อ่านประเด็นเศรษฐกิจจากสถานะแบงก์ไทย

06 ก.ย. 2564 | 15:39 น.
อัปเดตล่าสุด :06 ก.ย. 2564 | 23:27 น.

สถานการณ์กำไรสุทธิของระบบแบงก์ของไทยปัจจุบัน บางส่วนมาจากรายได้ดอกเบี้ยค้างรับตามสิทธิ์ ขณะที่แบงก์ไทยมีสถานะทางการเงินด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน และมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่า

สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กินระยะเวลาเกือบสองปี สะท้อนภาพหลายอย่างที่ทำให้ฝ่ายต่างๆ ต้องกลับมาขบคิด ทั้งภาพผลกระทบจากเฉพาะเหตุการณ์โควิดเอง รวมถึงภาพปัญหาที่สะสมไว้เดิมในแต่ละหน่วยเศรษฐกิจที่โควิดขยายปัญหาให้ใหญ่ขึ้น จนทำให้การลุกเดินหลังจากนี้จะต้องแก้ทั้งโจทย์เฉพาะหน้า และโจทย์ระยะกลางถึงยาว เพื่อให้สามารถก้าวได้อย่างมั่นคงและแข่งขันได้ในสนามแข่งขันที่จะไม่มีวันกลับไปเหมือนเดิม

หากย้อนกลับมามองธุรกิจธนาคารพาณิชย์ เพื่อใช้เป็นแว่นขยายที่มองย้อนกลับไปยังมิติของปัญหาลูกค้านั้น พบหลายประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

สถานการณ์กำไรสุทธิของระบบแบงก์ของไทยปัจจุบัน บางส่วนมาจากรายได้ดอกเบี้ยค้างรับตามสิทธิ์ ขณะที่แบงก์ไทยมีสถานะทางการเงินด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน และมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่า

•         แม้ภาพรวมธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ (ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในไทยและสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ) ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 จะรายงานกำไรสุทธิเฉลี่ยสูงกว่า 5 หมื่นล้านบาทต่อไตรมาส แต่ส่วนหนึ่งมาจากการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยตามสิทธิ์ ภายใต้มาตรฐานบัญชี TFRS9 ที่ไม่ได้มีเม็ดเงินจริงเข้ามา โดยเฉพาะจากหนี้ที่เข้ามาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินด้วยมาตรการพักหนี้ หรือมีปัญหาให้ไม่สามารถชำระเงินต้นและดอกเบี้ยได้ตามปกติ

 

 

ทั้งนี้ ภายใต้มาตรฐานบัญชีใหม่ดังกล่าวที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2563 นั้น ลูกหนี้ที่เผชิญปัญหาโควิดและขอรับความช่วยเหลือทางการเงินข้างต้น ธนาคารจะยังบันทึกบัญชีด้วยการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยดังกล่าวตาม ‘สิทธิ์ที่พึงได้รับ’ ซึ่งเกณฑ์นี้ ผนวกกับการปรับวิธีตัดชำระหนี้แบบแนวนอนที่ ธปท.ประกาศเมื่อเดือนตุลาคม 2563 (บังคับใช้กรกฎาคม 2564 โดยตัดค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย และเงินต้นของยอดค้างชำระที่เก่าที่สุดก่อน แล้วค่อยตัดยอดที่ค้างชำระลำดับถัดมา) ทำให้ดอกเบี้ยค้างรับของธนาคารจึงสูงกว่าตัวเลขดอกเบี้ยค้างรับตามวิธีคิดแบบเดิม 

 

ขณะที่ ปัจจุบัน เมื่อมีการปรับโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้และมีมาตรการพักชำระหนี้ ธนาคารจะเรียกเก็บหนี้ได้ในช่วงท้ายสัญญา นั่นหมายความว่า ระหว่างทาง ธนาคารจะถือดอกเบี้ยค้างรับไว้ โดยที่ไม่สามารถแน่ใจได้ว่าลูกหนี้จะจ่ายชำระได้จริงหรือไม่และมากน้อยเพียงใด เพียงแต่ภายใต้สถานการณ์เหล่านี้ ธนาคารสามารถพิจารณาความเสี่ยงเครดิตของลูกหนี้และตั้งสำรองหนี้ฯเพิ่มขึ้นได้ อันเป็นผลให้ที่ผ่านมา ระดับการตั้งสำรองของระบบธนาคารพาณิชย์จึงยังสูงกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19

 

ในเบื้องต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการประเมินผลจากการเปลี่ยนวิธีการบันทึกบัญชีมาเป็น TFRS9 ในปี 2563 และการรับรู้ดอกเบี้ยตามสิทธิ์จากหนี้ที่เข้ามาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินอันมีผลเพิ่มดอกเบี้ยค้างรับ (หักการตั้งสำรองฯ สะสมที่เพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนโควิดในปี 2562) อาจมีสัดส่วนไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิ บนสมมติฐานว่า อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของพอร์ตสินเชื่อที่เข้ามาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินกำหนดไว้ที่ประมาณ 3%

การลดลงของหนี้ที่เข้ามาตรการความช่วยเหลือทางการเงินที่ช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลต่อดอกเบี้ยค้างรับและการรับรู้ดอกเบี้ยรับตามสิทธิ์ โดยแม้มาตรฐานบัญชีสากลนี้บังคับใช้กับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เช่นกัน อาทิ มาเลเซีย และสิงคโปร์ แต่ความแตกต่างที่อาจทำให้ธนาคารไทยเสียเปรียบ คือ สัดส่วนลูกค้าเข้ามาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่สูงกว่าและลดลงช้ากว่า โดย ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 อยู่ที่ 15.4% เทียบกับของสิงคโปร์ที่ 3% (ม.ค.64) และมาเลเซียที่ 15% (ก.พ.64) ตามลำดับ 

อ่านประเด็นเศรษฐกิจจากสถานะแบงก์ไทย

 •ปัญหาที่ปรากฎขึ้นกับลูกหนี้ ยังกระทบต่อหนี้ด้อยคุณภาพของระบบธนาคารพาณิชย์ให้ด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างเช่นสิงคโปร์และมาเลเซีย ขณะที่ความสามารถในการทำกำไรที่วัดผ่านอัตรากำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) มีระดับต่ำกว่าประเทศเหล่านั้น เนื่องจากความกังวลต่อปัญหาคุณภาพหนี้ทำให้ยังต้องคงภาระการตั้งสำรองหนี้ฯ ในระดับสูง  เป็นสำคัญ

อ่านประเด็นเศรษฐกิจจากสถานะแบงก์ไทย

  • ด้วยสถานการณ์โควิดที่ทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า ธนาคาพาณิชย์หลายแห่งจึงง่วนอยู่กับกิจกรรมช่วยเหลือลูกค้าและดูแลประเด็น ณภาพหนี้ที่เกี่ยวข้อง จึงส่งผลตามมาให้ระบบธนาคารพาณิชย์คงเห็นทิศทางผลประกอบการที่ฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่นเช่นกัน โดยการเห็นตัวเลขที่กลับสู่ระดับก่อนโควิด คงยากจะเกิดขึ้นภายใน 1-2 ปีนี้ ขณะที่ ฝั่งสิงคโปร์ และสหรัฐฯ น่าจะเริ่มเห็นการฟื้นตัวของผลประกอบการที่กลับสู่ระดับก่อนโควิดแล้วในปี 2564

 

ดังนั้น การสะสมกำไรและเงินกองทุนของระบบธนาคารพาณิชย์ก็เป็นไปเพื่อรองรับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งจนถึงปัจจุบันนี้ ก็ยังไม่มีใครบอกได้แน่ชัดว่าปัญหาโควิดจะจบจริงหรือไม่และเมื่อใด

 

อ่านประเด็นเศรษฐกิจจากสถานะแบงก์ไทย

มีต่อ.......

อ่านฉบับเต็ม