กรณีล่าสุดพบผู้ป่วย "ฝีดาษลิง" รายที่ 2 ในไทย เจอในพื้นที่กรุงเทพฯ จากโรงพยาบาล(รพ.) วชิรพยาบาล กรุงเทพมหานคร เป็นชายไทย อายุ 47 ปี มีประวัติมีเพศสัมพันธ์กับชาวต่างชาติแบบรักร่วมเพศ มีอาการสงสัยป่วย
จากข้อมูลพบว่าผู้ป่วยมีประวัติอาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อสอบสวนโรคพบว่ามีผู้สัมผัสร่วมบ้าน 10 ราย อยู่ในระหว่างการตรวจหาเชื้อ และให้สังเกตอาการ 21 วัน
ไทม์ไลน์ฝีดาษลิงรายที่ 2 ของไทย
- เมื่อวันที่ 12 ก.ค.65 จากนั้น 2 วัน เริ่มมีไข้ ปวดตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต
- 1 สัปดาห์ต่อมามีผื่นที่อวัยวะเพศ ลำตัว หน้า แขนขา
- มาตรวจที่ รพ. ขณะนี้รับไว้ในรพ.และติดตามผู้สัมผัสมาตรวจและเฝ้าสังเกตอาการต่อให้ครบ 21 วัน
โรคฝีดาษลิงแบ่งออกเป็น 4 ระยะ
- ระยะฟักตัว จะไม่แสดงอาการช่วง 5 – 44 วันหลังจากได้รับเชื้อ
- ระยะไข้ 1 – 4 วัน มีอาการปวดหัว เจ็บคอ หนาวสั่น อ่อนเพลีย และต่อมน้ำเหลือง
- ระยะผื่น 1 – 2 สัปดาห์ จะเริ่มจากผื่นแบน ผื่นนูน ผื่นมีน้ำใสใต้ผื่น โดยผื่นมักจะขึ้นที่บริเวณใบหน้า แขน และขา มากกว่าที่ลำตัว โดยลักษณะของผื่นจะเริ่มจากจุดแดง ๆ กลม ๆ หลังจากนั้นผื่นจะกลายเป็น ตุ่มน้ำใส และกลายเป็นตุ่มหนอง และกลายเป็นสะเก็ด ป็นช่วงระยะเวลาที่สามารถแพร่เชื้อได้สูงสุด
- ระยะฟื้นตัว ใช้เวลาหลายวันจนถึงหลายสัปดาห์
ตุ่มแบบไหนเป็นฝีดาษลิง
- ระยะที่ 1 มีตุ่มแดงขึ้น
- ระยะที่ 2 ตุ่มพัฒนากลายเป็น ตุ่มนูน
- ระยะที่ 3 ตุ่มกลายเป็นหนอง
- ระยะที่ 4 ตุ่มแตก ซึ่งการแพร่เชื้อและติดต่อจะเกิดในระยะที่ 3 และ 4
- ผื่น หรือตุ่มที่ผิวหนัง หรือเคยมีผื่นหรือตุ่มกระจายตามใบหน้า ศีรษะ ลำตัว อวัยวะเพศ และรอบทวารหนัก แขน ขา หรือฝ่ามือฝ่าเท้า เป็นผื่นหรือตุ่มลักษณะเป็นตุ่มนูน ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง หรือตุ่มตกสะเก็ด มีประวัติเชื่อมโยงทางระบาดวิทยา ภายใน 21 วัน
ข้อแนะนำและการป้องกันโรคฝีดาษลิง
- ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือ แอลกอฮอล์เจล
- งดรับประทานของป่า หรือปรุงอาหารจากสัตว์ป่า
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่า ที่มาจากพื้นที่เสี่ยง หรือสัตว์ป่าป่วย
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ที่มีประวัติ มาจากพื้นที่เสี่ยงและมีอาการ
- หลีกเลี่ยงการเลี้ยงหรือนำเข้าสัตว์ป่า จากต่างประเทศที่ไม่ทราบประเทศต้นทาง
- กรณีพบผู้สงสัยว่าจะติดเชื้อฝีดาษลิง แยกผู้ป่วย ป้องกันระบบทางเดินหายใจของผู้ใกล้ชิด นำส่งสถานพยาบาลที่สามารถแยกกักตัวผู้ป่วยได้