เทรนด์รถยนต์ไฟฟ้ารุ่ง ttb หนุนSMEต่อยอดธุรกิจ

08 เม.ย. 2565 | 17:22 น.
อัปเดตล่าสุด :09 เม.ย. 2565 | 00:52 น.

ttb เผยเทรนด์รถยนต์ไฟฟ้าในไทย แจงปัจจัยหนุน - ปัจจัยเสี่ยง ผลกระทบหากรถ EV เกิด พร้อมแนะ SME ปรับตัวต่อยอดธุรกิจ

ทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ที่กำลังมุ่งไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้ากำลังได้รับความนิยมไปทั่วโลก รวมไปถึงประเทศไทย โดยถือเป็นเทรนด์ที่แรงมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา  จากเทรนด์ดังกล่าวทำให้ "ทีทีบี" ได้มีการประเมินเกี่ยวกับโอกาสต่อยอดธุรกิจของ SME เมื่อเข้าสู่ยุครถยนต์พลังงานไฟฟ้า 

 

ทีทีบี ระบุว่า ในปี 2565 เทรนด์ความนิยมเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้ายังคงแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้า EV (Electric Vehicle) เติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ที่ผู้คนตระหนักด้านมลพิษ และการใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นปี 2565 ที่ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ยิ่งกระตุ้นให้คนหันมาพิจารณารถ EV มากขึ้น

 

จากข้อมูลของศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics และกรมการขนส่งทางบก ชี้ให้เห็นว่าตั้งแต่ ปี 2558 เป็นต้นมา ตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้า EV มีการเติบโตต่อเนื่องโดยเฉพาะจากจีน โดยปลายปี 2563 มีรถพลังงานไฟฟ้าจากจีนออกมาแล้วถึงประมาณ 4.5 ล้านคัน ซึ่งเป็นพลังงานไฟฟ้าล้วน BEV (Battery Electric Vehicle) ถึง 3.5 ล้านคัน

 

สำหรับประเทศไทยจากต้นปี 2564 ถึงต้นปี 2565 พบว่าการเติบโตของตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าล้วน BEV มีการเติบโตถึง 62% แสดงให้เห็นว่าคนไทยเริ่มปรับตัวได้ และมั่นใจกับรูปแบบการเติมพลังงานรถยนต์ที่เปลี่ยนไป ถ้ารวมทุกประเภทของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า EV แล้ว ประเทศไทยมีรถยนต์ EV ถึงประมาณ 62,000 คัน  เป็นพลังงานไฟฟ้าล้วน BEV ประมาณ 3,600 คัน และรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบใช้ไฟฟ้าร่วมกับระบบน้ำมันเชื้อเพลิง PHEV (Plug-in Hybrid Electric Vehicle) และรถยนต์ไฮบริด HEV (Hybrid Electric Vehicle) รวม 58,400 คัน

 

ล่าสุด รัฐบาลไทยได้ส่งเสริมมาตรการเงินอุดหนุนรถยนต์ ลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และลดภาษีอากรนำเข้ารถยนต์ โดยตั้งเป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าคือ 30% ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในแต่ละปี หรือ 750,000 คัน ภายในปี 2573 

 

รวมทั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติได้มีข้อเสนอให้รถที่จดทะเบียนใหม่ตั้งแต่ปี 2578 เป็นต้นไป ต้องเป็นรถที่ไม่ปล่อยไอเสีย 100% (ZEV: Zero-Emissions Vehicles) เท่านั้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความตื่นตัวของภาครัฐที่จะเร่งการเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์พลังงานสันดาป มาเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้าให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

โอกาสใหม่ของผู้ประกอบธุรกิจ SME ในวงการยานยนต์

โครงการ “ฟินบิส โดย ทีทีบี” (finbiz by ttb) จึงวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งชี้ให้เห็นว่า ตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าล้วน BEV กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วมาก จนมาเบียดพื้นที่ของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบใช้ไฟฟ้าร่วมกับระบบน้ำมันเชื้อเพลิง PHEV และ HEV ซึ่งมีผลกระทบกับธุรกิจต่าง ๆ ได้แก่

 

  • ผลิตชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SME ที่ผลิตเฉพาะชิ้นส่วนประกอบที่ใช้กับระบบสันดาป เช่น เครื่องยนต์ ลูกสูบ หัวเทียน หม้อน้ำ ท่อไอเสีย ถังน้ำมัน เป็นต้น ซึ่งตรงนี้อาจต้องเริ่มต้นหาช่องทางใหม่ ๆ หรือกลับมาสำรวจตัวเอง เพื่อปรับเทคโนโลยี สายการผลิต หรือหาคู่ค้าเพิ่ม พัฒนาทักษะพนักงาน ให้ทันการเปลี่ยนแปลงในวันที่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าล้วน BEV จะเข้ามามีส่วนแบ่งทางตลาดแทนรถยนต์ในระบบที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงมากขึ้นเรื่อยๆ

 

  • ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับผู้ประกอบการ SME ที่ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า เช่น แบตเตอรี่ สายไฟ มอเตอร์ต่างๆ ก็มีช่องทางโอกาสที่จะต่อยอดจากกิจการเดิม พัฒนาเพิ่มเติมไปสู่การผลิตอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งานของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้

 

  • สถานีบริการน้ำมันจะเริ่มเห็นโอกาสในรูปแบบใหม่ เช่น การเพิ่มเติมจุดบริการเติมพลังงานรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งการชาร์จไฟฟ้าแต่ละครั้งใช้เวลาพอสมควรทำให้เห็นโอกาสของธุรกิจอื่น ๆ ที่สามารถอยู่ในสถานีบริการน้ำมันเดิมได้ ไม่ว่าจะเป็นการให้เช่าพื้นที่เพื่อทำร้านอาหาร หรือกิจการอื่นๆ

 

  • ร้านอาหารหรือบริการต่าง ๆ ที่มีบริเวณจอดรถ ในทางกลับกัน ผู้ประกอบกิจการร้านอาหาร หรือบริการต่างๆ ที่มีบริเวณจอดรถ สามารถใช้โอกาสนี้ในการศึกษาและลงทุนกับจุดบริการเติมพลังงานรถยนต์ไฟฟ้าในบริเวณจอดรถที่มีอยู่แล้ว ซึ่งอาจเป็นในรูปแบบลงทุนเอง หรือร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ

 

  • ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ สามารถเพิ่มเติมโอกาสจากจังหวะที่เหมาะสมนี้ โดยใช้กลยุทธ์ทางการตลาดกระตุ้นความสนใจจากช่วงเวลาที่ผู้คนกำลังหันมามองรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ให้มีความต้องการเพิ่มขึ้นอีกและตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วขึ้น สร้างโอกาสในการเพิ่มยอดขายในระยะนี้ พร้อมพัฒนาสู่ศูนย์บริการหลังการขายสำหรับรถประเภทนี้ให้มากขึ้น

 

เทรนด์รถยนต์ไฟฟ้ารุ่ง ttb หนุนSMEต่อยอดธุรกิจ

พร้อมลงทุนต่อยอดธุรกิจ ไม่พลาดโอกาสลงทุนในเวลาเหมาะสม

 

สำหรับผู้ประกอบการ SME ที่เล็งเห็นโอกาสเติบโตและพร้อมต่อยอดธุรกิจ finbiz by ttb มีสินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี สมาร์ท แอนด์ ฟาสต์ (ttb sme smart and fast) เพื่อสนับสนุนเงินทุนในการหมุนเวียนและเพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจ  

 

สำหรับจุดเด่นของสินเชื่อดังกล่าว อาทิ 

  • อนุมัติไว รู้ผลได้เร็วสุดภายใน 7 วัน 
  • วงเงินเพียงพอ สูงสุด 10 ล้านบาท 
  • ผ่อนชำระนานสุดถึง 12 ปี 
  • อัตราดอกเบี้ยปีแรกต่ำสุดถึง 4% และปีที่ 2 ต่ำสุดถึง 5% 
     

 

เทรนด์รถยนต์ไฟฟ้ารุ่ง ttb หนุนSMEต่อยอดธุรกิจ