เปิดมาตรการป้องกันโรค"ไข้เลือดออก"ในโรงเรียน ต้องทำยังไง เช็คที่นี่

08 ส.ค. 2566 | 09:33 น.
อัปเดตล่าสุด :08 ส.ค. 2566 | 09:33 น.

เปิดมาตรการป้องกันโรค"ไข้เลือดออก"ในโรงเรียน ต้องทำยังไง เช็คที่นี่มีคำตอบ ฐานเศรษฐกิจรวบรวมคำตอบจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขไว้ให้หมดแล้ว พร้อมยาที่ห้ามรับประทาน 

"ไข้เลือดออก" กำลังเข้าสู่ช่วงของการแพร่ระบาด หลังจากที่ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝน

ทั้งนี้ เนื่องจากจะทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรค

โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือ กลุ่มเด็ก ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในช่วงของการเปิดภาคเรียน

อย่างไรก็ดี จากการตรวจสอบข้อมูลของ "ฐานเศรษฐกิจ" เกี่ยวกับมาตรการป้องกัน "ไข้เลือดออก"  ในโรงเรียน จะประกอบด้วย 

มาตรการป้องกันโรค

  • ทำความสะอาดโรงเรียน ห้องเรียน
  • สำรวจ/ทำลาย แหล่งเพาะพันธุ์ยุง
  • อ่างต้นไม้น้ำ อ่างบัว ให้ใส่ปลากินลูกน้ำ
  • สื่อสารให้ความรู้โรคไข้เลือดออก

มาตรการควบคุมโรค

  • พบผู้ป่วยให้แจ้งสถานบริการสาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงบริเวณรอบโรงเรียนทุกสัปดาห์
  • สื่อสารความเสี่ยงโดยการประชาสัมพันธ์วิธีป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด

มาตรการเฝ้าระวังโรค

  • ผู้ป่วยมีอาการ ไข้สูงเกิน 2 วัน อาเจียน อ่อนเพลีย มีผื่นแดง ให้รีบส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาล
  • นักเรียนลาป่วยเกิน 2 วัน  ติดตามอาการ สงสัยไข้เลือดออกให้รีบพบแพทย์
  • ห้ามใช้ยากลุ่ม NSAIDs เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน ไดโคลฟีแนค

ข้อมูล : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข