ธปท.“ยืดหยุ่นการจัดชั้น-ลดเงินนำส่งFIDF"จูงใจแบงก์ปรับโครงสร้างหนี้

20 ส.ค. 2564 | 19:47 น.
อัปเดตล่าสุด :21 ส.ค. 2564 | 03:45 น.

ธปท.ยืดหยุ่นการจัดชั้นหนี้พร้อมขยายเวลาลดเงินนำส่งFIDFเป็นกระสุนที่ 2 หนุนแบงก์ปรับโครงสร้างหนี้ แจงบอร์ดกนส.ออกมาตรการช่วยเอสเอ็มอี รายย่อย "ขยับวงเงินสินเชื่อฟื้นฟู-ค้ำประกันกลุ่มเปราะบางเพิ่มวงเงินบัตรเครดิต-สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ  ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยรุนแรงขึ้น การฟื้นตัวจะช้าออกไปและไม่เท่าเทียมกันในแต่ละภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคบริการและการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบหนัก รายได้และการจ้างงานที่ลดลงส่งผลซ้ำเติมฐานะการเงินที่เปราะบางของธุรกิจและครัวเรือน

ดังนั้น เพื่อให้มาตรการทางการเงินช่วยบรรเทาผลกระทบได้มากขึ้นในระหว่างที่ต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุข ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2564 จึงมีมติอนุมัติมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มเติม

ธปท.“ยืดหยุ่นการจัดชั้น-ลดเงินนำส่งFIDF\"จูงใจแบงก์ปรับโครงสร้างหนี้

ธปท.“ยืดหยุ่นการจัดชั้น-ลดเงินนำส่งFIDF\"จูงใจแบงก์ปรับโครงสร้างหนี้

นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายและกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า  มาตรการที่คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.)มีมติออกมาเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มเติมนั้น   แบ่งเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย  1.มาตรการรักษาสภาพคล่องและเติมเงินใหม่ให้กับลูกหนี้เอสเอ็มอี และรายย่อย   และ 2.การแก้ไขหนี้เดิมให้เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันและช่วยเหลือลูกหนี้ได้จริง  

สำหรับการรักษาสภาพคล่องและเติมเงินใหม่ให้กับลูกหนี้ SMEs และรายย่อย  ได้แก่  1.การปรับปรุงหลักเกณฑ์สินเชื่อฟื้นฟูสำหรับลูกหนี้ SMEs โดยขยายวงเงินสินเชื่อหนี้ใหม่ จากเดิมวงเงินไม่เกิน 20 ล้านบาท (รวมวงเงินทุกสถาบันการเงิน) ขยับเป็นไม่เกิน 50 ล้านบาท ขณะที่ ลูกหนี้รายเก่าให้ 30% ของวงเงินแต่ละสถาบัน ไม่เกิน 150 ล้านบาท ขยับเป็นวงเงิน 30% ของวงเงินแต่ละสถาบันไม่เกิน 150 ล้านบาท หรือสูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาท สำหรับลูกหนี้ที่ 30% ของวงเงินเดิมไม่ถึง 50 ล้านบาท

ธปท.“ยืดหยุ่นการจัดชั้น-ลดเงินนำส่งFIDF\"จูงใจแบงก์ปรับโครงสร้างหนี้

ขณะเดียวกันเพื่อรองรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นได้ปรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการค้ำประกันโดยปรับลดค่าธรรมเนียมในการค้ำประกันรวม โดยเลื่อนชดเชยในช่วง 2ปีแรก  จากเดิมกระทรวงการคลังจะชดเชยในช่วงปีท้ายๆ  และจะมีเพิ่มสัดส่วนการค้ำประกันลูกหนี้กลุ่มเปราะบางซึ่งกระทรวงการคลังและบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมหรือบสย.จะพิจารณาออกเกณฑ์ใหม่ในเดือนหน้า

ธปท.“ยืดหยุ่นการจัดชั้น-ลดเงินนำส่งFIDF\"จูงใจแบงก์ปรับโครงสร้างหนี้

 

 

 

ในส่วนของมาตรการเพื่อรักษาสภาพคล่องเดิมและเติมเงินใหม่แก่ลูกหนี้รายย่อยเพื่อบรรเทาภาระการจ่ายชำระหนี้และเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ลูกหนี้ที่มีความสามารถในการชำระหนี้เป็นการชั่วคราว ในส่วนของบัตรเครดิตให้คงอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำที่ 5% ต่อไปถึงวันที่ 31ธันวาคม 2565(เดิมกำหนดที่ 8%) 

ธปท.“ยืดหยุ่นการจัดชั้น-ลดเงินนำส่งFIDF\"จูงใจแบงก์ปรับโครงสร้างหนี้

นอกจากนี้ได้ขยายเพดานวงเงินบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลกลุ่มที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาทเป็นไม่เกิน 2 เท่าของรายได้และไม่จำกัดจำนวนผู้ให้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ  กรณีสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลขยายเพดานวงเงินเป็นรายละไม่เกิน 40,000 บาทต่อรายจากเดิมอยู่ที่ 20,000และขยายระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 12 เดือนจากเดิมกำหนดไว้ที่ 6 เดือน

2. การแก้ไขหนี้เดิมให้เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันและช่วยเหลือลูกหนี้ได้จริง  ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ธปท. จึงส่งเสริมให้เกิดการแก้ไขหนี้เดิมอย่างยั่งยืน โดยเน้นให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แบบระยะยาว และคำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้ (1) มองสถานการณ์ระยะยาว โดยกำหนดการจ่ายคืนหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้ปัจจุบันที่ลดลงมากและทยอยจ่ายเพิ่มขึ้นเมื่อรายได้กลับมา (2) สามารถช่วยลูกหนี้จำนวนมากได้เร็ว (3) ตรงจุดให้เหมาะกับ ปัญหาของลูกหนี้แต่ละรายที่มีปัญหาและการฟื้นตัวต่างกัน (4) เป็นธรรมกับทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ เพื่อให้ทุกฝ่ายผ่านความยากลำบากไปด้วยกัน นอกจากนี้ ต้องไม่สร้างแรงจูงใจที่ไม่เหมาะสม (moral hazard) ให้กับลูกหนี้ที่ไม่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้ความช่วยเหลือไปสู่กลุ่มลูกหนี้ที่เป็นเป้าหมายที่แท้จริงอย่างได้ผล และรักษาสมดุลและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินโดยรวม

ทั้งนี้ ธปท.ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพื่อให้กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นไปตามเจตนารมณ์ โดย 2.1  สถาบันการเงินสามารถคงการจัดชั้นสำหรับลูกหนี้รายย่อย และ SMEs (ตามนิยามของสถาบันการเงิน) ที่เข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว ได้จนถึง 31 มีนาคม 2565 เพื่อเอื้อให้สถาบันการเงินและลูกหนี้มีเวลาเพียงพอในการพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิผลในระยะยาว 

 

2.2  การใช้หลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสำรองอย่างยืดหยุ่นไปจนถึงสิ้นปี 2566 เพื่อลดภาระต้นทุนสำหรับสถาบันการเงินที่ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อย่างยั่งยืน หากช่วยเหลือลูกหนี้นอกเหนือจากการขยายเวลาการชำระหนี้เพียงอย่างเดียว เช่น เปลี่ยนสินเชื่อระยะสั้นเป็นระยะยาว หรือ การปรับโครงสร้างหนี้ที่มีการให้สินเชื่อเพิ่มเติมแก่ลูกหนี้ 

2.3  การขยายระยะเวลาปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุน FIDF เหลือ 0.23% จาก  0.46% ต่อปี ที่จะสิ้นสุดสิ้นปี 2564 นี้ ออกไปจนถึงสิ้นปี 2565 เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถส่งผ่านต้นทุนที่ลดลงไปในการบรรเทาผลกระทบต่อภาคธุรกิจและประชาชนได้อย่างต่อเนื่องภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ที่ยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง

ธปท.“ยืดหยุ่นการจัดชั้น-ลดเงินนำส่งFIDF\"จูงใจแบงก์ปรับโครงสร้างหนี้

ทั้งนี้ แรงจูงใจและเครื่องมือสำคัญที่ธปท.ให้สถาบันการเงินหลักๆ คือ ยืดหยุ่นการจัดชั้นหนี้  ส่วนการขยายเวลาลดอัตราเงินนำส่งกองทุนFIDFเป็นกระสุนที่สอง  หากคำนวณจากฐานเงินฝากตกประมาณ 3หมื่นล้านบาทต่อปี  ซึ่งธปท.ต้องการให้แบงก์ส่งผ่านความช่วยเหลือนี้แก่ลูกค้า  ที่ผ่านมาสามารถทำได้ดี โดยเฉพาะแบงก์ที่มีลูกค้ารายย่อยเยอะๆ ส่วนใหญ่จะเป็นการส่งผ่านโดยการลดอัตราดอกเบี้ย  ซึ่งธปท.ให้สถาบันการเงินทำรายงานทุก 3เดือน