เริ่มมีคำถามเรื่อง “ซากโควิด” หลังพบผู้ติดโควิด พ้นช่วงพักที่สถานที่กักกันของรัฐบาลจนครบ 14 วันไปแล้ว และต่อมามีการตรวจพบเชื้ออีกครั้งหลังกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ โดยการพบเชื้อ เป็นซากโควิดที่ไม่มีทางไปแพร่เชื้อต่อได้
สำนักงานหลักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ระบุว่า หายจากการติดเชื้อครั้งเเรก โดยทั่วไปการติดเชื้อซ้ำ มักเกิดหลังจากการติดเชื้อครั้งเเรกเกิน 3 เดือน เเต่บางกรณีมีผู้ป่วยบางราย มีอาการป่วยนานกว่าคนทั่วไป เเละเมื่อตรวจเชื้ออาจพบเชื้อหลงเหลือ ทำให้ผลตรวจเป็นบวกนานหลายสัปดาห์ ซึ่งทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นการติดเชื้อซ้ำ
"ซากโควิด" ก่อโรคไม่ได้ และไม่เป็นอันตราย
- การศึกษาในไต้หวัน พบว่า ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ก่อนที่จะมีอาการประมาณ 2 วัน ไปจนถึง 6 วัน นับจากวันที่มีอาการวันแรก จะติดเชื้อจากผู้ป่วยได้ แต่ถ้ามีการสัมผัสหลังจากนั้น จะไม่มีใครติดเชื้อ
- การติดตามผู้ป่วยหลาย 100 รายที่แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ในเกาหลีใต้ ไม่พบว่ามีใครติดเชื้อจากผู้ที่หายจากโรค แม้ว่าจะยังตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อในสารคัดหลั่งของผู้ที่หายจากโรคแล้ว
- ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลจนครบกําหนดระยะเวลา ถือว่าพ้นระยะแพร่เชื้อ
- แม้ว่าบางคนอาจจะมีอาการหลงเหลือเล็กน้อย แต่ไม่ใช่อาการที่แสดงว่ายังมีเชื้อ เป็นแต่เพียงการอักเสบที่ยังตกค้างอยู่ และจะหายไปเองในที่สุด