เปิด 6 เทคนิคง่ายๆ จ่ายตลาดครั้งเดียว ลดความเสี่ยงติดโควิด-19

22 ส.ค. 2564 | 17:58 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ส.ค. 2564 | 01:07 น.

สสส.เผย 6 เทคนิค จ่ายตลาด-ซื้อกับข้าวเพียงครั้งเดียว ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อโควิด-19 เมื่อออกจากบ้าน

เพจเฟซบุ๊ก Social Marketing Thaihealth by สสส. ได้โพสต์ข้อความว่า แนะนำวิธีจ่ายตลาดแบบไม่ต้องออกจากบ้านบ่อยๆ เพื่อลดการเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 เพียงแค่ 6 เทคนิคเท่านั้น

 

เทคนิคที่ 1  กำหนดวันจ่ายตลาดที่ชัดเจน ช่วยให้รู้จักวางแผน  เช่น ออกจากบ้านทุกวันอาทิตย์ กลางเดือน หรือสิ้นเดือนเท่านั้น จะทำให้เราต้องวางแผนล่วงหน้า ลดการออกจากบ้านโดยไม่จำเป็นและยังทำให้สนุกในการเฝ้ารอให้ถึงวันจ่ายได้อีกด้วย

เปิด 6 เทคนิคง่ายๆ จ่ายตลาดครั้งเดียว ลดความเสี่ยงติดโควิด-19

เทคนิคที่ 2 คิดเมนูล่วงหน้า ช่วยลดความถี่ในการออกไปซื้อของ เนื่องจากหลายคนชอบการเดินดูของพร้อมกับคิดเมนูอาหาร โดยซื้อของเท่าที่ใช้ และเริ่มวางแผนเมนูสำหรับ 3-4 วันแล้วค่อยเพิ่มเมนูใหม่ในแต่ละวัน

เปิด 6 เทคนิคง่ายๆ จ่ายตลาดครั้งเดียว ลดความเสี่ยงติดโควิด-19

เทคนิคที่ 3 ทำรายการของที่ต้องซื้อ ป้องกันการลืมลดเวลาอยู่ในร้าน เนื่องจากสาเหตุการออกจากบ้านบ่อยๆคือการลืมซื้อของ  เพราะไม่ได้ทำรายการไว้ล่วงหน้า นอกจากนี้การมีรายการซื้อของ ทำให้ไม่ต้อเงเสียเวลาคิดว่าต้องซื้ออะไร ป้องกันความเสี่ยงการติดเชื้อโควิดได้ 

เปิด 6 เทคนิคง่ายๆ จ่ายตลาดครั้งเดียว ลดความเสี่ยงติดโควิด-19

เทคนิคที่ 4 เนื้อสัตว์เก็บให้อยู่นาน  แบ่งเนื้อสัตว์ใส่ถุงชุดละประมาณ 100 กรัม แล้วนำไปแช่ช่องแข็งจะทำให้เนื้อสัตว์อยู่ได้นานเวลานำมาใช้ ควรใช้เป็นชุดๆและกินให้หมดภายใน 1 เดือน แนะนำให้เขียนวันครบกำหนดหมดอายุลงบนถุงบรรจุด้วย
เปิด 6 เทคนิคง่ายๆ จ่ายตลาดครั้งเดียว ลดความเสี่ยงติดโควิด-19

เทคนิคที่ 5 แยกเก็บผักตามชนิด การเก็บผักนั้นควรแยกตามชนิดของผัก เพราะผักแต่ละชนิดมีระยะเวลาเน่าเสียแตกต่างกัน หากเอารวมกันไว้ ผักที่เน่าเสียก่อนจะทำให้ผักอื่นๆเน่าเสียตามไปด้วย รวมทั้งการเก็บผักนั้นไม่ควรล้างก่อนเก็บควรล้างเมื่อนำมาประกอบอาหารเท่านั้นเพื่อให้ผักเก็บได้นาน

เปิด 6 เทคนิคง่ายๆ จ่ายตลาดครั้งเดียว ลดความเสี่ยงติดโควิด-19

เทคนิคที่ 6 ผลไม้และผัก อย่าเก็บด้วยกัน เพื่อชะลอการเน่าเสีย ควรเก็บผลไม้ในซิปล็อกหรือกล่องพลาสติกมีรูระบายอากาศเพื่อไม่ให้ผลไม้ชื้น และไม่ควรเก็บผัก-ผลไม้ไว้ในถุงเดียวกัน  เพราะผลไม้สุกจะปล่อยก๊าซเอทิลีนออกมา ทำให้ผักที่อยู่ใกล้เน่าเสียเร็ว ทางที่ดีควรแยกชั้นกัน 
เปิด 6 เทคนิคง่ายๆ จ่ายตลาดครั้งเดียว ลดความเสี่ยงติดโควิด-19