กูรูคณิตศาสตร์ประกันภัยชี้ 5ความท้าทายธุรกิจประกันชีวิตและวินาศภัย

22 ส.ค. 2564 | 08:33 น.
อัปเดตล่าสุด :22 ส.ค. 2564 | 15:48 น.

กูรูคณิตศาสตร์ประกันภัยระบุโรคอุบัติใหม่ คือ สุขภาพ ระบุการเห็นคุณค่าประกันสุขภาพมากขึ้นหนุนการปรับตัวเพื่อรับมือ แนะกระจายและบริหารความเสี่ยงบนแบบจำลองคณิตศาสตร์ประกันภัย

สถานการณ์โควิด-19 ยังคงคร่าชีวิตคนเพิ่ม  ขณะที่จำนวนผู้ป่วยสะสมทะลุ 1ล้านคน(ตั้งแต่เมษายน2564) แม้จะมีผู้หายป่วยกลังบ้านำได้เพิ่มแต่ตัวเลขยังใกล้เคียงกับจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ท่ามกลางภาวะประเทศอยู่ในโหมดล็อคดาวน์ผลกระทบโควิดยังคงยืดเยื้อและลากยาวแค่ไหนยังไม่รู้จุดหมายปลายทาง

กูรูคณิตศาสตร์ประกันภัยชี้ 5ความท้าทายธุรกิจประกันชีวิตและวินาศภัย

ลองมาฟังความเห็นกูรูนักคณิตศาสตร์ประกันภัย “พิเชฐ เจียรมณีทวีสิน หรือ อาจารย์ทอมมี่” กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอคชัวเรียล บิสซิเนสโซลูชั่นหรือบริษัทABS  อดีตนายกสมาคมนักคณิตศาสตร์ประกันภัย สะท้อนความท้าทายธุรกิจประกันภัยและชีวิต 5อันดับ ได้แก่  1.ความน่าเชื่อถือ  2.ภาวการณ์ลงทุน ผู้บริโภคลงทุนในฐานะเจ้าหนี้...บริษัทไปลงทุนโดยจัดการความเสี่ยงในการลงทุนด้วย 3.การแข่งขันสูงผู้เล่นมากกว่า 50สูงกว่าต่องประเทศ เป็นประโยชน์ผู้บริโภค 4.แบบประกันอนาคต เป็นแมสไม่ได้ เน้นโปรเจ๊กแช็กเม้น กลุ่มแม่บ้าน คนงานก่อสร้าง ไม่ปูพรม 5.กฎกำกับต้องเข้มแข็งมากขึ้น ไม่งั้นจะกลับไปข้อหนึ่ง ,บุคลากรผู้เชี่ยวชาญควรจะต้องมียกระดับต่อเนื่องทันเหตุการณ์ เพียงพอและมากขึ้น

"อาจารย์ทอมมี่" มองแนวโน้ม New S-Curve ของธุรกิจประกันภัยและชีวิต ได้แก่   1.สุขภาพ พรีเวนทีฟแคร์ พฤติกรรมเชิงป้องกัน โดยต่างประแทศเริ่มมีแยก จะมีสุขภาพต่ำกว่า/สูงกว่ามาตรฐานซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้ค่าเบี้ยถูกลง  เห็นได้จากวินาศภัยลดเบี้ยไม่มีเคลม เมืองนอกมีคะแนนเป็นสมุดพก พร้อมนำเทคโนโลยีหรือดิจิทัลมาช่วย  รวมถึงลักษณะแรงจูงใจ 2.ลดระยะโกลเด้นพรีเรียด/นาทีทอง   เช่น เส้นเลือดสมองแตก   มีเครื่องมือเมดิคอลเทค บริษัทประกันเข้ามาช่วยบริหารความเสี่ยง  ระหว่างทางมีการนำไอที และดิจิทัลมาใช้ ลดการใช้กระดาษ และ3.ความเพียงของเงินกองทุน  หลักการเหมือนธนาคาร  โดยเฉพาะประกันชีวิตที่มีสะสมทรัพย์ TFRS17 ต่อไปจะนับยอดขายค่าธรรมเนียม(เซอร์วิสฟี) ค่าธรรมเนียมจากเบี้ยที่รับเข้ามา  (กำหนดใช้ 1มค. 2567)ซึ่งภาพรวมบริษัทประกันมีความพร้อมในระดับหนึ่ง

“ในแง่ของเงินกองทุนนั้น บริษัทจะบริหารด้านการลงทุนพร้อมทั้งต้นทุนซึ่งจะมีผลต่อความเสี่ยงขั้นต่ำฝั่งหนี้สิน/ต้นทุนเคลมจะเป็นเท่าไรต้องวางแผนโปรดักส  และกระจายกลุ่มเป้าหมาย”

 

ด้านผลกระทบต่อบริษัทประกันต่อการยอดประกันโควิดนั้น "อาจารย์ทอมมี่"ระบุว่า ถ้าจะให้เปรียบเทียบก็คือ บริษัทประกันภัยก็เหมือนกับขายปลีก ส่วนบริษัทประกันภัยต่อก็เหมือนกับขายส่ง ดังนั้น ยอดขายของบริษัทประกันภัยจริงๆ แล้วไม่สำคัญเท่ากับยอดที่บริษัทประกันภัยไปซื้อประกันภัยต่อออกไปอีก ซึ่งเป็นความลับของบริษัทประกันแต่ละแห่งว่าไปซื้อประกันภัยต่อจากที่ไหนและเท่าไรบ้าง ซึ่งบางบริษัทประกันภัยอาจจะไม่ได้ซื้อประกันภัยต่อไว้รองรับเลยก็ได้ ถ้ามองว่าต้องการเก็บกำไรไว้ฝั่งเดียว

อย่างไรก็ตาม ปี 2563 ดูเหมือนว่าจะมีกำไรจากประกันโควิด แต่เป็นปีที่ส่งเบี้ยประกันภัยต่อออกไปเยอะ และรับเองไว้ค่อนข้างน้อย เช่น บริษัทประกันอาจจะรับเบี้ยประกันโควิดมา 100 บาท ก็จะส่งต่อไปให้บริษัทประกันภัยต่อ 80 บาท และรับไว้เองแค่ 20 บาทเป็นต้น

 

ทั้งนี้ขึ้นกับข้อตกลงระหว่างบริษัทประกันกับบริษัทประกันภัยต่อ  ซึ่งในตอนที่ WHO ยังไม่ได้ประกาศว่าโควิดเป็นโรคระบาดระดับโลกนั้น ก็ยังมีบริษัทประกันภัยต่อรับอยู่เป็นจำนวนมาก แต่เมื่อ WHO ยกระดับภัยเสี่ยงขึ้นมาแล้ว บริษัทประกันภัยต่อหลายแห่งทั่วโลกก็หยุดรับประกันภัยต่อไปก่อนหน้านั้น เบี้ยประกันโควิดในปี 2564 ส่วนใหญ่จึงเป็นการรับความเสี่ยงของบริษัทประกันภัยมาเต็มๆ

ขณะที่ เบี้ยประกันโควิดตั้งแต่ที่เริ่มขายมาจะอยู่ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท แต่คำถามคือบริษัทประกันภัยได้ส่งต่อเบี้ยประกันภัยออกไปให้บริษัทประกันภัยต่อไปเท่าไร และได้ผ่องถ่ายความเสี่ยงของภาระต้นทุนค่าเคลมไปที่บริษัทประกันภัยต่อได้มากน้อยแค่ไหน

“จากมุมมองส่วนตัวของผมนั้น จะเห็นว่าบริษัทประกันไม่ได้มีกำไรอย่างที่คิด เพราะปี 2563 ที่มีกำไร ก็แบ่งให้ประกันภัยต่อไปส่วนใหญ่ ส่วนปี 2564 ที่เป็นปีที่ขาดทุนกลับแบกความเสี่ยงไว้เองเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น    เคลมในปี 2564 นั้น จะวิ่งสูงและทวีคูณมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยปัจจัยรอบด้านที่ไม่มีลิมิต          

ในการคำนวณต้นทุนของล็อตเตอรี่นั้น เรายังใช้สถิติและกฎความน่าจะเป็นได้ว่าต้นทุนอยู่ที่เท่าไร แต่ประกันโควิดนั้นไม่สามารถคำนวณต้นทุนที่แท้จริงได้ เพราะนำสถิติที่มีมาใช้ไม่ได้ และตัวแปรในอนาคตนั้นมันผันผวนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะปัจจัยที่เกิดจากมนุษย์”

ต่อข้อถามถึงมุมมองโรคอุบัติใหม่ที่จะส่งผลต่อธุรกิจประกัน "อาจารย์ทอมมี่"กล่าวว่า โรคที่อุบัติใหม่นี้เป็น emerging risk ซึ่งเป็นความเสี่ยงใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยเฉพาะโรคระบาดที่เกิดขึ้นแบบ 100 ปี ไม่ใช่แบบ 10 ปีมีขึ้นทีหนึ่ง จะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ และแบบจำลองน่าจะซับซ้อนกว่าสมัยประกันน้ำท่วมด้วยซ้ำ เพราะน้ำท่วมยังมีสถิติอยู่บ้าง อย่างไรก็ตามโรคอุบัติใหม่  ก็คือ สุขภาพ (แหละ) เพียงแต่ไม่ขายโรคอุบัติใหม่เฉพาะ

ในอีกมุมหนึ่ง ความต้องการในประกันสุขภาพจะมีมากขึ้น ซึ่งเราจะเห็นคุณค่าของมันมากขึ้น ทำให้การปรับตัวเพื่อรับมือนั้นสามารถทำได้โดย การกระจายความเสี่ยง โดยใช้หลักการออกแบบประกันให้แพคเกจผลประโยชน์ให้กระจายกันออกไป, การพิจารณารับประกัน,การประกันภัยต่อเพื่อบริหารความเสี่ยงและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ประกันภัย