เช็ค 5 วิธีอยู่ที่ทำงานให้ห่างไกลโควิด-19 ต้องทำอย่างไร ที่นี่มีคำตอบ

30 มี.ค. 2565 | 03:30 น.
อัปเดตล่าสุด :30 มี.ค. 2565 | 05:03 น.

กรมอนามัย แนะ วิธีอยู่ที่ทำงานให้ห่างไกลปลอดภัยจากโควิด-19 ได้ต้องทำอย่างไร เปิด 5 เคล็ด (ไม่) ลับ ทำได้ง่าย ๆ คลิกอ่านคำตอบได้ที่นี่

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดทำคู่มือสำหรับลูกจ้าง แรงงาน บริษัท ห้างร้านต่าง ๆ ที่ยังต้องทำงานอยู่ในออฟฟิศซึ่งมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสและการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ตามมาตรการป้องกันและการควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 โดยนำข้อมูลจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มาจัดทำเป็นกราฟฟิก มีภาพประกอบเพื่อให้เข้าใจได้ซึ่งมีวิธีปฏิบัติที่แต่ละคนสามารถลงมือทำได้ ดังต่อไปนี้  

1.สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ที่ปฏิบัติงาน และล้างมือบ่อย ๆ

2.หมั่นท่าความสะอาดของใช้ส่วนตัว เช่น โทรศัพท์ โต๊ะทำงาน

3.ใช้รูปแบบ Online แทน การรวมกลุ่มพูดคุยหรือการประชุม

4.ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ จาน ชาม

5.แยกกันกิน และเว้นระยะห่าง ระหว่างกันกับผู้ร่วมงาน

อย่างไรก็ดี หน่วยงานควรพิจารณาใช้มาตรการ Work From Home ให้มากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้มีโรคประจำตัว และหญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น

 

กรณีสงสัยว่า เป็นกลุ่มเสี่ยงแนะนำให้เร่งตรวจ ATK เพื่อยืนยัน หากตรวจ ATK แล้วขึ้น 2 ขีด ติดเชื้อโควิด-19 ให้ดำเนินการดังนี้

ผู้ป่วยติดโควิดกลุ่มสีเขียว

  • รักษาตามอาการ เช่น กินยาลดไข้ แก้ไอ แก้เจ็บคอ หรือไปรับยาที่สถานพยาบาลตามสิทธิ-สถานพยาบาลรัฐใกล้บ้าน ตามมาตรการ "เจอ แจก จบ" และกักตัวอยู่ที่บ้านเป็นเวลา 10 วัน 

การใช้สิทธิรักษา 

1.สิทธิบัตรทอง 30 บาท (สปสช.) 

ไป ที่สถานพยาบาลประจำที่ลงทะเบียนไว้ ทั้งยังสามารถไปที่หน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศโดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว หน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น สถานีอนามัย, รพ.สต., หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลประจำอำเภอ-จังหวัด, ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข รวมถึง คลินิกชุมชนอบอุ่น เป็นต้น 

รพ.เอกชนที่ทำข้อตกลงรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียวกับ สปสช. 

2.สิทธิประกันสังคม

ไป เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลที่ลงทะเบียนไว้ รวมถึงสถานพยาบาลคู่สัญญาในระบบประกันสังคมทุกแห่ง และสถานพยาบาลรัฐทุกแห่ง (สายด่วน 1506)

3.สิทธิข้าราชการ

ไป สถานพยาบาลรัฐทุกแห่ง และ รพ.เอกชนที่ทำข้อตกลงรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียวกับ สปสช. (สายด่วนกรมบัญชีกลาง 02-2706400 วัน-เวลาราชการ)
กลุ่มสีเหลือง-สีแดง (ทุกสิทธิการรักษา) โดยใช้สิทธิ UCEP Plus (เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่) สถานพยาบาลรัฐ-เอกชน ที่อยู่ใกล้ได้ 

กลุ่ม 608, หญิงตั้งครรภ์, เด็กอายุ 0-5 ปี, คนพิการ, ผู้ป่วยติดเตียง ที่เป็นสิทธิบัตรทอง 30 บาท (สิทธิ สปสช.) และสิทธิองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โทร. 1330 ประเมินอาการเข้าระบบรักษาที่บ้าน โดยสามารถติดต่อได้ตามเบอร์โทร. ดังนี้  

  • เจ็บป่วยฉุกเฉิน โทร. 1669 
  • ประกันสังคม โทร. 1506
  • บัตรทอง-อปท. โทร. 1330
  • ข้าราชการ โทร. 02-2706400
  • สอบถามสิทธิ UCEP Plus 02 872 1669 (ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต)

ดูรายละเอียดเพิ่มที่ https://www.nhso.go.th/news/3527 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1330 ตลอด 24 ชม. หรือ เพิ่มเพื่อนไลน์กับ สปสช. @nhso

 

5 วิธีอยู่ที่ทำงานให้ปลอดภัยจากโควิด-19