"ให้เด็กอ่านหนังสือ" มีข้อดีอย่างไร ในยุค learning Loss จากโควิด

26 เม.ย. 2565 | 07:09 น.
อัปเดตล่าสุด :26 เม.ย. 2565 | 14:23 น.

เปิดข้อมูลน่าสนใจ ให้เด็กก่อนวัยเรียนอ่านหนังสือ มีข้อดีอย่างไร ด้าน สสส. หนุนพัฒนา “อ่าน อาน อ๊าน “ ต่อเนื่อง เปิดโครงการ “ปิดเทอมสร้างสรรค์ชวนกันอ่านสร้างสุข“  หยุด Learning Loss จากโตวิด

หนังสือและกิจกรรมการอ่านหนังสือ เป็นเครื่องมือพัฒนาทักษะด้านภาษา ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในการพัฒนาทักษะและสมรรถนะด้านอื่น ๆ ทั้งด้านสังคม อารมณ์  สติปัญญาและคิดสร้างสรรค์
 

ล่าสุด องค์การยูนิเซฟ ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร  ใช้พัฒนาศักยภาพด้านภาษาแก่กลุ่มเด็กปฐมวัยในสถานพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กว่า 90 แห่ง ผลการประเมินพบว่า

  • เด็กมีความสามารถด้านการสื่อสาร โดยพูดเป็นประโยคได้มากขึ้น
  • สามารถใช้คำศัพท์ได้หลากหลายขึ้น
  • สามารถอธิบายความรู้สึกของตนเองได้มากขึ้น  
  • มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการเพิ่มขึ้น
  • มีการคิดวิเคราะห์
  • การลำดับเหตุการณ์ได้ดีขึ้น
  • สามารถอธิบายรายละเอียดของภาพที่เห็นได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น
  • สามารถอธิบายอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครได้
  • อธิบายเหตุผลของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้มากขึ้น  ฯลฯ 

\"ให้เด็กอ่านหนังสือ\" มีข้อดีอย่างไร ในยุค learning Loss จากโควิด

นางสุดใจ พรหมเกิด ประธานมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน กล่าวว่า “สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว (สำนัก 4) ร่วมกับ สำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก 11) สสส.

 

สนับสนุนแผนงานยุทธศาสตร์สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ในการพัฒนานวัตกรรมสื่อ หนังสือฝึกอ่านตามระดับความสามารถ (Level Book - Thai Reading Tree) ชุด อ่าน อาน อ๊าน 

นางสุดใจ พรหมเกิด ประธานมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน

ซึ่งมีเครือข่ายนักวิชาการปฐมวัย  บรรณาธิการผู้เชี่ยวชาญหนังสือเด็ก นักสร้างสรรค์ภาพหนังสือสำหรับเด็กรางวัลดีเด่น ร่วมกันออกแบบสื่อและกระบวนการใช้หนังสือชุดนี้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการพัฒนาทักษะด้านภาษาและการอ่านของเด็กไทย

 

โดยมีตัวละครหลักของครอบครัวและชุมชนเดียวกันดำเนินเรื่องทั้ง 25 เรื่อง  เพื่อจูงใจให้เด็กๆ สนุก น่าติดตาม ด้วยเรื่องราวและภาษาธรรมชาติในวิถีชีวิตประจำวัน  

 

โดดเด่นด้วยภาพประกอบที่ท้าทาย แต่ช่วยให้เด็กคาดเดา เข้าใจเรื่องราว แม้จะยังอ่านไม่ออก  ทำให้เด็กมีความภูมิใจที่สามารถเข้าใจเรื่องได้ จูงใจให้เด็กอยากอ่าน โดยมีหลักภาษาและการใช้ภาษาไทยที่เหมาะสมระดับการฝึกอ่าน  หนังสือชุดนี้ได้มีการนำไปใช้ทุกภูมิภาค 

\"ให้เด็กอ่านหนังสือ\" มีข้อดีอย่างไร ในยุค learning Loss จากโควิด

ทั้งนี้หนังสือฝึกอ่านตามระดับชุด อ่าน อาน อ๊าน ได้รับรางวัล TMF Awards ประเภทรางวัลภาษาถิ่น 2019 จากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ด้วยแล้ว”

 

นางสุดใจกล่าวต่อว่า “ เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (learning Loss) ของเด็กปฐมวัยจากสถานการณ์โควิด - 19 ในปี พ.ศ. 2565 นี้  แผนงานฯ ได้รับการสนับสนุนในการพัฒนาหนังสือชุด อ่าน อาน อ๊าน ต่อเนื่อง  

\"ให้เด็กอ่านหนังสือ\" มีข้อดีอย่างไร ในยุค learning Loss จากโควิด

โดยเพิ่มเติมความเข้าใจการใช้ภาษา ทั้งการเชื่อมโยงเสียง รูปตัวอักษร การผสมคำ การผันเสียง และการสร้างประโยคที่ยังไม่ครอบคลุม  รวมถึงการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาวะ  การเรียนรู้ตัวตนและความแตกต่างหลากหลาย เพศภาวะ ทักษะชีวิตและความปลอดภัย  รวมถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็กไทยในศตวรรษที่ 21  

 

ขณะเดียวกันในช่วงปิดภาคเรียนนี้   แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. จะได้นำหนังสือชุดอ่าน อาน อ๊าน ชุดแรก 25 เล่ม พร้อมคู่มือการใช้ มาจัดทำเป็น e-book  เพื่อชวนครอบครัวช่วยกันลดภาวะ Learning Loss ในเด็กปฐมวัยและประถมศึกษาตอนต้น ให้เด็กๆ อ่านและสื่อสารได้แบบก้าวกระโดด  “

\"ให้เด็กอ่านหนังสือ\" มีข้อดีอย่างไร ในยุค learning Loss จากโควิด

ผู้สนใจสามารถเปิดอ่านและดาวน์โหลดหนังสือชุด อ่าน อาน อ๊าน   รวมถึงนิทานสร้างเสริมภูมิคุ้มใจและสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่างๆ ได้ที่

  • เว็บไซต์มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน www.happyreading.in.th
  • เว็บไซต์ธนาคารหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัยออนไลน์ www.earlychildhoodbookbank.com

  \"ให้เด็กอ่านหนังสือ\" มีข้อดีอย่างไร ในยุค learning Loss จากโควิด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดตามกิจกรรมการอ่านเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยได้ที่ เพจ อ่านยกกำลังสุข
 
สำหรับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ที่สนใจสนับสนุนหนังสือที่จัดพิมพ์รวมเล่มราคาพิเศษ ติดต่อ เพจ Sook Publishing สสส.