ประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.39-ม.40 ต่างกันตรงไหน รัฐเยียวยาเท่าใด

15 ก.ค. 2564 | 04:16 น.
อัปเดตล่าสุด :15 ก.ค. 2564 | 23:12 น.
44.1 k

ทำความรู้จัก ประกันสังคมมาตรา 39 ประกันสังคมมาตรา 40 ต่างกันอย่างไร รับเงินเยียวยาจากเหตุล็อกดาวน์พื้นที่ 10 จังหวัดสีแดงเข้ม รัฐพร้อมจ่ายเยียวยาให้ เตรียมเอกสาร พร้อมเช็คคุณสมบัติ -หลักเกณฑ์-เงื่อนไข ได้ที่นี่

จากมาตรการเยียวยาของรัฐบาลหลังประกาศล็อกดาวน์ 10 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มเพื่อสกัดยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติเงินช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับผลกระทบซึ่งในส่วนของ ประกันสังคม สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 ได้รับเยียวยาคนละ 5,000 บาท โดยให้เตรียมหลักฐานลงทะเบียนสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564

อย่างไรก็ดี จนถึงขณะนี้ต้องยอมรับว่าหลายคนอาจกำลังสับสนเรื่องของ ประกันสังคม ม.39 และ ม.40 ว่า มีความแตกต่างกันอย่างไร 

"ฐานเศรษฐกิจ" พาไปทบทวนทำความรู้จักเกี่ยวกับ ประกันสังคมมาตรา 39 และ มาตรา 40 กันอีกครั้ง

ผู้ประกันตนมาตรา 39 (ม.39) 

คุณสมบัติ

  • ลาออกจากการเป็นพนักงานเอกชนแล้ว
  • เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33
  • ส่งเงินสมทบมากกว่า 12 เดือน
  • ลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน
  • ส่งเงินสมทบ 432 บาท/เดือน

สิทธิประโยชน์

  • เจ็บป่วย 
  • คลอดบุตร
  • สงเคราะห์บุตร
  • ทุพพลภาพ 
  • ชราภาพ 
  • เสียชีวิต 

การสมัคร 

สามารถสมัครด้วยตนเองได้ที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่

ผู้ประกันตนมาตรา 40 (ม.40) 

คุณสมบัติ

  • อาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ ค้าขาย
  • ไม่มีนายจ้างประจำ
  • อายุ 15-65 ปี

เงินสมทบ

ทางเลือก 1 : 70 บาท/เดือน

ทางเลือก 2 : 100 บาท/เดือน

ทางเลือก 3 : 300 บาท/เดือน

สิทธิประโยชน์

ทางเลือก 1 : เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต

ทางเลือก 2 : เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ

ทางเลือก 3 : เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ สงเคราะห์บุตร

การสมัคร

  • สมัครด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่
  • สมัครผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม