รัฐวิสาหกิจอ่านทางนี้! ประกาศแล้วหลักเกณฑ์ค่าช่วยเหลือ-ค่าการศึกษาบุตร

08 ส.ค. 2564 | 06:09 น.
2.9 k

พนักงานรัฐวิสาหกิจอ่านทางนี้! ราชกิจจานุเบกษาประกาศแล้วหลักเกณฑ์การจ่ายค่าช่วยเหลือบุตร และค่าช่วยเหลือการศึกษาของบุตร มีผลตั้งแต่วันที่ 7 ส.ค.2564 เป็นต้นไป

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การจ่ายค่าช่วยเหลือบุตร และค่าช่วยเหลือการศึกษาของบุตร ที่ลงนามโดย สุชาติ ชมกลิ่นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ระบุว่า 

 

โดยที่เป็นการสมควรกําหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่าช่วยเหลือบุตร และค่าช่วยเหลือการศึกษาของบุตร เพื่อให้สอดคล้องมาตรฐานขั้นต่ําของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจและสภาวการณ์ปัจจุบัน

 

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๓ (๑) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ ประกอบข้อ ๕๓ ของประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำ ของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ลงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ คณะกรรมการแรงงาน รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

 

ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์ การจ่ายค่าช่วยเหลือบุตร และค่าช่วยเหลือการศึกษาของบุตร”

 

ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้

 

“บุตร” หมายความว่า บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของลูกจ้าง แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม หรือบุตรซึ่งบิดามารดาได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นแล้ว

 


“ค่าช่วยเหลือบุตร” หมายความว่า เงินสวัสดิการที่นายจ้างจ่ายเพื่อช่วยเหลือหรือสงเคราะห์ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรของลูกจ้าง

 

“ค่าช่วยเหลือการศึกษาของบุตร” หมายความว่า เงินสวัสดิการที่นายจ้างจ่ายเพื่อช่วยเหลือ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทุกประเภทในลักษณะเหมาจ่ายทั้งปีการศึกษา สําหรับบุตรของลูกจ้าง ในสถานศึกษาของทางราชการหรือสถานศึกษาของเอกชนซึ่งได้รับอนุมัติให้เรียกเก็บตามระเบียบ ข้อบังคับหรือประกาศของสถานศึกษานั้น ๆ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงค่าปรับต่าง ๆ ค่าลงทะเบียนล่าช้า การลงทะเบียนเรียนซ้ําเพื่อปรับผลการเรียน (รีเกรด) ค่าประกันอุบัติเหตุ ค่าประกันของเสียหาย ค่าหอพัก ค่าอาหาร ค่าซักรีด และค่ารักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษา
 

“เงินบํารุงการศึกษา” หมายความว่า เงินประเภทต่าง ๆ ที่สถานศึกษาของทางราชการ เรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือ ที่กํากับ มหาวิทยาลัยวิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง หรือองค์การของรัฐบาล

 

“เงินค่าเล่าเรียน” หมายความว่า เงินค่าธรรมเนียมการเรียนหรือค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ซึ่งสถานศึกษาของเอกชนเรียกเก็บตามอัตราที่สถานศึกษากําหนด

 

“ปีการศึกษา” หมายความว่า ปีการศึกษาที่กําหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนราชการ เจ้าสังกัด มหาวิทยาลัย วิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง หรือองค์การของรัฐบาล 

 

“สถานศึกษาของทางราชการ” หมายความว่า

 

(๑) มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ หรือส่วนราชการอื่น หรือที่อยู่ในกํากับของรัฐ

 

(๒) วิทยาลัยหรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเทียบเท่าวิทยาลัย ในสังกัดหรือ อยู่ในกํากับของกระทรวงศึกษาธิการ หรือส่วนราชการอื่นที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรองคุณวุฒิ


 

(๓) โรงเรียนในสังกัดหรืออยู่ในกํากับของกระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัย วิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง และให้หมายความรวมถึงโรงเรียนที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่มีการจัดระดับชั้นเรียนด้วย

 

(๔) โรงเรียนในสังกัดหรืออยู่ในกํากับของส่วนราชการอื่น หรือองค์การของรัฐบาล ที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรองคุณวุฒิ

 

(๕) โรงเรียนในสังกัดส่วนราชการที่กระทรวงการคลังกําหนด

 

(6) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีการจัดระดับชั้นเรียนในสังกัดส่วนราชการ

 

“สถานศึกษาของเอกชน” หมายความว่า

 

(๑) สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน

 

(๒) โรงเรียนในระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน

 

                              หมวด ๑ ค่าช่วยเหลือบุตร


ข้อ ๔ ให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าช่วยเหลือบุตรเป็นรายเดือนสําหรับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม โดยให้ได้รับเป็นเงินเดือนละสองร้อยบาทต่อบุตรหนึ่งคน แต่ไม่รวมถึงบุตรซึ่งเป็น


(๑) บุตรซึ่งมิได้อยู่ในอํานาจปกครองของตน


(๒) บุตรซึ่งมีอายุเกินสิบแปดปีบริบูรณ์ หรือไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์แต่เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ โดยการสมรสแล้ว


(๓) บุตรซึ่งลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มสําหรับบุตรคนนั้นอยู่แล้ว และลูกจ้างนั้นมีตําแหน่ง หน้าที่ประจําอยู่ในต่างประเทศ


ข้อ ๕ การนับลําดับบุตรคนที่หนึ่งถึงคนที่สาม ให้นับเรียงตามลําดับการเกิดก่อนหลัง ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นบุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งใดหรืออยู่ในอํานาจปกครองของตนหรือไม่ และไม่ว่าจะเป็นบุตร ที่เกิดก่อนหรือหลังเข้าเป็นลูกจ้าง

 

คลิกอ่านเพิ่มเติม : ประกาศหลักเกณฑ์การจ่ายค่าช่วยเหลือบุตร และค่าช่วยเหลือการศึกษาของบุตร