Heart Attack ภัยเงียบสำคัญที่เสี่ยงทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

24 มิ.ย. 2566 | 08:15 น.

ทำความรู้จัก "ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน" หรือ "Heart Attack" ภัยเงียบที่ไม่อาจมองข้ามเพราะเสี่ยงจะทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ ชวนเช็คอาการและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคนี้กัน คลิกเลย

จากกรณีที่นักร้องสาว "หวาย ปัญญ์ธิษา" ต้องแอดมิทด่วนหลังเกิดภาวะ Heart Attack หรือ หัวใจเต้นผิดปกตินั้น ทราบกันหรือไม่ว่า "ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ" นั้นเป็นภัยเงียบสำคัญที่เสี่ยงทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้  

ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือ Heart Attack เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน สาเหตุเกิดจากการที่หลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลันหรือตีบอย่างรุนแรง กล้ามเนื้อหัวใจจึงไม่บีบตัว เลือดจึงไม่สามารถสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายได้ตามปกติ คนที่เกิดภาวะนี้มีอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจตายได้

 

กลุ่มเสี่ยง Heart Attack

1.มีอายุ 50 ปีขึ้นไป

2.มีภาวะหลอดเลือดหัวใจผิดปกติ

3.มีโรคประจำตัว ได้แก่

  • เบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • ไขมันในเลือดสูง

4.มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ

5.สูบบุหรี่

6.มีความเครียดสูง

7.มีน้ำหนักเกินเกณฑ์

8.ไม่ออกกำลังกาย

9.ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน 

อาการและสัญญาณเตือน

  • เหนื่อยง่ายเวลาออกแรง 
  • หายใจไม่เต็มอิ่ม
  • แน่นหน้าอก 
  • จุกหน้าอก 
  • อ่อนเพลีย เช่น เคยขึ้นลงบันไดโดยไม่ต้องพัก กลายเป็นต้องพักระหว่างขึ้นบันได
  • รู้สึกหวิว คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว
  • ปวดร้าวไปแขน ไหล่ จุกใต้ลิ้นปี่
  • ปวดร้าวไปกราม คอหอย หรือแขนด้านในบริเวณสะบักทั้งสองข้าง จะเป็นมากเวลาออกกำลังกายและเครียด
  • แน่นท้องเหมือนมีอะไรมากดทับ คล้ายเป็นกระเพาะอาหาร

การป้องกันภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี 
  • กินอาหารที่ดีต่อร่างกาย
  • เลี่ยงอาหารไขมันสูง
  • ไม่กินอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ
  • เน้นอาหารไขมันต่ำ กินผักผลไม้ที่มีกากใยมาก ปรุงอาหารด้วยการอบ นึ่ง ลวก ย่างแทนการทอด
  • ถ้ามีโรคประจำตัวต้องรับประทานยาให้สม่ำเสมอทั้งที่บ้านและเวลาเดินทาง 
  • จัดการกับความเครียด อาทิ นั่งสมาธิ หรือออกไปท่องเที่ยวพักผ่อน เพราะความเครียดทำให้หัวใจทำงานหนัก 
  • ออกกำลังกายวันละ 30 นาที 5 วัน/สัปดาห์เพื่อให้เส้นเลือดขยายตัว 
  • นอนหลับพักผ่อนวันละ 6 – 8 ชั่วโมง โดยเฉพาะหลัง 5 ทุ่มไม่ควรทำกิจกรรมอื่น ๆ
  • อย่าเริ่มสูบบุหรี่และเลิกบุหรี่ให้เร็วที่สุด

ข้อมูล โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ