โคคา-โคล่า สานต่อแรงบันดาลใจ “รักน้ำ”

23 เม.ย. 2564 | 13:50 น.
อัปเดตล่าสุด :27 เม.ย. 2564 | 16:15 น.

ในฐานะองค์กรที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับน้ำ และให้ความสำคัญกับการแก้ “ปัญหาน้ำ” กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทยจึงได้จัดทำวิดีโอ Stop Motion เพื่อเชิญชวนให้ทุกคนมาร่วมกันค้นหาคำตอบของการแก้ไขปัญหาน้ำอย่างยั่งยืน

วิดีโอ เพราะนํ้าคือชีวิต... ร่วมค้นหาการแก้ปัญหานํ้าแล้ง น้ำท่วม กับโครงการ “รักนํ้า” บอกเล่าเรื่องราวของน้ำที่สร้างผลกระทบที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่บางแห่งต้องประสบปัญหาภัยแล้งหรือไม่มีน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภค ขณะที่บางพื้นที่กลับรับปริมาณน้ำที่มากเกินไปจนเกิดเป็นอุทกภัย ซึ่งทาง โคคา-โคล่า ภายใต้การทำงานผ่านมูลนิธิโคคา-โคลาประเทศไทย ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือชุมชนบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำที่แตกต่างเหล่านั้นผ่าน โครงการ “รักน้ำ” ซึ่งรับชมได้ ทั้งเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/cocacolaTH/posts/2904422576497793 และ Youtube https://youtu.be/-ntTYEaZI1M

การดำเนินเรื่อง รวมถึงตัวละครและฉากต่างๆ ถูกออกแบบ เพื่อสะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในชุมชนที่มี “น้ำ” เป็นหัวใจสำคัญในการดำรงชีวิตและการทำเกษตรกรรมเอกลักษณ์ความเป็นไทยพื้นบ้าน ได้ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านเสียงเพลงที่นำเครื่องดนตรีไทยมาเป็นส่วนสำคัญในการรังสรรค์ทำนอง ไปจนถึงเสื้อผ้าของตัวละคร บางส่วนตัดเย็บด้วยผ้าไหมทอมือจากบ้านถนนงาม และบ้านหนองแวงน้อย ตำบลบ้านหัน อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น อันเป็นผลผลิตจากโครงการ “รักน้ำ” ที่มีการจัดการน้ำเพื่อชุมชนโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้มีน้ำกินน้ำใช้ในชีวิตประจำวันอย่างพอเพียง และสามารถปลูกหม่อน เลี้ยงไหม นำไปทอผ้า เพื่อใช้เองและจำหน่ายได้

โคคา-โคล่า สานต่อแรงบันดาลใจ “รักน้ำ”

โคคา-โคล่า สานต่อแรงบันดาลใจ “รักน้ำ”

โคคา-โคล่า สานต่อแรงบันดาลใจ “รักน้ำ”

 

โครงการ “รักน้ำ” เริ่มขึ้นในปี 2550 โดยมูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย มูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำงานด้านความยั่งยืนของกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย อันประกอบไปด้วย บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด บริษัท หาดทิพย์ จำกัด(มหาชน) และบริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีพันธกิจในการสร้างความยั่งยืนให้กับ “น้ำ” อันเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเครื่องดื่ม โดยดำเนินการครอบคลุม 3 ด้านคือ 1) การอนุรักษ์แหล่งน้ำ 2) การนำน้ำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพคุ้มค่า และ 3) การเข้าถึงน้ำที่สะอาดในพื้นที่ที่โคคา-โคล่าใช้น้ำในการผลิตเครื่องดื่ม 7 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง ขอนแก่น บุรีรัมย์ นครสวรรค์สุราษฎร์ธานี ปทุมธานี และพัทลุงผ่านการทำงานร่วมกับองค์กรพันธมิตร คือ มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนและมูลนิธิป่า-ทะเลเพื่อชีวิต

 

นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,672 หน้า 23 วันที่ 22 - 24 เมษายน พ.ศ. 2564