โรงพยาบาลนครธน ปักหมุดยกระดับการรักษาโรคยากซับซ้อน จัดตั้งทีมแพทย์เฉพาะทาง 6 ศูนย์ทางการแพทย์ ได้แก่ ศูนย์สมองและระบบประสาท ศูนย์หัวใจ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ศูนย์กระดูกสันหลัง ศูนย์มะเร็ง และศูนย์ทันตกรรม ภายใต้ 4 กลยุทธ์ได้แก่
1. ยกระดับการรักษา สู่การแพทย์เฉพาะทางโรคยากซับซ้อน 2. ผสานนวัตกรรมการรักษาอันทันสมัยและเทคโนโลยีการแพทย์มาตรฐานระดับสากล 3. ความร่วมมือกับพันธมิตรด้านการแพทย์ 4. การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ (Humanized Healthcare) รองรับผู้ป่วยทั้งคนไทย และชาวต่างชาติ
รศ. ญาณเดช ทองสิมา ประธานกรรมการบริษัท โรงพยาบาลนครธน เปิดเผยว่า ในปี 2566 นี้ โรงพยาบาลนครธน ได้กำหนด กลยุทธ์หลักในการดำเนินงาน 4 ด้านคือ 1. ยกระดับการรักษา สู่การแพทย์เฉพาะทางโรคยากซับซ้อน โดยจัดตั้งศูนย์การแพทย์เฉพาะทางและมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญใน 6 ศูนย์หลัก ได้แก่ ศูนย์สมองและระบบประสาท ศูนย์หัวใจ ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ ศูนย์กระดูกสันหลัง ศูนย์มะเร็ง และศูนย์ทันตกรรม นับเป็นก้าวสำคัญของการยกระดับการรักษา (Advanced Care)
2. ผสานนวัตกรรมการรักษาเช่นการนำเครื่องเอกซเรย์สำหรับตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดชนิด สองระนาบ หรือ Biplane DSA มีเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์สำหรับการตรวจเฉพาะทางอื่นๆ ทำให้ผู้เข้ารับการรักษาสะดวกสบายไม่ต้องเดินทางเข้าเมือง
3. ความร่วมมือระหว่างพันธมิตรด้านการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็น บำรุงราษฎร์ เฮลท์ เน็ตเวิร์ก และ สไมล์ โอเปอเรชั่นส์ เพื่อทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น 4. การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ หัวใจหลักในการให้บริการ สร้างความอุ่นใจและสบายใจให้กับผู้ป่วยและครอบครัว
ด้านนายแพทย์วิโรจน์ ตระการวิจิตร ผู้อำนวยการสายงานแพทย์ โรงพยาบาลนครธน เปิดเผยเพิ่มเติมว่าศูนย์การแพทย์เฉพาะทางทั้ง 6 ศูนย์จะเน้นการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน (Wellness) และการรักษา (Medical) แบบองค์รวม เพื่อรักษา โรคยาก ซับซ้อน ดังนี้
ด้าน นางสาวเพ็ญศิริ ทองสิมา ผู้อำนวยการสายงานการตลาดและพัฒนาธุรกิจ โรงพยาบาลนครธน กล่าวเสริมว่า “โรงพยาบาลนครธน มุ่งเน้นศักยภาพในการขยายการให้บริการของศูนย์หลักทั้ง 6 ศูนย์ เพื่อทำให้โรงพยาบาลมีการให้บริการที่ครอบคลุมครบวงจร สามารถขยายฐานผู้ป่วยที่ต้องการเข้าถึงการรักษาเทคโนโลยีการรักษาสมัยใหม่ และช่วยสร้างรายได้ให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งในอนาคต
นอกจากนี้ การร่วมมือทางด้านการแพทย์กับ บำรุงราษฎร์ เฮลท์ เน็ตเวิร์ก และ สไมล์ โอเปอร์เรชั่นส์ ส่งผลให้รายได้ในปี 2565เติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 30% เมื่อเทียบกับปี 2564 และผลกำไรมีอัตราเติบโตอยู่ที่ 75% (ผลจากการเพิ่มบริการเพื่อรองรับสถาณการณ์โควิด-19) และตั้งเป้าอัตราการเติบโตของปีนี้ไม่น้อยกว่า 10% โดยในปีนี้ยังมีแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่นวัตกรรมเครื่องเอกซเรย์สำหรับตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดชนิดสองระนาบ หรือ Biplane DSA เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ การปรับปรุงสถานที่ภายใน และภายนอกโรงพยาบาลให้ทันสมัย
ไปจนถึงการพัฒนาระบบสารสนเทศ รวมใช้งบลงทุนกว่า 400 ล้านบาท สำหรับแผนการตลาด นอกจากจะเน้นในกลุ่มคนไทยแล้ว ยังมีแผนขยายต่อไปกลุ่มคนไข้ชาวต่างชาติโดยเฉพาะกลุ่มประเทศ จีน และเมียนมา รวมทั้งกลุ่มคนไข้ต่างชาติที่อาศัยอยู่ในย่านพระราม 2 (Expat) ซึ่งคาดหวังสัดส่วนคนไข้ชาวต่างชาติจะมีอัตราเติบโตกว่า 30%”