เล่นน้ำสงกรานต์ตามสถานที่ต่างๆ อาจทำให้เกิดปัญหา "น้ำเข้าหู" หรือ Swimmer’s ear ถ้าไม่รู้วิธีเอาน้ำออกจากหู จะทำให้เกิดน้ำขัง หูอื้อ ส่งผลกระทบต่อการฟัง หรือมีภาวะแทรกซ้อน และะนำไปสู่การติดเชื้อ ทำให้กลายเป็นหูชั้นนอกอักเสบได้
ถ้าภายในช่องหูสะอาด ปราศจากสิ่งสกปรก และไม่ได้เป็นไซนัสอักเสบหรือเป็นหวัด น้ำเข้าหูอาจจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ สามารถทำให้น้ำไหลออกมาได้
ควรหลีกเลี่ยงเมื่อน้ำเข้าหู คือการใช้คัตตอนบัต เพราะจะยิ่งดันน้ำและขี้หูให้เข้าไปลึกขึ้นกว่าเดิมและอาจทำให้เกิดแผลถลอกได้
หลายคนพยายามเอาน้ำในหูออกโดยใช้ไม้ปั่นหู พยายามแคะหู ปั่นจนเกิดแผลถลอก และเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ก่อให้เกิดอาการของหูชั้นนอกอักเสบและติดเชื้อ ซึ่งการติดเชื้อจะแสดงอาการ ดังนี้
เพราะเมื่อน้ำเข้าหู ส่งผลให้ผนังช่องหูชั้นนอกเปียกและแฉะ ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ง่าย ส่งผลให้ "ขี้หู" เกิดการอุ้มและบวมน้ำ ทำให้อุดตันบริเวณช่องหูชั้นนอก ก่อให้เกิดอาการหูอื้อ ถ้ายิ่งพยายามแคะหู จะทำให้ดันขี้หูเข้าไป ส่งผลให้อุดตันมากขึ้น ถ้าใช้เครื่องมือส่องกล้องเข้าไป ภายในจะเกิดช่องหูที่บวมแดง และมองเห็นแก้วหูไม่ชัด โยกใบหูแล้วเจ็บ หรือกดเจ็บบริเวณหน้าใบหู
แพทย์จะส่องหูโดยใช้เครื่องมือเพื่อประเมินอาการว่ารุนแรงเพียงใด ถ้ารุนแรงมาก แพทย์จะใช้ยาหยอดเข้าไปในรูหู ประกอบกับใช้ลำลีฆ่าเชื้อ หรือ Ear wick เช็ดทำความสะอาดที่บริเวณหูชั้นนอก โดยแพทย์อาจจะนัดเปลี่ยนสำลีฆ่าเชื้อประมาณ 48-72 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม "น้ำเข้าหู" เป็นอาการที่เหมือนจะไม่มีอะไรรุนแรง แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจจะเกิดโรคหูชั้นนอกอักเสบ และไม่ควรแคะหู เพราะว่าอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ขี้หูอุดตันได้ ท่านใดที่น้ำเข้าหูระหว่างอาบน้ำ หรือขณะทำกิจกรรมว่ายน้ำอยู่ แล้วเกิดอาการที่รุนแรงตามมา ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยทันที
ข้อมูลจาก :คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และโรงพยาบาลเพชรเวช