thansettakij
  SCB EIC ชี้ภาษีทรัมป์ กดจีดีพีไทยเหลือ 1.5% แนะไทยเร่งเจรจาทางออก

  SCB EIC ชี้ภาษีทรัมป์ กดจีดีพีไทยเหลือ 1.5% แนะไทยเร่งเจรจาทางออก

11 เม.ย. 2568 | 05:02 น.
อัปเดตล่าสุด :11 เม.ย. 2568 | 05:02 น.

 SCB EIC ประเมินผลกระทบจากภาษีทรัมป์ กดการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจากเดิม 2.4% เหลือ 1.5% แนะรัฐบาลเร่งเจรจา เน้น 3 ประเด็นหลัก ลดการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ลดมาตรการกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษี และแก้ปัญหาทรัพย์สินทางปัญญา

เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2025 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ครั้งใหญ่ โดยจะขึ้นภาษีนำเข้าขั้นต่ำจากทุกประเทศทุกสินค้า 10% (Universal tariffs) ยกเว้นเม็กซิโกและแดนาดา เริ่มใช้ 5 เม.ย. พร้อมขึ้นภาษีเพิ่มเติม (Reciprocal tariffs) กับ 60 ประเทศ/กลุ่มเศรษฐกิจที่เกินดุลการค้าสหรัฐฯ สูง ในอัตราต่างกัน ขึ้นกับดุลการค้าของ สหรัฐฯ กับประเทศนั้นๆ จะเริ่มใช้ 9 เม.ย. 

  SCB EIC ชี้ภาษีทรัมป์ กดจีดีพีไทยเหลือ 1.5% แนะไทยเร่งเจรจาทางออก

แต่เมื่อวันที่ 9 เม.ย. ประธานาธิบดีทรัมป์กลับประกาศเลื่อนกำหนดปรับขึ้นภาษีศุลกากรตอบโต้รายประเทศ(Reciprocal tariffs) ออกไป 90 วัน เป็นเริ่มล 8 ก.ค. แต่ยังเก็บภาษีชั้นต่ำทุกประเทศเพิ่ม 10% (Universal tariffs) โดยสหรัฐฯ จะให้เวลาประเทศต่างๆ 90 วัน เพื่อเจรจาต่อรองให้อัตราภาษี Redprocal tanffs ลดลง

สำหรับจีน ทรัมป์กลับประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนอีกหลายรอบ ทำให้กำแพงภาษี Reciprocal กับจีบจีนอยู่ที่ 125% และภาษีเฉพาะเจาะจงที่ 20% รวมเป็น 145% เพื่อตอบโต้จีนที่ประกาศขึ้นภาษีตอบโต้กลับสหรัฐฯ ในช่วงสัปดาห์ก่อน

แม้สหรัฐฯ จะเปิดช่องให้เจรจาภาษีในช่วง 3 เดือนข้างหน้า แต่ SCB EIC มองว่า มาตรการภาษีนำเข้าชุดใหญ่ที่สหรัฐฯ ประกาศไว้เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2025 จะยังคงเป็น ความเสี่ยงสำคัญที่สร้างความไม่แม่แน่นอนกดดันการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจโลกสูง อัตราภาษีนำเข้าที่สหรัฐฯ ตั้งให้สินค้าจากไทยที่ 36% นั้น ถือว่าอยู่ในเกณฑ์สูง

  SCB EIC ชี้ภาษีทรัมป์ กดจีดีพีไทยเหลือ 1.5% แนะไทยเร่งเจรจาทางออก

สะท้อน สัดส่วนการเกินดุลการค้าของไทยกับสหรัฐฯ ที่สูง โดยอัตราภาษีตอบโต้ไทยสูงเป็น อันดับ 20 จาก 185 ประเทศคู่ค้าสหรัฐฯ และเป็นอันดับ 10 ของเอเชีย สูงกว่าค่าเฉลี่ย โลก (17%) และค่าเฉลี่ยเอเชีย (23%) จึงต้องจับตามองการเจรจาที่จะเกิดขึ้นว่าจะสามารถลดอัตราภาษีนำเข้านี้ได้มากน้อยอย่างไร

SCB EIC ประเมินว่า เศรษฐกิจโลกปีนี้จะมีแนวโน้มเติบโตเหลือเพียง 2.2% (เทียบ 2.7% และ 2.8% ในปี 2024
และ 2023) และโลกมีความเสี่ยงสูงขึ้นเป็น 35 - 50% ที่อาจเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) จากทั้งมาตรการกีดกันทาง
การค้าการลงทุน และความไม่แน่นอนทางนโยบายที่เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้ภาคเอกชนชะลอการลงทุนบางส่วนออกไป

  SCB EIC ชี้ภาษีทรัมป์ กดจีดีพีไทยเหลือ 1.5% แนะไทยเร่งเจรจาทางออก

สำหรับเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจเติบโตต่ำลงมากเหลือเพียง 1.3% (ลดจาก 2.8% 2024) ผลจากนโยบายกำแพงกางภาษีของตนเองซึ่งจะโตต่ำกว่าศักยภาพที่ 2% สำหรับจีบจีนมีแนวโน้มขยายตัว 4.1% (ลดจาก 5% ปี 2024) ผลจากมาตรการกิดกันการค้าที่รุนแรงและปัญหาเชิงโครงสร้างในประเทศ 

ขณะที่เศรษฐกิจไทยปีนี้ SCB EIC ประเมินว่า จะขยายตัวเหลือ 1.5%YOYOY จากการประกาศขึ้นภาษีชุดใหญ่ของสหรัฐฯ
และเหตุการณ์แผ่นดินไหวล่าสุด (เดิม 2.4%YOV) โดย SCB EIC มองว่า เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังจะแผ่วลงอย่างมาก
จากมาตรการภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ ที่จะเริ่มมีผลเดือน ก.ค.

  SCB EIC ชี้ภาษีทรัมป์ กดจีดีพีไทยเหลือ 1.5% แนะไทยเร่งเจรจาทางออก

อย่างไรก็ดี การประกาศขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ที่เปลี่ยนไปมาเช่นนี้ จะมีผลให้ธุรกิจซะลอการลงทุนทันที เพื่อรอดูความชัดเจนของรัฐบาลสหรัฐฯ อีกครั้ง ในการปรับคาดการณ์เศรษฐกิจลงครั้งนี้ ปัจจัยสำคัญมาจากการส่งออกสินค้าและการลงทุนเอกชนที่ปรับแย่ลง

  • มูลค่าการส่งออกสินค้า (รวมทองคำ) คาดว่าจะหดตัว -0.7%YOY (เดิม 1.6%YOY) โดยจะมีแนวโน้มหดตัว แต่ไตรมาส 2 จากผลของภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยเฉพาะหมวดอิเงกทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และปิโตรเคมี

มูลค่าส่งออกไทยทั้งปีอาจดูหดตัวไม่มาก แม้ไทยจะได้รับผลกระทบรุนแรงจากมาตรการภาษีสหรัฐฯ สาเหตุหลัก

  1. มูลค่าการส่งออกในช่วง 2 เดือนแรกของปีที่ออกมาแล้ว เติบโตดีเกือบ 14%YOY
  2. มูลค่าการส่งออกทองขยายตัวสูงตามราคาทองคำ
  • การลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะยังไม่ฟื้นในปีนี้ มองขยายตัวเพียง 0.3%YOY (เดิม 2.9%YOY) จากที่หดตัวในปีก่อน ผลจากความไม่แน่นอนของนโยบายสหรัฐฯ ที่สูงขึ้นมาก ธุรกิจต่างชาติอาจต้องรอดูท่าทีรัฐบาลสหรัฐฯต่ออาเซียนและไทย รวมถึงผลการเจรจาของรัฐบาลไทย

ความไม่แน่นอนเหล่านี้จะชะลอการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากจีน ที่เคยมองว่าจะเป็นแรงขับเคลื่อนการลงทุนภาคเอกชนที่สำคัญในปีนี้ ขณะที่การลงทุนจากธุรกิจในประเทศ โดยเฉพาะการก่อสร้าง และการลงทุนในยานพาหนะเชิงพาณิชย์จะยังคงชบเขา ส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนไทยฟื้นตัวไม่ได้ในปีนี้

องค์ประกอบอื่น ๆ ของเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบทางอ้อมจากมาตรการภาษีสหรัฐฯ เช่นกัน

  • การท่องเที่ยว ปรับลดประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปีนี้ลง 1.5 ล้านคนเหลือ 36.7 ล้านคน ตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง ส่งผลให้อุปสงค์การท่องเที่ยวไทยลดลดลงตาม
  • การบริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวเหลือ 2.2%YOY (เดิม 2.6%YOY) ตามการปรับลดลงของรายได้ของลูกจ้างในธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีสหรัฐฯ รวมถึงความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับลดลดลง ภาพการบริโภคภาคเอกชนในปีนี้จะยังขยายตัวได้ระดับหนึ่งจากมาตรการกระตุ้นภาครัฐ ที่จะยังมีต่อเนื่อง
  • มูลค่าการนำเข้าสินค้า คาดจะขยายตัวเหลือ 0.9%YOY แม้อุปสงค์ในประเทศจะปรับลดลง แต่มองว่าการ ทะลักเข้ามาของสินค้าจีน ทั้งวัตถุดิบ สินค้าขั้นกลาง และสินค้าบริโภคอาจรุนแรงขึ้น

ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยจะเผชิญความไม่แน่นอนที่สูงขึ้นมากในระยะช้างหน้า โดยเฉพาะจากนโยบายภาษีนำเข้าของ
สหรัฐฯ ที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอด ขึ้นอยู่กับความสำเร็จและระยะเวลาในการเจรจาต่อรองของรัฐบาลไทยเป็นหลัก

รัฐบาลควรเร่งเจรจากับสหรัฐฯ เริ่มจาก 3 ประเด็นหลักตามรายงานอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ และเร่งสร้างความเข้มแข็งภายในประเทศศควบคู่กันไป
ประเทศไทยจึงควรให้ความสำคัญเร่งเจรจาลดผลกระทบครั้งนี้ โดยอาจเน้นจาก 3 ประเด็นหลักของไทย ซึ่งสะท้อนได้จากรายงานอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศของ United States Trade Representative (USTR) เผยแพร่เดือนมีนาคม 2025 ได้แก่

  1. ลดการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ โดยนำเข้าสินค้าบางประเภทจากสหรัฐฯ มากขึ้น หรือ ลดอัตราภาษีนำเข้าบางสินค้าของสหรัฐฯ
  2. ลดมาตรการกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษี เช่น เกณฑ์ห้ามนำเข้าสินค้าบางชนิด เกณฑ์มาตรฐานสินค้าเกษตร
  3. แก้ไขปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อสหรัฐฯ และไทยเองก็ได้ประโยชน์ด้วย เช่น การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิเสรีภาพของแรงงาน ตลอดจนการพิจารณาลงทุนเพิ่มเติมในสหรัฐฯ