ธปท.เปิดผลศึกษา Retail CBDCต่อภาคการเงินไทย

19 ส.ค. 2564 | 22:25 น.
อัปเดตล่าสุด :20 ส.ค. 2564 | 14:11 น.

Retail CBDCประโยชน์ผู้ใช้งานเป็นทางเลือกเงินสดดิจิทัลมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยสูง ภาคธุรกิจสามารถเชื่อมโยงผู้ให้บริการหลากหลาย ป้องกันการผูกขาดบริการเพย์เม้นต์ และยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศรองรับเศรษฐกิจดิจิทัล- เพิ่มประสิทธิผลนโยบายรัฐตรงจุดลดรั่วไหล

ธปท.เปิดผลศึกษา Retail CBDCต่อภาคการเงินไทย

 

นางสาววชิรา อารมย์ดี ผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้ช่วยผู้ว่าการ) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในงาน Media Briefing เรื่อง “สกุลเงินดิจิทัลสำหรับประชาชน (Retail CBDC) ที่ออกโดย ธปท. โดยระบุว่าการศึกษาถึงผลกระทบ Retail CBDC ต่อภาคการเงินไทยพบว่า  ผลประโยชน์จากการใช้สกุลเงิน Retail CBDC สำหรับประชาชนในฐานะผู้ใช้งาน เป็นทางเลือกและเพิ่มการเข้าถึงนวตกรรม โดยสามารถทดแทนเงินสด หรือเงินอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-moneyได้บางส่วน  เมื่อเทียบ Stable Coin พบว่า Retail CBDCสามารถแข่งขันได้ในมิติของต้นทุนที่ต่ำกว่าในการทำธุรกรรม และได้รับการยอมรับในการแลกเปลี่ยนอย่างกว้างขวาง

ธปท.เปิดผลศึกษา Retail CBDCต่อภาคการเงินไทย

 แต่Retail CBDCไม่สามารถทดแทนสื่อการชำระเงินอื่นได้อย่างสมบูรณ์  เพราะสื่อการชำระเงินแต่ละประเภทต่างมีจุดแข็งที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้  เช่น  เงินสด ประชากรบางกลุ่มต้องการปกปิดตัวตนในการทำธุรกรรม ,กลุ่มที่ไม่คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีทางการเงินใหม่ ๆ  ส่วน e-money มีจุดแข็งด้านการเข้าถึงบริการเสริม เช่น บริการทางการเงินและสิทธิประโยชน์ทางการตลาดของผู้ออก e-money ขณะที่เช็คที่ใช้ผ่านบัญชีเงินฝากกระแสรายวันจะมีข้อได้เปรียบด้านกฎหมาย โดยได้รับการคุ้มครองภายใต้ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 รวมถึงการพัฒนาดิจิทัลเช็คจะช่วยตอบโจทย์ผู้ใช้งานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ธปท.เปิดผลศึกษา Retail CBDCต่อภาคการเงินไทย

 

 

โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ต โมบายแบงก์กิ้งที่ผูกกับบัญชีเงินฝากทั่วไปที่ใช้กับพร้อมเพย์  ปัจจุบันเงินบาทสามารถใช้ได้อย่างรวดเร็ว  ต้นทุนทำธุรกรรมต่ำอยู่แล้วจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของไทย   แม้ว่ากรณีออกแบบให้ Retail CBDC จ่ายดอกเบี้ยได้ ก็ยังไม่สามารถทดแทนการชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตและโมบายแบงคกิ้งที่ผูกกับบัญชีเงินฝากทั่วไปหรือพร้อมเพย์  ปัจจุบันเงินฝากใช้งานได้สะดวกรวดเร็วขึ้นและมีต้นทุนการทำธุรกรรมที่ต่ำลงจากการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของไทยผ่านระบบพร้อมเพย์และ QR code ในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งเงินฝากจะยังเป็นทางเลือกหลักของประชาชนในการออมเงินจากจุดแข็งที่จ่ายผลตอบแทนเพื่อดึงดูดผู้ฝากเงิน

ธปท.เปิดผลศึกษา Retail CBDCต่อภาคการเงินไทย

ส่วนผลการศึกษาด้านนโยบายการเงิน  ซึ่งเกี่ยวข้องปริมาณเงิน การหมุนของเงินหรือสภาพคล่อง และด้านประสิทธิผล  โดยผลต่อปริมาณเงินเมื่อใช้ Retail CBDC นั้น  ทั้งกรณีใช้ Retail CBDCแทนเงินสด กับ e-Moneyบางส่วน พบว่าไม่มีผลกระทบให้ปริมาณเงินสดลดลง แต่องค์ประกอบของฐานเงินที่เปลี่ยนไป  กรณีใช้ทดแทน e-Money ฐานเงินจะใหญ่ขึ้น ช่วยให้เงินหมุนเร็วขึ้นโดยเฉพาะการเพิ่มโปรแกรมลักษณะพิเศษจะช่วยให้ Retail CBDC สนับสนุนนโยบายภาครัฐสามารถใช้จ่ายได้ตรงกลุ่มเป้าหมายเร่งให้เม็ดเงินเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจจริงมีประสิทธิผลมากขึ้น 

เมื่อพิจารณาโดยรวมแม้ Retail CBDCจะช่วยให้เงินหมุนเร็วขึ้นแต่จะไม่กระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงินในปัจจุบัน เพราะกรอบนโยบายการเงินไทยปัจจุบันที่ใช้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ(Inflation Targeting)ซึ่งให้ความสำคัญกับการดูแลต้นทุนทางการเงินโดยใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายในการส่งผ่านเศรษฐกิจหรืออัตราเงินเฟ้อซึ่งแตกต่างจากการกำหนดเป้าหมายปริมาณเงินที่ใช้ในอดีตที่ผ่านมา

“ ถ้าการใช้Retail CBDC ไม่กระทบเรื่องปริมาณเงินหรือสภาพคล่องในระบบการเงินของไทย     ทำให้คนจับจ่ายใช้สอยได้เร็วขึ้นจากการหมุนเร็วขึ้น และไม่ส่งผลกระทบต่อนโยบายการเงินเพราะปัจจุบันเราใช้ Inflation Targeting”

หรือกรณี ถ้าใช้ Retail CBDC จะกระทบประสิทธิผลการส่งผ่านกลไกดอกเบี้ยนโยบายหรือไม่นั้น  ถ้าออกแบบ Retail CBDC โดยไม่จ่ายดอกเบี้ย หรืออัตราผลตอบแทน  และยังคงกระจายเงินผ่านสถาบันการเงินซึ่งเป็นตัวกลางสู่ประชาชนหรือผู้ถือวอลเล็ต ซึ่งยังทำนโยบายการเงินได้เช่นเดิม

ขณะที่ Retail CBDCมีเทคโนโลยีที่สามารถเขียนโปรแกรมพิเศษขึ้นไปได้จะสามารถทำอะไรได้มากขึ้น เช่น จ่ายผลตอบแทน หรือ ทำเป็นเครื่องมือใหม่ เช่น เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงินที่ตรงจุดซึ่งจะเพิ่มประสิทธิผลนโยบายได้ แต่อาจต้องพิจารณาผลเสียด้วย

นอกจากนี้การใช้ Retail CBDC ถ้ากำหนดรูปแบบRetail CBDC ให้ชัดเจนตั้งแต่แรก เช่น ไม่จ่ายดอกเบี้ย และทำผ่านตัวกลาง และจำกัดปริมาณการถือหรือถอน  หรือการใช้จ่ายแลกเปลี่ยนและหากเหลือใช้สามารถนำกลับมาเป็นเงินฝากได้ เหล่านี้จะไม่กระทบระบบสถาบันการเงิน

ด้านประโยชน์ระดับประเทศนั้น  นอกจากยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินเพื่อต่อยอดพัฒนานวัตกรรมอย่างทั่วถึงแล้ว  ยังเป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้เงินสด   ลดต้นทุนการใช้เงินสดต่อระบบเศรษฐกิจ  ช่วยปิดโอกาสการเข้าถึงบริการทางการเงินดิจิทัลมากขึ้น ผ่านผู้ให้บริการทางการเงินที่หลากหลาย ขณะเดียวกันป้องกันการผูกขาดระบบการชำระเงินของธุรกิจการเงินภาคเอกชนรายใดรายหนึ่ง ค่าธรรมเนียม คุณภาพบริการ การเงิน การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มประสิทธิภาพและที่สำคัญสำหรับภาครัฐเพิ่มประสิทธิผลนโยบายเศรษฐกิจ โดยดำเนินนโยบายได้ตรงจุดขึ้นลดการรั่วไหล และวัดประสิทธิผลชัดขึ้น โดยเฉพาะภาครัฐมีโครงสร้างพื้นฐานระบบการเงินที่พร้อมรับเศรษฐกิจดิจิทัล

ธปท.เปิดผลศึกษา Retail CBDCต่อภาคการเงินไทย