นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ MTL เปิดเผยว่า กรณีการกำหนดหลักเกณฑ์การให้มีค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) ของสัญญาประกันภัยสุขภาพนั้น ในส่วนของเมืองไทยประกันชีวิต จะมีการบังคับใช้ Copayment ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2568
โดยเกณฑ์ใหม่ดังกล่าวจะมีผลเฉพาะกับลูกค้าใหม่ และกรมธรรม์ใหม่เท่านั้น ซึ่งไม่ได้มีผลต่อลูกค้าเก่า และ กรมธรรม์เก่าแต่อย่างใด ในส่วนของรายละเอียดอาจต้องรอทางนายกสมาคมประกันชีวิตไทย (TLAA) แถลงข่าวในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568
ในส่วนของการดำเนินงานในปี 2567 ของเมืองไทยประกันชีวิตนั้น บริษัทมีเบี้ยประกันภัยรับรวมกว่า 71,800 ล้านบาท หรือ เติบโต 13% ซึ่งเป็นการเติบโตในกลุ่มสินค้าหลัก เช่น Shield Life (ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ ประกันชีวิตแบบภายในระยะเวลา และประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์) เติบโต 42%
และแบบประกันคุ้มครองโรคร้ายแรง (รายเดี่ยว) เติบโต 24% ทางด้านคะแนน NPS (Net Promoter Score) สูงขึ้นจาก 58 คะแนน เป็น 75 คะแนน
ขณะที่ธุรกิจในแถบ CLMV ยังมีผลการดำเนินงานที่โดดเด่นอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทมีนโยบายมุ่งเติบโตสู่ระดับภูมิภาค (Go regional) ปัจจุบันมีการขยายการลงทุนไปที่การเข้าถือหุ้นใน 2 บริษัทประกันภัยของกัมพูชา ครอบคลุมธุรกิจประกันชีวิต และประกันวินาศภัย โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 2 ของอุตสาหกรรม
พร้อมกันนี้ บริษัทยังมีการร่วมทุนในบริษัท ST-Muang Thai Insurance ใน สปป.ลาว ประกอบธุรกิจได้ทั้งประกันชีวิต และ ประกันวินาศภัย โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 ของอุตสาหกรรม สำหรับเวียดนามได้ร่วมทุนในบริษัท MB Ageas Life โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 2 ของอุตสาหกรรม
ด้านอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน ณ สิ้นปี 2567 นั้น อยู่ที่มากกว่า 350% สูงกว่าระดับเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามเกณฑ์ที่หน่วยงานกำกับดูแลกำหนดที่ 140% บริษัทได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ และ ความแข็งแกร่งทางการเงินจาก S&P Global Ratings ที่ระดับ BBB+ (Stable Outlook) และ Fitch Ratings ที่ระดับ A และ AAA(tha) (Stable Outlook)
ในปี 2568 นี้ เมืองไทยประกันชีวิตยังคงตอกย้ำตัวตนในการเป็นแบรนด์แห่งการสร้างความสุข และ รอยยิ้มที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง พร้อมยกระดับการส่งมอบความสุขผ่านกลยุทธ์ "Boost Your Happiness by Our People" บูสท์ความสุขของคุณด้วยคนของเมืองไทยประกันชีวิต ด้วยการเดินหน้าพัฒนาองค์กรในทุกภาคส่วน
โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ การส่งมอบความสุขให้กับลูกค้าทุกท่าน ด้วยความเป็นมืออาชีพ (Professionalism & Expertise) ความโปร่งใส และ ความสะดวกสบาย (Transparency & Convenience) และความไว้วางใจ (Commitment & Trust) ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ในทุกช่วงชีวิต ประสบการณ์การบริการแบบไร้รอยต่อ (Seamless Experience) และคำมั่นสัญญาตลอดชีวิต (Lifelong Commitment) ผสานกันอย่างลงตัวเพื่อตอบโจทย์ในทุกความเป็นคุณ
ประกอบกับบริษัทเดินหน้าพัฒนาองค์กรทุกภาคส่วนด้วยการพัฒนาพนักงาน และ ฝ่ายขายให้มีความสามารถรอบด้าน เพิ่มทักษะการใช้ข้อมูล และ ปัญญาประดิษฐ์ผสมผสานอยู่ในทุกกระบวนการทำงาน (Data & Al Literacy) ทักษะด้านการสื่อสารและการบริหาร (Soft Skills) ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Expert Knowledge) และ ความเชี่ยวชาญในหลายมิติ (Cross-Domain Expert Knowledge) ควบคู่ไปกับสร้างความสุขจากภายในองค์กรให้กับ “คนของเรา” ที่มีความหลากหลายให้ทำงานร่วมกันได้อย่างลงตัว
โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ การส่งมอบความสุขให้กับลูกค้าคนสำคัญ ซึ่งคนของเราพร้อมส่งมอบความสุขให้แก่ลูกค้าผ่านการวางแผนสำหรับทุกช่วงของชีวิต ทั้งการวางแผนทางการเงิน การวางแผนเกษียณ การวางแผนสุขภาพ และ การวางแผนมรดก ด้วยความคุ้มครองที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต ประกันชีวิตแบบบำนาญ ประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง ประกันอุบัติเหตุ และ ประกันชีวิตควบการลงทุน รวมถึงฟีเจอร์พิเศษทั้งความยืดหยุ่นด้วยรูปแบบความ คุ้มครองที่ปรับแต่งได้ (Modular Design) ความคุ้มครองที่ปรับได้ตามช่วงชีวิตของลูกค้า (Convertible Option) และ การเติมเต็มความคุ้มครองที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น (Plus)
อย่างไรก็ตาม คนของเราพร้อมส่งต่อประสบการณ์ไร้รอยต่อผ่านบริการในของทางต่าง ๆ ตั้งแต่การซื้อประกันภัยที่สามารถเข้าถึงได้ทุกคนได้ทุกที่ทุกเวลา ทั้งช่องทางตัวแทน ช่องทางธนาคาร ช่องทางการขายผ่านโทรศัพท์ ช่องทางออนไลน์ และ พาร์ทเนอร์ต่าง ๆ รวมถึงการให้บริการที่ครบวงจร และ เข้าถึงได้ง่ายไม่ว่าจะเป็นช่องทางสาขา Call Center 1766 แอปพลิเคชัน MTL Click เมืองไทยสไมล์คลับ และ MTL Fit เป็นต้น นอกจากนี้ ลูกค้ายังจะได้รับความสะดวกสบายด้วยการทำธุรกรรมทางกรมธรรม์ และ บริการหลังการขาย ไม่ว่าจะเป็นระบบ e-Payment หรือ e-Document เป็นต้น
"ธุรกิจประกันชีวิตเป็นธุรกิจที่ให้ความคุ้มครองแก่ลูกค้าในระยะยาว ดังนั้น เมืองไทย ประกันชีวิต จึงให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในทุกก้าว ภายใต้การกำกับดูแลกิจการ และ การบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงการสร้างสมดุลทั้งในมิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และ มิติบรรษัทภิบาล (ESG) โดยเฉพาะในส่วนของมิติสังคม บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าในการพัฒนาแบบประกันภัยที่ช่วยตอบโจทย์การเข้าถึงได้ของประกันชีวิตให้กับทุกคน (Democratize Insurance) พร้อมสร้างความรู้ด้านการวางแผนการเงิน และ ประกันภัย (Financial & Insurance Literacy) ให้กับประชาชนทั่วไป และ การสนับสนุนกิจกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน"
ด้านมิติสิ่งแวดล้อม เมืองไทยประกันชีวิต ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก ได้ร่วมสนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนผ่านโลกของเราประกาศความมุ่งมั่นในการปลอยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Commitment) ด้วยเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์จากการดำเนินงานของบริษัทฯ (ขอบแขตที่ 1 และ 2)” ภายในปี 2573 (2030) ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินงานภายในบริษัท