สำมะโนประชากร 2568 คืออะไร ไขข้อสงสัยทำไมต้องสำรวจข้อมูล

05 เม.ย. 2568 | 06:06 น.

สำมะโนประชากร 2568 คืออะไร ไขข้อสงสัยทำไมต้องสำรวจข้อมูล หลังสำนักงานสถิติเริ่มทำการสำรวจแบบออนไลน์ คลิกอ่านด่วน

สำมะโนประชากร 2568 สำนักงานสถิติแห่งชาติ บทบาทหน้าที่ คือ จัดทำข้อมูลสถิติพื้นฐานด้านประชากรและสังคม ด้วยวิธีสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่าง เพื่อใช้ในการวางแผน ติดตาม ประเมินผล และเฝ้าระวังทางสังคม พัฒนาวิธีการจัดทำสถิติ และส่งเสริมการใช้ข้อมูลด้านประชากรและสังคม ศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อใช้ในการวางแผนจัดทำสถิติด้านประชากรและสังคม

สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดให้ทำแบบสอบถามสำมะโนประชากร  2568 ตั้งแต่วันที่ 1-20 เมษายน ผ่าน 3 ช่องทา

  • ออนไลน์ www.nso.go.th
  •  แอปพลิเคชั่นทางรัฐ 
  • เว็บไซต์ทางรัฐ.com 

สำมะโน คืออะไร

  • การสำรวจโดยการแจงนับจากทุกหน่วยที่เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554) ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลของสิ่งที่สนใจทั้งหมดทั่วประเทศ เช่น คน ที่อยู่อาศัย การเกษตร การทำประมง ธุรกิจการค้า

 

ทำไมต้องสำมะโนประชากร

แม้ว่าปัจจุบันจะมีข้อมูลจำนวนประชากรจากทะเบียนราษฎร แต่สำมะโนประชากรและเคหะ ยังคงมีความจำเป็น เนื่องจาก:

1. ข้อมูลจากทะเบียนราษฎรอาจไม่สะท้อนการกระจายตัวของประชากรที่แท้จริง

  •   ประชากรบางส่วนไม่ได้อยู่อาศัยในที่อยู่ที่ระบุไว้ในทะเบียนราษฎร เช่น นักเรียน คนทำงานที่ย้ายถิ่น หรือแรงงานข้ามจังหวัด
  • สำมะโนช่วยให้เห็นภาพรวมที่แท้จริงของการกระจายตัวประชากร และสามารถใช้ในการวางแผนบริการสาธารณะในแต่ละพื้นที่

2. การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต้องอาศัยข้อมูลประชากรที่ถูกต้อง ณ สถานที่อยู่อาศัยจริง

  • ข้อมูลสำมะโนให้รายละเอียดเกี่ยวกับ โครงสร้างอายุ การศึกษา และที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดนโยบายสาธารณะ
  • ภาครัฐสามารถใช้ข้อมูลเพื่อ วางแผนจัดสรรงบประมาณและทรัพยากร ได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่

3. มาตรฐานสากลแนะนำให้ทุกประเทศทำสำมะโนทุก 10 ปี

  • องค์การสหประชาชาติ (UN) แนะนำให้ประเทศต่าง ๆ จัดทำสำมะโนประชากรและเคหะทุก 10 ปี โดยเฉพาะในปีที่ลงท้ายด้วย "0" เช่น ปี 2000, 2010, 2020
  • เพื่อให้สามารถ เปรียบเทียบข้อมูลประชากรระหว่างประเทศ และใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเชิงนโยบายทั้งในระดับประเทศและระดับโลก

สำมะโนประชากรและเคหะเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานที่ช่วยให้รัฐบาลสามารถวางแผนพัฒนาประเทศได้อย่างแม่นยำ ครอบคลุมทุกกลุ่มประชากร และ สอดคล้องกับความเป็นจริงของสังคม ซึ่งทะเบียนราษฎรเพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถตอบโจทย์นี้ได้ทั้งหมด

สำมะโนประชากร 2568 คืออะไร ไขข้อสงสัยทำไมต้องสำรวจข้อมูล

ประเทศไทยเริ่มสำมะโนประชากรเมื่อไหร่

  •  ปี พ.ศ. 2448 ประเทศไทยเริ่มต้นการนับจำนวนประชากรครั้งแรกในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 การเก็บข้อมูลในครั้งนั้นเรียกว่า “บัญชีพลเมือง” 
  • ปี พ.ศ. 2452 กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลประชากรในรูปแบบของ สำมะโนประชากร การสำรวจในช่วงแรกเรียกว่า “สำมะโนครัว”
  • ปี พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เริ่มดำเนินการเก็บข้อมูลจำนวนและจัดทำทุก 10 ปี เรียกว่า “สำมะโนประชากร” ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 ได้จัดทำ “สำมะโนเคหะ” ควบคู่ด้วย จึงเรียกว่า สำมะโนประชากรและเคหะ

ข้อมูลทะเบียนราษฎร กับ ข้อมูลสำมะโนประชากรและเคหะ ต่างกันอย่างไร

 ข้อมูลประชากรจากทะเบียนราษฎร แสดงจำนวนประชากรไทยและไม่ใช่สัญชาติไทยที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน และทะเบียนบ้านกลาง ซึ่งประชากรที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอาจไม่ได้อาศัยอยู่จริง ณ ช่วงเวลานั้น 
    * ข้อมูลสำมะโนประชากรและเคหะแสดงจำนวนประชากรไทยและไม่ใช่สัญชาติไทยที่มีชื่อและไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ซึ่งอาศัยตามที่อยู่จริง ณ ช่วงเวลานั้น

 

วันสำมะโนประชากรและเคหะ วันใด

  • ในปี พ.ศ. 2568 สำนักงานสถิติแห่งชาติกำหนดวันสำมะโนประชากรและเคหะ คือวันที่ 1 เมษายน 2568 ซึ่งเป็นเสมือนการฉายภาพนิ่ง ณ วันสำมะโน (วันที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นเวลาอ้างอิง) เพื่อแสดงภาพว่า ณ วันสำมะโน ประเทศไทยมีประชากรเท่าใด อยู่ที่จังหวัด/อำเภอ/ตำบลใด เป็นชาย/หญิง เด็ก/คนทำงาน/คนแก่ คนพิการเท่าใด มีการศึกษาระดับไหน มีผู้รู้หนังสือมากน้อยเพียงใด คนในวัยทำงานมีงานทำหรือไม่ ที่ใดมีผู้ย้ายถิ่นเข้า/ออก เป็นต้น.

ที่มา: