทบโดยตรงต่อความเป็นอยู่ที่ดี จากนั้นจะส่งผลต่อสุขภาพเงิน พวกเขาอาจรู้สึกผิดอย่างรุนแรงทุกครั้งที่ใช้จ่ายหรือหลีกเลี่ยงการใช้จ่ายทั้งหมด แม้แต่กับสิ่งจำเป็นพื้นฐาน

ผู้สังเกตการณ์ชี้ให้เห็นว่าการแสดงความมั่งคั่งที่ไม่สมจริง หรือ "อวดรวย" โดยเฉพาะบนโซเชียลมีเดีย อาจทำให้สภาพทางการเงินแย่ลงได้ และเสริมว่าผู้ที่มีภาวะนี้มักจะเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่นและรู้สึกไม่พอใจ

สาเหตุที่แท้จริงของภาวะผิดปกติทางการเงินยังคงมีการสำรวจอยู่ แต่มีแนวโน้มว่าจะมีปัจจัยหลายอย่างรวมกัน ตัวอย่างเช่น ความเปราะบางทางการเงินหรือความไม่มั่นคงในวัยเด็กสามารถส่งผลกระทบได้ ทัศนคติของครอบครัวที่มีต่อการเงิน ตลอดจนสิ่งที่สะท้อนผ่านสังคมซึ่งเชื่อมโยงความมั่งคั่งเข้ากับความสำเร็จและความสุข ก็มีส่วนทำให้เกิดมุมมองที่บิดเบี้ยวได้เช่นกัน 

ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินกล่าวว่า บุคคลที่ประสบปัญหาดังกล่าว สามารถป้องกันเเละพัฒนาการเงินของตนได้ โดยการตั้งเป้าหมาย ตรวจสอบรายได้และค่าใช้จ่ายเพื่อให้เห็นภาพสถานการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นจริงได้ชัดเจน จัดสรรรายได้สุทธิไว้ประมาณ 20-30 % ซึ่งถือเป็นหลักการที่ดีในการออม