กรณีรัฐบาลยกมระดับมาตรการล็อกดาวน์ พร้อมประกาศเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หรือพื้นที่สีแดงเข้ม เพิ่มเติมจากเดิม 10 จังหวัดเป็น 13 จังหวัด ประกอบด้วยกรุงเทพมหานคร, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, นครปฐม, นนทบุรี นราธิวาส, ปทุมธานี, ปัตตานี, พระนครศรีอยุธยา, ยะลา, สงขลา, สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
ล่าสุดแหล่งข่าวจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยกับฐานเศรษฐกิจว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 20 ก.ค. 2564 จะมีการเสนอให้ที่ประชุมพิจารณามาตรการเยียวยาประกันสังคม แก่นายจ้างและลูกจ้าง ผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 ในพื้นที่ 3 จังหวัด ประกอบพระนครศรีอยุธยา,ชลบุรี,ฉะเชิงเทรา ที่เพิ่งถูกประกาศให้เป็นพื้นที่สีแดงเข้ม หรือ พื้นที่สูงสุดและเข้มงวดเพิ่มเติม โดยแนวทางการช่วยเหลือในเบื้องต้นจะเหมือนกับที่ครม.เคยมีมติก่อนหน้านี้
ประเภทกิจการที่ได้รับการเยียวยาประกันสังคม 9 สาขา
- ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร โรงแรม, รีสอร์ท, เกสต์ฮ้าส์, ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท, การบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร, การบริการด้านอาหารบนแผงลอยและตลาด, การบริการด้าน,การจัดเลี้ยง, การบริการด้านเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นหลักในร้าน
- การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า การขนส่งผู้โดยสารทางรถโดยสารประจำทางระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดอื่น และระหว่างจังหวัด, การขนส่งผู้โดยสารโดยรถยนต์รับจ้าง/แท็กซี่/รถสามล้อเครื่อง,จักรยานยนต์รับจ้าง, การขนส่งสินค้าแช่เย็นหรือแช่แข็งทางถน, การขนส่งสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ทางถนน
- การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ ห้างสรรพสินค้า, ซุปเปอร์เซ็นเตอร์, การขายปลีกสินค้าทั่วไป
- กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน ธุรกิจจัดนำเที่ยว, กิจกรรมของมัคคุเทศก์, กิจกรรมการรักษาความปลอดภัย, การบริการทำความสะอาด, การจัดการประชุมและจัดการแสดงสินค้า (event)
- กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ กิจกรรมของบริษัทโฆษณา, กิจกรรมการออกแบบและตกแต่งภายใน, การตรวจสอบบัญชี, การให้คำปรึกษาด้านภาษี
- ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร กิจกรรมการผลิตภาพยนตร์และวีดิทัศน์, กิจกรรมการผลิตรายการโทรทัศน์, กิจกรรมด้านการจัดฉายภาพยนตร์
- การก่อสร้าง การก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย, การก่อสร้างถนน, สะพานและอุโมงค์, การติดตั้งระบบประปาและระบายน้ำ
- กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ กิจกรรมสปา, กิจกรรมการแต่งผม, กิจกรรมการดูแลความงาม แต่งเล็บมือและเล็บเท้า, กิจกรรมเกี่ยวกับงานศพและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
- ศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ การดำเนินงานของสถานที่ออกกำลังกาย, กิจกรรมด้านสมสกีฬา, กิจกรรมด้านสวนสนุกและมปาร์ค,กิจกรรมการแสดงโชว์เพื่อความบันเทิงและการนันทนาการ
เงื่อนไขการจ่ายเงินเยียวยาประกันสังคม
มาตรา 33
- นายจ้าง รัฐจ่ายให้ตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาทต่อคน สูงสุดไม่เกิน 200 คน
- ลูกจ้าง รับเพิ่มเป็น 2,500 บาทต่อคน บวกเงินชดเชยรายได้(สูงสุด 7,500 บาท) รวมไม่เกิน 10,000 บาทต่อคน
มาตรา 39 และมาตรา 40
- รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาทต่อคน
- อาชีพอิสระ หากขึ้นทะเบียน ม.40 ภายใน ก.ค.64 จะได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาทต่อคน
กรณีนอกระบบประกันสังคม
- นายจ้าง หากลูกจ้างขึ้นทะเบียน ม.33 รับเงินช่วยเหลือตามจํานวนลูกจ้าง 3,000 บาทต่อคน สูงสุดไม่เกิน 200 คน ลูกจ้างสัญชาติไทยรับเงินช่วยเหลือ 2,500 บาทต่อคน
- หากไม่มีลูกจ้าง ให้ลงทะเบียน ม.40 รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาทต่อคน
ผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน”
- ขยายความช่วยเหลือใน 5 กลุ่ม ได้แก่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้าน OTOP ร้านค้าทั่วไป ร้านค่าบริการ และกิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่)
- กรณีมีลูกจ้าง ให้ขึ้นทะเบียน ม.33 ภายในเดือน ก.ค.64 รับเงินช่วยเหลือตามจํานวนลูกจ้าง 3,000 บาทต่อคน สูงสุดไม่เกิน 200 คน ลูกจ้างมาตรา 33 จ่าย 50 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้างรายวัน สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท และจ่ายสมทบให้สัญชาติไทยอีก 2,500 บาทต่อคน ไม่เกิน 10,000 บาทต่อคน
- หากไม่มีลูกจ้าง ให้ลงทะเบียน ม.40 ภายในเดือน ก.ค.64 รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาทต่อคน
ทั้งนี้แรงงานอิสระหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีแต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ สามารถสมัครขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ด้วยตนเองผ่านมือถือที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส (7-11) เคาน์เตอร์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และที่เคาน์เตอร์บิ๊กซี (Big C) หรือสมัครผ่านผู้แทนเครือข่ายประกันสังคม ทั้งนี้ เมื่อสมัครแล้วสามารถจ่ายเงินสมทบได้ทันที