กรุงเทพฯ ติดอันดับเมืองอากาศแย่ที่ 6 ของโลก วิจัยชี้ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ

06 ก.พ. 2568 | 04:51 น.
อัปเดตล่าสุด :06 ก.พ. 2568 | 10:46 น.

ข้อมูลจาก IQAir ระบุ ไทยประสบปัญหามลภาวะทางอากาศต่อเนื่อง กรุงเทพฯ ถูกจัดอันดับเมืองอากาศแย่ที่สุดอันดับ 6 ของโลก ขณะที่งานวิจัยเผย ฝุ่น PM 2.5 ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ

ปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 เป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่ง เพราะก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อผู้คนอย่างชัดเจน เมื่อพิจารณาข้อมูลจาก IQAir แอปพลิเคชันรายงานสภาพภูมิอากาศโลก พบว่าตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2568 ที่ผ่านมา หลายจังหวัดในประเทศไทยประสบปัญหามลภาวะทางอากาศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ มีค่าดัชนีฝุ่น PM2.5 สูงกว่า 100 AQI แทบทุกวัน และพุ่งสูงสุดในช่วงปลายเดือนมกราคมผ่านมา เฉลี่ย 173 AQI และสูงเกิน 200 AQI ในอีกหลายเขต 

ทำให้กรุงเทพฯ ถูกจัดอันดับเป็นเมืองที่มีสภาพอากาศแย่ที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลก ในขณะที่เมืองท่องเที่ยวชื่อดังอย่างเชียงใหม่ก็ประสบปัญหาไม่ต่างกัน ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพกับประชาชนในวงกว้าง

จากงานวิจัยทางการแพทย์ในปัจจุบันชี้ว่าฝุ่นละอองอนุภาคเล็กอย่าง PM2.5 เมื่อสูดผ่านระบบทางเดินหายใจจะสามารถผ่านเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยตรง อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น

  • ปัญหาระยะสั้น เกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจอักเสบ แสบจมูก ไอมีเสมหะ แน่นหน้าอก สมรรถภาพปอดลดลง ภูมิแพ้และหอบหืดกำเริบ 
  • ปัณหาระยะยาว โรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง ไปจนถึงขั้นก่อโรคมะเร็งปอด เป็นต้น

ทั้งนี้ อิเลคโทรลักซ์ (Electrolux) ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าได้แนะนำคุณสมบัติเบื้องต้น หากผู้บริโภคจะใช้เครื่องฟอกอากาศ โดยต้องมี 4 คุณสมบัติ ช่วยดักจับฝุ่น PM2.5 ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนี้

  • มี่ตัวกรองพื้นฐาน
  • มีตัวกรองหลัก
  • มีตัวกรองช่วยดักจับก๊าซพิษ
  • มีฟีเจอร์ปล่อยประจุลบ

นอกจากนี้ ผู้บริโภคควรพิจารณาเลือกขนาดเครื่องฟอกอากาศที่สามารถครอบคลุมพื้นที่การฟอกอากาศอย่างเหมาะสม เลือกแบบที่ครอบคลุมพื้นที่ห้อง เพื่อให้เครื่องไม่ต้องทำงานหนักตลอดเวลา ดูได้จากค่า CADR (Clean Air Delivery Rate) ที่แสดงถึงปริมาณการฟอกอากาศในหน่วยลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง และควรเลือกเครื่องฟอกอากาศที่มีระดับเสียงในขณะทำงานไม่เกิน 50 เดซิเบล เพื่อไม่ให้เกิดเสียงรบกวน