พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วม-น้ำป่าไหลหลาก มีจว.ไหนบ้าง เช็คที่นี่

04 ก.ย. 2565 | 12:43 น.
อัปเดตล่าสุด :04 ก.ย. 2565 | 20:03 น.
5.4 k

เปิดพิกัดพื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง มีอำเภอไหน จังหวัดอะไรบ้าง พร้อมเช็คสถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบัน อัพเดทข้อมูลทั้งหมดที่นี่

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM ได้เปิดเผยรายงานคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย ประจำวันที่ 4 กันยายน 2565 เกี่ยวกับพื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง รวมไปถึงพื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง โดยจะมีพื้นที่ไหนบ้าง สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ดังนี้


พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง มีดังนี้

ภาคกลาง 

  • ระยอง อ.เมืองฯ แกลง ปลวกแดง
  • จันทบุรี อ.เมืองฯ นายายอาม เขาคิชฌกูฏ สอยดาว มะขาม ท่าใหม่ ขลุง ตราด ทุกอำเภอ

 

ภาคใต้ 

  • สุราษฎร์ธานี อ.พนม คีรีรัฐนิคม
  • นครศรีธรรมราช อ.ทุ่งใหญ่ ทุ่งสง นบพิตำ พรหมคีรี ขนอม)
  • ระนอง อ.กะเปอร์ สุขสำราญ
  • พังงา อ.คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง
  • ภูเก็ต อ.ถลาง กะทู้
  • กระบี่ อ.เมืองฯ ปลายพระยา เขาพนม เกาะลันตา
  • ตรัง อ.นาโยง
     

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง 

ภาคเหนือ 

  • พิษณุโลก อ.บางระกำ

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • อุบลราชธานี อ.เมืองฯ วารินชำราบ

ภาคกลาง 

  • นครนายก อ.เมืองฯ บ้านนา ปากพลี องครักษ์
  • อ่างทอง อ.ป่าโมก วิเศษชัยชาญ
  • พระนครศรีอยุธยา อ.เสนา ผักไห่ บางบาล บางไทร พระนครศรีอยุธยา บางปะหัน บางปะอิน ท่าเรือ นครหลวง
  • ปทุมธานี อ.เมืองฯ สามโคก

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วม-น้ำป่าไหลหลาก


ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบัน (4 ก.ย. 65 เวลา 09.30 น.)พบว่าสถานการณ์ล่าสุดยังคงมีน้ำท่วมใน 5 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี นครนายก พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง และปทุมธานี รวม 19 อำเภอ 141 ตำบล 598 หมู่บ้าน โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

1. อุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ รวม 3 ตำบล 13 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 157 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว 

 

2. นครนายก น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครนายก อำเภอบ้านนา อำเภอปากพลี และอำเภอองครักษ์ รวม 18 ตำบล 24 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,088 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว 

 

3. พระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสนา อำเภอผักไห่ อำเภอบางบาล อำเภอบางไทร อำเภอบางปะหัน อำเภอท่าเรือ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางปะอิน และอำเภอนครหลวง รวม 97 ตำบล 488 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 17,326 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 

 

4. อ่างทอง น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิเศษชัยชาญ และอำเภอป่าโมก รวม 2 ตำบล 9 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 297 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว 

 

5. ปทุมธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปทุมธานี และอำเภอสามโคก รวม 21 ตำบล 64 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,926 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
 

 

อนึ่งกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศเตือน "ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 5-9 กันยายน 2565"


โดยในช่วงวันที่ 5–9 กันยายน 2565 ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม

 

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 5-9 กันยายน 2565

 

ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรง