เกาะติดมาตรการเยียวยามาตรา 40 กรณีผู้ประกันตนมาตรา 40 ใน 29 จังหวัดสีแดงเข้ม หรือพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดใน 9 ประเภทกิจการ ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท/คน
โดยแยกเป็น 3 กลุ่มตามการประกาศของศบค.ดังนี้
10 จังหวัด กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา
3 จังหวัด ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และพระนครศรีอยุธยา
16 จังหวัด กาญจนบุรี ตาก นครนายก นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง
สำนักงานประกันสังคม ได้ขยายโอกาสให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระใน 19 จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ใน 9 ประเภทกิจการ ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี อ่างทอง นครนายก ปราจีนบุรี ลพบุรี ระยอง สิงห์บุรี สระบุรี นครราชสีมา เพชรบูรณ์ และตาก ที่สมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 และชำระเงินสมทบ ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เพื่อรับเงินเยียวยาผ่านทางพร้อมเพย์เลขประจำตัวประชาชน
มาตรา 40 สมัครไม่ทัน 24ส.ค.64 มีรอบเก็บตกไหม
นางสาวลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม ตอบคำถามในรายการสถานีประกันสังคม เมื่อวันที่ 2 ก.ย.64 กรณีมีคำถามว่า ผู้ประกอบอาชีพอิสระใน 29 จังหวัดสีแดงเข้ม สมัครมาตรา 40 ไม่ทันวันที่ 24 ส.ค.64 จะมีการเปิดรับสมัครรอบเก็บตก เพื่อรับเงินเยียวยาหรือไม่ว่า เก็บตก คงไม่มี เงินเยียวยา เป็นเงินช่วยจากรัฐบาล ซึ่งทางกระทรวงแรงงานทำโครงการเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) การทำโครงการจะต้องมีตัวเลขที่ชัดเจนว่า มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ใน 29 จังหวัดสีแดงเข้มมีจำนวนเท่าไหร การที่จะเขียนโครงการต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ทำไม่ได้ หรือเขียนเผื่อไว้ก็ไม่ได้ สภาพัฒน์ก็จะไม่อนุมัติ
สมัคร ม.40 รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง
ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ใน 29 จังหวัดสีแดงเข้ม สมัครเป็นผู้ประกันตน ม.40 หลังวันที่ 24 ส.ค.64 จะไม่ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท แต่จะได้แค่สิทธิประโยชน์ ตามมาตรา 40 ดังนี้
ความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ประกันสังคม
ทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาท/เดือน ผู้ประกันตนได้รับความคุ้มครอง ดังนี้
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป วันละ 200 บาท
- เงื่อนการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน ไม่เกิน 30 วัน/ปี
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน(ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) ครั้งละ 50 บาท
2.กรณีทุพพล รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน(ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) 500-1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา 15 ปี
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท
3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม 8,000 บาท
4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมบำเหน็จชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ(ได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) ไม่คุ้มครอง
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน รับเงินเพิ่ม ไม่คุ้มครอง
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ ไม่คุ้มครอง
5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6 ปีบริบูรณ์(จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) ไม่คุ้มครอง
ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาท/เดือน ผู้ประกันตนได้รับความคุ้มครอง ดังนี้
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป วันละ 200 บาท
- เงื่อนการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน ไม่เกิน 30 วัน/ปี
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน(ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) ครั้งละ 50 บาท
2.กรณีทุพพล รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน(ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) 500-1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา 15 ปี
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท
3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม 8,000 บาท
4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมบำเหน็จชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ(ได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) 50 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน รับเงินเพิ่ม ไม่คุ้มครอง
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท
5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6 ปีบริบูรณ์(จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) ไม่คุ้มครอง
ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาท/เดือน ผู้ประกันตนได้รับความคุ้มครอง ดังนี้
1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป วันละ 200 บาท
- เงื่อนการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน ไม่เกิน 90 วัน/ปี
- ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน(ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) ไม่คุ้มครอง
2.กรณีทุพพล รับเงินทดแทนการขาดรายได้
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน(ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) 500-1,000 บาท
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระนะเวลา ตลอดชีวิต
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท
3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต ไม่คุ้มครอง
4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- สะสมบำเหน็จชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ(ได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) 150 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน รับเงินเพิ่ม 10,000 บาท
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท
5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับรายเดือน
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6 ปีบริบูรณ์(จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) คนละ 200 บาท(คราวละไม่เกิน 2 คน)
คุณสมบัติผู้สมัครประกันสังคมมาตรา40
- มีสัญชาติไทย
- มีอายุ 15-65 ปีบริบูรณ์
- เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ
- ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท ห้างร้าน โรงงาน (ม.33)
- ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (ม.39)
- ไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
- ผู้ถือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 (ยกเว้นขึ้นต้นด้วย 00)
- ผู้พิการที่รับรู้สิทธิก็สมัคร
หลักฐานการสมัคร
ใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียว
สำหรับความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ประกันสังคม ปัจจุบันมี 3 ทางเลือก คือ
- ทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาท/เดือน
- ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาท/เดือน
- ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาท/เดือน
ช่องทางสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา40
- เว็บไซต์ www.sso.go.th
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- Big C ซุปเปอร์เซ็นเตอร์
- เซเว่น-อีเลฟเว่น
หลักฐานการสมัคร
- ใช้บัตรประชาชน เพียงใบเดียวเท่านั้น
ช่องทางจ่ายเงินสมทบ
สามารถชำระเงินผ่านช่องทางที่สะดวก ได้แก่
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส (7-11)
- เคาน์เตอร์เทสโก้โลตัส
- เคาน์เตอร์บิ๊กซี
- เคาน์เตอร์เซ็นเพย์
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- Mobile Application ShoppyPay
- ตู้บุญเติม
ฟรีค่าธรรมเนียมทุกช่องทาง
ที่มา : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน