"ฮีทสโตรก"อาการแบบไหนถึงตาย วิธีรักษาแต่ละขั้นต้องทำยังไงอ่านที่นี่

31 มี.ค. 2566 | 14:49 น.
อัปเดตล่าสุด :31 มี.ค. 2566 | 14:49 น.

"ฮีทสโตรก"อาการแบบไหนถึงตาย วิธีรักษาแต่ละขั้นต้องทำยังไงอ่านที่นี่มีคำตอบ หมอธีระวัฒน์เผยเริ่มมีคนไทยตายจากฮีทสโตรกช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา พร้อมอันตรายจากแดดและความร้อน 4 ระดับ

ฮีทสโตรกเป็นประเด็นสำคัญที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก หลังจากที่โรคดังกล่าวได้ทำให้เกิดเหตุการณ์เสียชีวิตขึ้น

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโพสเฟซบุก๊ส่วนตัว (ธีระวัฒน์เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)ระบุว่า ฮีทสโตรก หรือโรคลมแดดมาพร้อมกับความร้อน

หมอธีระวัฒน์ ระบุว่า ลักษณะอากาศช่วงนี้ประเทศไทยจะมีอากาศร้อนอบอ้าวเกือบทั่วไป จะสูงกว่าค่าปกติ และสูงกว่าปีที่ผ่านมา อากาศร้อน อุณหภูมิ อย่างนี้ ขนาดที่ว่าต้มไข่สุก ด้วยกลางแดดปรอทขึ้นไปถึง 42 องศา 

หมอธีระวัฒน์ อธิบายว่า อุณหภูมิขนาดนี้ ร่างกายจะมีการสูญเสียเหงื่อ นํ้า เกลือแร่มหาศาล คนที่เป็นสูงวัย และยังมีโรคประจําตัว เช่น ความดัน ต้องทานยาลดความดันโลหิตอยู่แล้ว มีเส้นเลือดหัวใจ สมองตีบ มีโรคไต การขาดนํ้า เกลือแร่ ทําให้เลือดข้น เกิดการ กําเริบของโรคเส้นเลือดตีบและโรคไต 

แม้แต่คนที่คิดว่าแข็งแรงยังหนุ่มสาว การขาดนํ้าเกลือแร่ เมื่อถึงจุดหนึ่ง ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิในสมองจะแปรปรวน ทําให้อุณหภูมิในร่างกายสูงเกิน 40 องศา 

แทนที่ตัวจะมีเหงื่อกลับแห้ง ตัวร้อนจัด พูดสับสนไม่รู้เรื่อง ซึ่งถ้าถึงระดับนี้จะหมายถึงอาการ “ฮีทสโตรก” หรือ "อุณหฆาต" คือถึงตาย ไม่ใช่แค่อุณหอัมพาต อ่อนแรงเฉยๆ อาการฮีทสโตรก คนไทยอาจจะคุ้นกันดีในชื่อโรคลมแดด 

หมอธีระวัฒน์ อธิบายเกี่ยวกับ ฮีทสโตรกว่า โรคลมแดดเป็นภาวะวิกฤติของร่างกาย ที่ไม่สามารถควบคุมความร้อนได้ เนื่องจากอากาศร้อนที่ เพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง 5-10 องศาเซลเซียสในระยะเวลาสั้นๆ ภาวะนี้จะทําให้สมองรู้สึกชินชากับ ความร้อนที่ได้รับ จนไม่รู้สึกกระหายนํ้า ทั้งๆที่สมดุลนํ้าและเกลือแร่ในร่างกายเสียหาย 

ส่งผลให้ระดับความดันเลือดตก เลือดที่มีนํ้าเป็นส่วนประกอบไปเลี้ยงสมอง กล้ามเนื้อ และอวัยวะ ต่างๆไม่เพียงพอ ทําให้เกิดอาการไตวาย หากเป็นมากๆ เซลล์กล้ามเนื้อก็จะเริ่มแหลกสลาย มีของ เสียตกตะกอนในไต ทําให้เกิด ไตวายซํ้าซ้อน และเสียชีวิตในที่สุด 

โรคลมแดด จะเห็นเป็นข่าวบ่อยๆกับชาวบังกลาเทศ ทําให้มีผู้เสียชีวิตครั้งละมากๆ 

หมอธีระวัฒน์ บอกว่า ฮีทสโตรกสําหรับคนไทยเป็นเพียงการเตือนแบบเบาะๆ ให้ระมัดระวัง โดยเชื่อว่าอากาศร้อนในประเทศไทยจะไม่พุ่งสูงอย่างรวดเร็วเหมือนต่างประเทศ 

ที่ผ่านมาอุณหภูมิในบ้านเรา มักไต่ระดับทีละเล็กละน้อยครั้งละ 1-2 องศาเซลเซียส จาก 35 องศาฯ เป็น 36 องศาฯและจาก 36 องศาฯ เป็น 37 องศาฯ จะไม่เพิ่มขึ้นจาก 35 องศาฯ ทีเดียวไปเป็น 40 องศา การไต่ระดับสูงขึ้นทีละน้อย 

เพราะฉะนั้นร่างกายคนไทยจะชิน ปรับสมดุลได้เอง อาจไม่ต้องกังวลมาก

แต่หมอธีระวัฒน์ บอกว่า เริ่มมีคนไทยตายจากฮีทสโตรกแล้วในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในกลุ่มทหารที่ต้องฝึกกลางแดด ยังมีกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวังอีก ได้แก่ ทารก เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ คนที่มีความพิการ ทางสมอง จิตประสาทแปรปรวน เป็นโรคหัวใจ ความดัน คนเหล่านี้ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือปรับตัวเองได้ไม่ดี
 
อีกข้อที่สําคัญ ความร้อนของอากาศ ยังขึ้นกับความชื้นในอากาศ ซึ่งป้องกันไม่ให้เหงื่อระเหยระบายความร้อนออกไม่ได้ ทําให้ความร้อนจริงที่ร่างกายต้องเผชิญสูงมากขึ้น ยิ่งอยู่กลางแดดและมีลมร้อนจัด สภาวะแวดล้อมแบบนี้จะอันตรายยิ่งขึ้น

ที่ต้องระวังในช่วงสงกรานต์ เช่นออกกําลังกายกลางแจ้ง ตีแบดฯ ตีเทนนิส ก็มีโอกาสเป็นลมแดดได้ และแม้อยู่ในที่อับ ร้อนจัด ชื้น อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ไม่ได้อยู่กลางแจ้ง ก็เป็นได้เช่นกันถึงแม้จะเสี่ยงน้อยกว่า
 
อันตรายที่เกี่ยว กับแดดและความร้อน (และชื้น) แบ่งระดับความรุนแรงได้ 4 ระดับ 

  • ระดับแรก แดดเผา ผิวบวม แดง ลอก 
  • ระดับที่สอง ตะคริวตามน่อง กล้ามท้อง 
  • ระดับที่สามเพลียรุนแรง ใกล้จะช็อก ตัวเย็นชืดชื้น ชีพจรเร็วเบา เป็นลม อาเจียน แต่อุณหภูมิร่างกายยังปกติ 
  • ระดับที่สี่ ฮีตสโตรกถือเป็นภาวะฉุกเฉินวิกฤติ อุณหภูมิร่างกายอาจสูงถึง 41องศาเซลเซียส ผิวแห้ง ร้อน ชีพจรเร็ว แรง อาจหมดสติ ถึงขั้นเสียชีวิต เหมือนสมองและเครื่องในสุก

อาการฮีทสโตรก ต้องได้รับการรักษาโดยด่วนในโรงพยาบาล การปฐมพยาบาลขั้นต้น ให้ประคบเย็นตามซอกตัว เช็ดตัว พัดลมระบายความร้อน นอนราบ ยกเท้าสูง หลบ แดด ผึ่งลม ประคบเย็น และจิบนํ้า

ถ้าอาการหนักมาก การใช้นํ้าเย็นอาจทําให้เกิดตะคริวท้อง ให้นอนราบหรือตะแคง 

หากอาเจียนร่วมด้วยจําไว้ว่าการดื่มนํ้าจะทําให้เกิดอันตรายในระดับ 3 และถ้ามีอาการในระดับ 4 ห้ามให้นํ้าดื่มเด็ดขาด เพราะจะเกิดอันตรายรุนแรงได้ 

ระยะนี้การพยาบาลให้นํ้าทางปากอาจเป็นอันตรายได้ ยิ่งถ้าคนสูงอายุมีโรคประจําตัวที่ต้องได้รับยา ดังกล่าวข้างต้น ยิ่งมีอันตรายสูงเข้าไปอีก 

คนอ้วน คนที่ดื่มสุรา เบียร์ ของหวาน จะมีความเสี่ยงสูงมาก เพราะความสามารถในการปรับตัวกับความร้อนจะไม่ดี 

อาการก่อนหน้าที่ จะถึงขั้นอุณหฆาต อาจนํามาด้วยตะคริว หรือหน้ามืด เพลีย คลื่นไส้ จะเป็นลม เพราะฉะนั้นให้ดื่มนํ้าบริสุทธิ์มหาศาล อย่างน้อยวันละ 2 ลิตร 

ข้อสําคัญให้หลีกเลี่ยงนํ้าหวาน นํ้าชา กาแฟ สุรา ถ้ายิ่งต้องออกไปกลาง แดดนานๆ