ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์ และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟสบุ๊กส่วนตัว (Anan Jongkaewwattana)โดยมีข้อความระบุว่า
ข้อมูลข้อแนะนำสำหรับยาป้องกันโควิด Evusheld เป็น แอนติบอดีผสม 2 ชนิดที่ฉีดเข้ากล้าม
เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิดในกลุ่มผู้ที่มีภูมิบกพร่อง ไม่สามารถสร้างภูมิได้เองมากเพียงพอจากวัคซีน
หรือกลุ่มผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยากดภูมิคุ้มกัน หรือ กลุ่มที่แพ้วัคซีน ไม่สามารถกระตุ้นด้วยวัคซีนรูปแบบใดๆได้
ซึ่งคนปกติที่สามารถสร้างภูมิขึ้นได้เองจากวัคซีนไม่จำเป็นต้องใช้ยาชนิดนี้ป้องกัน
Evusheld เป็นยาป้องกันการติดเชื้อ และ อาการรุนแรงของโควิด "แต่ไม่ใช่ยารักษา"
หมายความว่า คนที่ติดแล้วจะไม่มีการใช้ประโยชน์ถ้านำยานี้ไปฉีด
จินตนาการได้ง่ายๆ ช่วงที่รับเชื้อมาปริมาณของเชื้อจะมีไม่มาก เช่น หลักร้อย หรือ หลักพัน
อนุภาค ระดับแอนติบอดีที่ฉีดไว้ในร่างกายคงพอจับและป้องกันได้
แต่ถ้าปล่อยให้ไวรัสเพิ่มจำนวนเป็นหลักล้าน
หรือหลายล้านอนุภาคในร่างกาย แอนติบอดีที่มีจำกัดก็จะไม่มีประโยชน์
ดร.อนันต์ ยังโพสต์อีกว่า
งานวิจัยด้านการหาแอนติบอดีที่สามารถจับไวรัสโรคโควิดได้ทุกสายพันธุ์เป็นงานวิจัยสาขาที่มีผู้สนใจศึกษามากในปัจจุบัน
แอนติบอดีหลายชื่อ เช่น Regeneron, Sotrovimab หรือ Evulsheld กำลังถูกนำมาใช้งานจริงเพื่อป้องกัน
หรือ รักษาโควิด-19 หลายๆท่านคงสงสัยว่า มีทีมวิจัยในประเทศไทยหาแอนติบอดีลักษณะดังกล่าวบ้างหรือไม่
คำตอบคือมี และ ทีมวิจัยไทยสามารถพัฒนาแอนติบอดีต่อโควิด-19 ในระดับดี หรือ ดีกว่า แอนติบอดีที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันด้วย
ตัวอย่างสเปรย์ฉีดพ่นจมูกเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 เป็นผลจากงานวิจัยดังกล่าว