วันที่ 8 เมษายน 2566 ผศ. (พิเศษ) นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้เผยแพร่บทความเกี่ยวโรคกรดไหลย้อน ระบุว่า กรดไหลย้อนอาจไม่จบที่หลอดอาหารแต่ไปถึงลำคอ และ กล่องเสียง โดยได้อธิบายถึงอาการของโรค สาเหตุที่มาที่ไป รวมถึงวิธีการรักษาในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเนื้อหารายละเอียดทั้งหมดจะมีอะไรบ้างนั้น สามารถติดตามได้ดังต่อไปนี้
รู้จักโรคกรดไหลย้อน
- โรคกรดไหลย้อน คือ ภาวะที่ของเหลวจากกระเพาะอาหารไหลย้อนผ่านหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างเข้ามาในหลอดอาหาร โดยมีความถี่และความรุนแรงในระดับที่รบกวนคุณภาพชีวิต
สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน
- มักพบในคนที่หูรูดหลอดอาหารส่วนล่างไม่แข็งแรง คนอ้วนลงพุง หญิงตั้งครรภ์
- พฤติกรรมที่กระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น การรับประทานอิ่มเกินไป การใส่เสื้อผ้าที่รัดหรือคับ การก้มตัวหรือเบ่งท้อง การเอนนอนหลังมื้ออาหาร
- การรับประทานอาหารบางชนิด เช่น อาหารไขมันสูง อาหารรสจัด ชา กาแฟ
- นอกจากนี้ ยังอาจพบร่วมกับภาวะการบีบตัวของหลอดอาหารผิดปกติและภาวะน้ำลายน้อย
อาการของโรคกรดไหลย้อน
1. อาการของหลอดอาหาร
- แสบร้อนหรือจุกแน่นกลางหน้าอก
- เรอเปรี้ยว มีอาหารย้อนขึ้นลำคอ มักเป็นหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ
2. อาการอื่น ๆ
- ไอเรื้อรัง
- กล่องเสียงอักเสบ เสียงแหบเรื้อรัง คอแห้ง แสบคอ
- รู้สึกมีก้อนจุกในลำคอ มีเสมหะติดคอตลอดเวลา
- หอบหืด
- ฟันกร่อน
วิธีการรักษาโรคกรดไหลย้อน มี 3 แบบได้แก่
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวัน
การรับประทานอาหาร
- รับประทานอาหารในปริมาณพอเหมาะ ไม่อิ่มเกินไป
- หลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารไขมันสูง อาหารรสจัด ชา กาแฟ น้ำอัดลม
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายและท่าทางที่มีการก้มตัวหรือเกร็งท้องหลังรับประทานอาหาร
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อดึก
- เว้นระยะเวลาอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมงหลังมื้ออาหาร ก่อนเอนตัวหรือเข้านอน
- งดสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์