จังหวัดสุรินทร์ จัดงาน "มหาสงกรานต์เมืองช้างสุรินทร์ ประจำปี 2568" อย่างยิ่งใหญ่ ระหว่างวันที่ 11–13 เมษายน 2568 โดยมีที่ทำการปกครองจังหวัดสุรินทร์เป็นหน่วยงานหลักในการประสานการจัดงาน ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัด เพื่อร่วมกันสืบสานประเพณีไทยให้คงอยู่คู่ท้องถิ่น พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ไทย
การจัดงานในครั้งนี้มุ่งสร้างการรับรู้ต่อสาธารณชน ผ่านกิจกรรมแถลงข่าวที่จัดขึ้นโดยมีผู้บริหารระดับจังหวัดเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง อาทิ นายชำนาญ ชื่นตา ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์, นายกิตติ สัตย์ชื่อ ปลัดจังหวัดสุรินทร์
รูป: สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์
พ.ต.อ.วีระพันธ์ ณ ลำปาง รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์, นางธัญญพร มุ่งเจริญพร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์, นางศรีสุภรณ์ ชมศรีหาราชพร ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานสุรินทร์ และนางอารีย์ ป้องสีดา วัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์
ภายใต้ชื่องาน “มหาสงกรานต์เมืองช้าง ครั้งที่ 2” ปีนี้ จังหวัดสุรินทร์เตรียมความพร้อมทุกด้าน ทั้งการจราจร ความปลอดภัย การดูแลนักท่องเที่ยว และการสร้างบรรยากาศสงกรานต์ที่คึกคัก เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้สัมผัสวัฒนธรรมชาวสุรินทร์อย่างแท้จริง
กิจกรรมไฮไลต์ ได้แก่ ขบวนแห่มหาสงกรานต์ช้างสุดอลังการ ที่ผสมผสานเอกลักษณ์ 4 ชนเผ่า และความยิ่งใหญ่ของ “น้องช้าง” สัญลักษณ์ของจังหวัด ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้เล่นน้ำกันอย่างสนุกสนานในถนนสายน้ำ สาดความชุ่มฉ่ำใจกลางเมือง
รูป: สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์
นอกจากนี้ ยังมีโซน Street Food ที่รวบรวมของกินอร่อยทั่วสุรินทร์ และกิจกรรม โฟมปาร์ตี้ รวมถึง ฟรีคอนเสิร์ต จากศิลปินชื่อดังที่จัดต่อเนื่องตลอดทั้งงาน
อีกหนึ่งไฮไลต์สำคัญ คือ การแสดงชุดพิเศษ “แสง สี เสียง สืบสานตำนานคนเลี้ยงช้างสุรินทร์” ซึ่งเป็นการร้อยเรียงประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของชาวสุรินทร์ที่ผูกพันกับช้างไทย ถ่ายทอดผ่านงานศิลปะการแสดงร่วมสมัยในรูปแบบละครเวทีเต็มรูปแบบ โดยแบ่งการแสดงออกเป็น 5 องก์ ดังนี้
รูป: สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์
รูป: สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์
โดยจะมีการแสดงซ้อมใหญ่ในวันที่ 11 เมษายน 2568 และแสดงจริงในวันที่ 12 และ 13 เมษายน ตั้งแต่เวลา 19.00–21.00 น. ณ เวทีการแสดงกลางเมืองสุรินทร์ คาดว่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวได้จำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มครอบครัว นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจวัฒนธรรมพื้นถิ่น