ผู้สื่อข่าวรายงานว่าราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2566
ลงนามโดย นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ประธานคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. ซึ่งประกาศลงในราชกิจจาฯเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2566 โดยเนื้อหาระบุว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญอาศัยอำนาจตามความในข้อ 5 แห่งกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2566 ประกอบมติคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรจสุขภาพของผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ดังนี้
ผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการพลเรื่อนสามัญ ต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพทั้งทางกายและทางจิต และได้รับการรับรองสุขภาพจากแพทย์แผนปัจจุบันที่ได้ รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรมหรือโรงพยาบาลเอกชนทุกแห่ง โดยใช้แบบใบรับรองแพทย์แนบท้ายประกาศนี้
และผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญจะต้องยื่นผลการตรวจสุขภาพ พร้อมเอกสารหลักฐานอื่น ภายในระยะเวลาที่หน่วยงานของรัฐกำหนด
โดยผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับใบรับรองแพทย์แบบใหม่ที่แทบท้ายประกาศฉบับนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
จากนั้นจะระบุว่า "ข้าพเจ้าขอหนังสือรับรองสุขภาพเพื่อเข้ารับราชการ
จากนั้นจะถามประวัติสุขภาพ ซึ่งมี 4 ข้อ สามารถตอบได้ว่า ไม่มี หรือ มี (ระบุ) ดังนี้
ท้ายของส่วนที่ 1 จะถามความยินยอมให้ตรวจสอบ เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้ระบุไว้ในหนังสือฉบับนี้ เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ จากนั้นจะให้ลงชื่อ นามสกุล พร้อมระบุวัน / เดือน / ปี อีกครั้ง
และนอกจากนี้แพทย์ยังต้องรับรองว่าบุคคลดังกล่าว ปรากฎหรือไม่ปรากฏ โรค 5 โรค ดังต่อไปนี้
จากนั้นแพทย์ยังต้องเขียนบรรยายการตรวจพบ / ความเห็นว่าควรส่งตรวจเพิ่มเติมหรือไม่ และสรุปความเห็นของแพทย์
นอกจากนี้ในท้ายของประกาศ ยังระบุหมายเหตุ 4 ข้อสำหรับแพทย์ ดังนี้
สำหรับประกาศฉบับดังกล่าว ประกาศ ณ วันที่ 2 ตุลาคม 2566 และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป นั่นหมายความว่าเริ่มใช้บังคับวันที่ 18 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้เมือวันที่ 18 ก.ค.2566) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติครม.ว่า ตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีข้อเสนอแนะต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ( สำนักงาน ก.พ.) เกี่ยวกับร่างกฎก.พ.ว่าด้วยโรค พ.ศ. ... ถึงการกำหนดโรคอันเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการ
โดยเพิ่มโรคจิต (Psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) ที่ปรากฏอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรัง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ไว้เป็นการเฉพาะ อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าบุคคลที่ป่วยโรค ไม่มีความสามารถในการทำงานใดๆ และอาจเสี่ยงต่อการเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน
ดังนั้น เพื่อเป็นการกำหนดโรคอันมีลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนและหลักการไม่เลือกปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ วันนี้ ครม.จึงมีมติอนุมัติร่างกฎ ก.พ.ว่าด้วยโรค พ.ศ....
ตามที่สำนักงาน ก.พ.เสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงแก้ไขร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ....ฉบับเดิม
โดยยกเลิกข้อความการกำหนดให้โรคจิต (Psychosis) หรือโรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorder) ที่ปรากฎอาการเด่นชัดรุนแรงหรือเรื้อรังและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ออก
ส่วนโรคอันเป็นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการของบุคคล ตามที่กำหนดในร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. ....ฉบับนี้ ยังคงเดิม ได้แก่ (1) โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฎอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม (2)โรคติดยาเสพติดให้โทษ (3)โรคพิษสุราเรื้อรัง (4)โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรงอันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่
พร้อมกำหนดวิธีการตรวจโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ.กำหนด
ทั้งนี้ร่างกฎ ก.พ.จะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ถัดจากนั้นอีก 1 เดือน คือวันที่ 18 ส.ค.2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ “กฎ ก.พ.ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2566” ลงนามโดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ก.พ.
ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 (5) และมาตรา 36 ข. (2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีจึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 กฎ ก.พ. นี้ เรียกว่า “กฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ.2566”
ข้อ 2 ให้ยกเลิกกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2553
ข้อ 3 กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 4 โรคตามมาตรา 36 ข. (2) ประกอบด้วย
ข้อ 5 วิธีการตรวจโรคตามข้อ 4 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการแพทย์ ของ ก.พ. กำหนด
สำหรับเหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ ระบุว่า โดยที่ปัจจุบันมีโรคเกิดขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก ทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ซึ่งโรคดังกล่าวส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ประกอบกับกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2553 บังคับใช้มาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี จึงอาจมีความไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์โรคในปัจจุบัน
ดังนั้น เพื่อให้ทางราชการได้มาและรักษาไว้ซึ่งบุคคลที่เป็นผู้มีสุขภาพทางกายและจิตเหมาะสม และไม่เป็นโรคร้ายแรง ที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน รวมทั้งกำหนดให้มีหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจร่างกายและจิตใจ เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้
ที่มาข้อมูล :