"ผยง" เปิด 4 แนวทางขับเคลื่อนสถาบันการเงินใน 3 ปีมุ่งเชื่อมโยง-ลดเหลื่อมล้ำ

13 ก.ย. 2564 | 16:47 น.
อัปเดตล่าสุด :13 ก.ย. 2564 | 23:57 น.

สมาคมธนาคารไทยเดินหน้า 4 แนวทางแนวทางขับเคลื่อนสถาบันการเงินระยะ 3 ปีรับการเปลี่ยนแปลง มุ่งเชื่อมโยง ทำงานร่วมกัน ลดความเหลื่อมล้ำ ให้ความสำคัญทรัพยากรบุคคล ระบุแจ้ง ธปท. เรียบร้อย

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยในงาน "THAILAND NEXT The Future of Financial System อนาคตโลกการเงิน" ภายใต้หัวข้อ "อนาคตสถาบันการเงินไทย" ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ว่า ขณะนี้สมาคมธนาคารไทยได้ดำเนินงาน 4 แนวทาง ประกอบด้วย
1.การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับประเทศ โดยจะเร่งดำเนินการเรื่องของการพัฒนาโครงสร้าง Digital platform ซึ่งเป็นพื้นฐานของระบบทางการเงินให้มีการเชื่อมโยง รวมถึงมีการสอดประสาน มีการทำงานร่วมกัน (Synergy)ที่ไม่ซ้ำซ้อนและสามารถที่จะต่อยอดได้  สิ่งที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ คือ ระบบ Check Clearing ที่จะรับระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (Imaged Cheque Clearing and Archive System : ICAS) เข้ามาดำเนินการในเรื่องของ Thailand Smart financial infrastructure ที่อยู่ระหว่างการร่วมผลักดันกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบบการยืนยันตัวตนแบบดิจิตอล ระบบ e-signature 
รวมไปถึงการเร่งประสานกับ ธปท. และหน่วยงานภาครัฐอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการวางกรอบมาตรฐานและโครงสร้างในการสนับสนุนระบบ Open Banking ให้เกิดการต่อยอดการแข่งขันที่เป็นธรรมและมีความเท่าเทียมกันทั้งกลุ่มผู้ประกอบการธนาคาร และผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank) อีกทั้งยังมีการให้ความสำคัญกับเรื่องการบริหารความเสี่ยงเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลรวมไปจนถึงความเสี่ยงทางไซเบอร์ (Cyber Risk) ให้ปลอดภัยทั้งกับระบบของธนาคารเองและกับความปลอดภัยของประชาชนและผู้บริโภค

2.การพยายามผลักดันให้ระบบการเงินของประเทศเป็นผู้นำระดับภูมิภาคโดยเฉพาะในพื้นที่ CLMV ที่มีขอบเขตที่ติดกับประเทศไทยและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกันอย่างมากมาย  การเชื่อมโยงโครงสร้างระบบทางการเงินที่เรียกว่าเป็นการทำงานร่วมกัน (interoperability)

รวมถึงระบบสกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติ (CBDC)ให้สามารถมีกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบการเงินของภูมิภาคได้อย่างไร โดยอุปสรรคและรอยต่อทั้งหมดอยู่ระหว่างการร่วมผลักดันกับ ธปท. ซึ่งหวังว่าจะเป็นการต่อยอดจาก e-money ที่มีการดำเนินกิจการอยู่ในปัจจุบัน

ผยง ศรีวณิช
3.การตอบโจทย์เรื่องการพักชำระหนี้ โดยภาคธนาคารมีเป้าหมายชัดเจนทั้งในด้านตัวชี้วัดและเงื่อนเวลา (Timeline) ที่จะส่งมอบและร่วมที่จะตอบโจทย์การเข้าถึงการทำงานร่วมกันกับการบริการทางการเงิน และการร่วมกันแก้ปัญหาเรื่องหนี้ครัวเรือน โดยให้ความรู้ ให้โอกาสร่วมกันพัฒนาการนำระบบ Credit scoring ทางเลือกมาใช้ โดยมองภาพอนาคตและการใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์มากขึ้นกว่ารูปแบบเดิม กว่าที่ใช้ข้อมูลในอดีตเป็นสำคัญ

และสามารถที่จะนำข้อมูลอื่น เช่น พฤติกรรมการใช้น้ำและไฟมาประกอบได้โดยที่การดูภาระหนี้ของลูกหนี้ก็พยายามผลักดันให้ดูให้ครบ ทั้งในระบบสถาบันการเงิน รวมถึงหนี้ในระบบ Non-Bank รวมไปจนถึงหนี้สหกรณ์ให้ครบ เพื่อจะสามารถแก้ปัญหาได้แบบเบ็ดเสร็จ และตอบโจทย์ผลักดันแบบไม่มีช่องว่างทั้งกฎระเบียบ  โดยสิ่งที่สำคัญคือมีประสิทธิผลกับลูกหนี้อย่างเป็นธรรม ยั่งยืน และไม่สร้างต้นทุนที่ไม่จำเป็นให้กับระบบหรือนำไปสู่การไม่ส่งเสริมให้เกิดวินัยทางการเงิน (moral hazard) อย่างที่เคยมีบทเรียนในอดีต

อย่างไรก็ดี ต้องพยายามให้ผู้ประกอบการรายเล็กได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนสะดวก มีต้นทุนที่เป็นธรรม เช่น ใบแจ้งค่าบริการทางอีเมลล์ โดยมีการสร้างมาตรฐานเรื่องการเชื่อมโยงคลังข้อมูลโดยใช้มาตรฐาน ISO 20022 เข้ามา  ให้ผู้ประกอบการรายใหญ่สามารถที่จะช่วยรายเล็กอำนวยความสะดวกในการเชื่อมโยงกับระบบการเปลี่ยนส่งข้อมูลกับภาครัฐมีมาตรฐานกลางของระบบการแจ้งค่าบริการผ่านทางอีเมลล์ ที่สามารถนำมากู้เงินในระบบ Credit market ที่มีมาตรฐาน เป็นต้น โดยมุ่งหวังที่จะลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ดูแลการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเราจะไม่สนับสนุนกิจการที่ทำลายสิ่งแวดล้อม
4.การให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล ในระบบของสถาบันการเงินเองมีความจำเป็นต้องดูแลบุคลากรของพวกเราเอง เสริมสร้างทักษะที่จะเปลี่ยนไปมากในบริบทของ Thailand next หรือ New Normal เพื่อตอบโจทย์และสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจต่อไปในระบบ information based economy เป็นตัวสำคัญในภาคระบบธนาคาร
"ทั้งหมดนี้อยู่ระหว่างความร่วมมือการปรับกระบวนทัศน์ขับเคลื่อนไปในอนาคตโดยพยายามที่จะเปลี่ยนจุดยืนของประเทศจากการที่เป็นผู้วิ่งตามเป็นการวิ่งนำแบบก้าวกระโดดต่อยอดจากอุตสาหกรรมที่เรามีศักยภาพไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาคอาหารเกษตรเทคโนโลยีชีวภาพ 
การแพทย์ การผลักดันอุตสาหกรรม s-curve ใหม่ตามนโยบายของรัฐบาลในการที่จะร่วมมือลดการกระจุกตัวของระบบเศรษฐกิจที่เดิมเน้นอยู่กับผู้เล่นรายใหญ่มาให้เป็นการเติบโตโดยที่มีการดูแลคนตัวเล็กให้การกระจายไปสู่ SMEe มีผลกับ GDP มากขึ้นเพื่อ    เพิ่มศักยภาพในการดูแลชีวิตของคนส่วนใหญ่และลดความเหลื่อมล้ำของคนไทยโดยองค์รวมไปพร้อมๆกันและไม่ให้เกิด Digital device ในสถานการณ์ที่อาจจะเกิด Digital disruption ในช่วงที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน"
ขณะเดียวกันก็พยายามที่จะเปลี่ยนจากเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรที่เหลื่อมล้ำไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลหรือที่เรียกว่า resource based economy ไปสู่ information based economy ด้วยการนำ Big Data มาใช้
ในการขับเคลื่อนระบบ Open Banking แบบที่มีการแข่งขันที่เป็นธรรม (Fair competition) กับผู้เล่นทุกรายทั้งสถาบันการเงิน และ Non-Bank บนการกำกับดูแลที่เท่าเทียมกันไปจนถึงการผลักดันทางเลือก credit scoring 
นอจกานี้ ยังมีเรื่องการเปลี่ยนจากความเปราะบางจากการมีภูมิคุ้มกัน การขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจโดยการยึด ESG เป็นสรณะทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อมสังคมและธรรมาภิบาลซึ่งทั้งหมดนี้สมาคมธนาคารไทยมีแผนขับเคลื่อนใน 3 ปีข้างหน้าชัดเจนมีเงื่อนเวลาและสามารถส่งมอบได้ (deliverable) ที่ได้หารือกันระหว่างธนาคารสมาชิกและได้มีการนำเรียนกับ ธปท. ไปแล้ว