วันที่ 2 ตุลาคม 2564 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสถานการณ์ ข้อมูลคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง รวมไปถึงพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และพื้นที่ที่มีฝนฟ้าคะนอง โดยจะมีพื้นที่ไหนจังหวัดอะไรที่ได้รับผลกระทบ ตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดได้ที่นี่
พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง
ภาคเหนือ
- สุโขทัย (อ.เมืองฯ ศรีสำโรง คีรีมาศ)
- พิษณุโลก (อ.วังทอง พรหมพิราม บางระกำ)
- เพชรบูรณ์ (อ.เมืองฯ)
- พิจิตร (อ.บึงนารา โพธิ์ประทับช้าง โพทะเล สามง่าม)
- นครสวรรค์ (อ.ลาดยาว ท่าตะโก)
- อุทัยธานี (อ.เมืองฯ ทัพทัน สว่างอารมณ์)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- นครราชสีมา (อ.ด่านขุนทด สูงเนิน โนนสูง เมืองฯ พิมาย ปักธงชัย โนนไทย คง พระทองคำ จักราช สีดา ขามสะแกแสง บ้านเหลื่อม)
- ชัยภูมิ (อ.เมืองฯ ภูเขียว บ้านเขว้า จัตุรัส คอนสวรรค์)
- ขอนแก่น (อ.ภูผาม่าน ชุมแพ หนองเรือ แวงน้อย แวงใหญ่ โคกโพธิ์ไชย ชนทบ มัญจาคีรี โนนศิลา)
- อุบลราชธานี (อ.เมืองฯ)
ภาคกลาง
- ชัยนาท (อ.มโนรมย์ วัดสิงห์ เนินขาม หันคา สรรคบุรี สรรพยา เมืองฯ หนองมะโมง)
- ลพบุรี (อ.เมืองฯ ชัยบาดาล บ้านหมี่)
- สระบุรี (อ.วังม่วง แก่งคอย เสาไห้ บ้านหมอ หนองโดน วิหารแดง พระพุทธบาท เมืองฯ มวกเหล็ก เฉลิมพระเกียรติ ดอนพุด)
- สุพรรณบุรี (อ.บางปลาม้า สองพี่น้อง)
- สิงห์บุรี (อ.เมืองฯ อินทร์บุรี ค่ายบางระจัน)
- อ่างทอง (อ.เมืองฯ วิเศษชัยชาญ ป่าโมก ไชโย)
- พระนครศรีอยุธยา (อ.ผักไห่ เสนา บางบาล พระนครศรีอยุธยา บางไทร)
พื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์ฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง
ภาคเหนือ
- แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ตาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พื้นที่ที่มีฝนฟ้าคะนอง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง
- กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคใต้
ทั้งนี้ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการ พื้นที่เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ฝนตกหนัก ปริมาณฝนสะสม โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนเมืองอาจได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขังระยะสั้นๆ พื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ลาดเชิงเขา อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก พื้นที่ริมลำน้ำ อาจได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมในระดับสูง ระวังอันตรายจากสัตว์และแมลงมีพิษ อันตรายจากกระแสไฟฟ้า รวมทั้งการขับขี่พาหนะบริเวณน้ำไหลผ่านเส้นทาง
ในกรณีต้องการขอรับความช่วยเหลือ สามารถติดต่อเบอร์ฉุกเฉิน หรือ สายด่วน ทั้งหมดดังนี้
- ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) สายด่วนรับแจ้ง-เตือนภัยน้ำท่วม โทร. 1111 กด 5
- กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) สายด่วนแจ้งเตือนสาธารณภัย โทร. 1784
- ร่วมด้วยช่วยกัน ประสานความช่วยเหลือ โทร. 1677
- สภากาชาดไทย สายด่วนรับแจ้ง-เตือนภัย ช่วยเหลือสาธารณภัย โทร. 1664
- บริการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นำส่งโรงพยาบาล กู้ชีพ โทร. 1669
- ตำรวจทางหลวง กรมทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ขอความช่วยเหลือ โทร. 1193
- ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ขอความช่วยเหลือ โทร. 1146
- ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ICT) สายด่วนข้อมูลภัยพิบัติ โทร. 192
- กรมอุตุนิยมวิทยา สายด่วนข้อมูลสภาพอากาศ โทร. 1182
- กรมชลประทาน สายด่วนข้อมูลสถานการณ์น้ำ-เขื่อน โทร. 1460