โควิดชลบุรี ติดเชื้อรายใหม่ 129 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย

13 ธ.ค. 2564 | 06:55 น.
อัปเดตล่าสุด :13 ธ.ค. 2564 | 13:56 น.

โควิดชลบุรี วันนี้ ( 13 พ.ย.) ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 129 ราย มาจากคลัสเตอร์ใหม่ "บจก. อัสโน่ โฮริเอะ (ไทยแลนด์) " จำนวน 11 ราย ยอดกำลังรักษาของจังหวัดเหลือ1,801 ราย รักษาหายสะสม 107,118 ราย

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี (สสจ.ชลบุรี) รายงานสถานการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประจำวัน วันนี้มีรายงานผู้ติดรายใหม่ จำนวน 129 ราย ยอดป่วยสะสม 109,697 ราย รักษาหายเพิ่ม 136 ราย รักษาหายสะสม 107,118 ราย กำลังรักษา1,801 ราย เสียชีวิต 2 ราย เสียชีวิตสะสม 778 ราย 

 

โควิดชลบุรี ติดเชื้อรายใหม่ 129 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย

 

รายละเอียดการติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่
 
1. คนที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง เข้ามารักษาในจังหวัดชลบุรี 13 ราย สะสม 5,234 ราย และจังหวัดอื่นๆรวมสะสม 1,851 ราย

2. Cluster บริษัท อัสโน่ โฮริเอะ (ไทยแลนด์) จำกัด จ.ระยอง 11 ราย
     2.1 พักอาศัยในจังหวัดชลบุรี  9 ราย
     2.2 พักอาศัยในจังหวัดระยอง 2 ราย

3. อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 2 ราย

4. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน
    4.1 ในครอบครัว  22 ราย
    4.2 จากสถานที่ทำงาน 31 ราย
    4.3 บุคคลใกล้ชิด 11 ราย 

5. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค) 9 ราย 

6. อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 30 ราย

อัพเดทการฉีดวัคซีนโควิด-19

 

ณ 13 ธันวาคม 2564 จังหวัดชลบุรี มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม 1,717,478 คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 705 คน ปอดอักเสบ 6 คน และเสียชีวิต 2 คน

 

ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม 158,520 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีนอีก 453,075 คน รวม 611,595 คน ในเดือนนี้ พบผู้ติดเชื้อที่ฉีดวัคซีนไม่ครบ 196 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีน 1,329 คน ปอดอักเสบ 21 คน และเสียชีวิต 13 คน

 

ผู้เสียชีวิตจากโควิด-19

 

สำหรับวันนี้ พบผู้ป่วยผู้ป่วยปอดอักเสบรายใหม่ 2 ราย และพบผู้เสียชีวิตรายใหม่ 2 ราย (อายุเฉลี่ย 63 ปี) มีปัจจัยเสี่ยงร่วมที่ทำให้ความรุนแรงของโรคที่นำไปสู่การเสียชีวิต คือ เป็นผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว ได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง (ไม่พบประวัติการรับวัคซีนหนึ่งราย) ดังนั้น การฉีดวัคซีนจะช่วยลดความรุนแรงของโควิด-19 ผู้ที่อาศัยในจังหวัดชลบุรี ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์  เนื่องจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน มีโอกาศที่จะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ที่ฉีดวัคซีน ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 และกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ จะมีอาการมากกว่ากลุ่มอื่น