ค่าฝุ่น PM2.5 กรุงเทพเช้านี้ 30 ม.ค.66 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

30 ม.ค. 2566 | 09:57 น.
อัปเดตล่าสุด :30 ม.ค. 2566 | 10:02 น.

ค่าฝุ่น PM2.5 กรุงเทพ เช้านี้ 30 ม.ค.66 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตรวจวัดได้ 24-46 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

เช็คค่าฝุ่น PM 2.5 กรุงเทพ เช้าวันนี้ 30 ม.ค.66 กทม.อากาศเย็น ค่าฝุ่น PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

ค่าฝุ่น PM2.5 กรุงเทพเช้านี้ 30 ม.ค.66 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครขอสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 30 มกราคม 2566 เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) 

  • ตรวจวัดได้ 24-46 มคก./ลบ.ม.
  • ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 34.1 มคก./ลบ.ม.
  • ค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกสถานีที่มีการตรวจวัด 
     

ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ 24-46 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกพื้นที่ที่มีการตรวจวัด  

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)

คาดว่าอัตราการระบายอากาศในช่วงวันที่ 30 ม.ค.-1 ก.พ. 66 จะไม่ดี เนื่องจากเพดานอากาศต่ำ เกิดสภาวะอากาศปิดอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับช่วงวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นช่วงที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทย ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง PM2.5 มีแนวโน้มค่อนข้างลดลงถึงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยสลับกันในช่วงนี้

อีกทั้งความกดอากาศสูงจากจีนจะออกมานอกชายฝั่งทำให้ทิศของลมหนาวนั้นเปลี่ยนจากตะวันออกเฉียงเหนือมาเป็นตะวันออก ส่งผลให้จะมีการเริ่มพัดพาฝุ่นควันจากกัมพูชาเข้าสู่ประเทศไทยโดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ปกติของการเปลี่ยนผ่านไปยังฤดูร้อน ลมใต้จะทวีกำลังมากขึ้นเรื่อยๆ

วันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอากาศเย็นกับมีลมแรง 

ช่วงวันที่ 1 - 5 ก.พ. 2566 พื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลควรเฝ้าระวังการสะสมของฝุ่นละออง เนื่องจากสภาพอากาศที่นิ่ง และปิด  โดยพื้นที่ที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพกลาง กรุงธนเหนือ และกรุงธนใต้ (พื้นที่ท้ายลม)

จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 29 มกราคม 2566 จำนวน 1 จุด บริเวณเขตลาดกระบัง 

ที่มา : กรุงเทพมหานคร