นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อํานวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดผลงานเด่นของกระทรวงพาณิชย์ ในรอบ 6 เดือน ภายใต้การนำของ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งในเดือนกันยายน 2567 ทั้ง 9 ผลงานประกอบด้วย
1. ส่งออกไทย 5 เดือน เติบโตเฉลี่ย 11.8% โดยตั้งแต่นายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เข้ามาบริหารประเทศ การส่งออกไทยเติบโตต่อเนื่อง มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 11.8% ต่อเดือน
โดยช่วง 2 เดือนแรก (ม.ค. - ก.พ.) ของปี 2568 ขยายตัว 10.9% มีมูลค่าการค้ารวม 299,494 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2567 การส่งออกไทย ขยายตัว 5.4% สูงสุดเป็นประวัติการณ์ มีมูลค่า 300,529.5 ล้านดอลลาร์ หรือมากกว่า 10 ล้านล้านบาท รวมถึงการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน ปี 2567 ขยายตัว 6.1% มูลค่าการค้าทะลุ 1.8 ล้านล้านบาท
2. ลงนามเขตการค้าเสรีไทย - เอฟตา เป็น FTA ฉบับแรกของไทยกับประเทศในยุโรป ซึ่งไทยจะได้ประโยชน์ทั้งการส่งออก ลดต้นทุนนำเข้า และดึงดูดการลงทุน ตลอดจนความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะพัฒนายกระดับขีดความสามารถไทยให้แข่งขันได้ในเวทีโลก คาดว่าจะทำให้ GDP ของไทยขยายตัวเพิ่มอีก 0.179%
FTA ไทย - ภูฏาน ซึ่งมีการลงนามวันที่ 3 เม.ย. 2568 โดยภูฏานสามารถเป็นตลาดส่งออกสินค้าให้ไทยได้ในระยะยาวได้ แม้จะเป็นประเทศขนาดเล็ก แต่เศรษฐกิจของภูฏานยังเติบโตได้อีกมาก โดยภูฏานจะเปิดตลาดสินค้าให้กับไทย 99.8% ของจำนวนรายการสินค้าทั้งหมด
นอกจากนี้ ได้เร่งเครื่อง FTA ไทย - อียู ตั้งเป้าปิดดีลภายใน ธ.ค. 2568 รวมทั้งเร่งผลักดัน FTA ที่อยู่ระหว่างการเจรจาให้แล้วเสร็จตามกรอบเวลา อาทิ ไทย - เกาหลีใต้ ไทย - ยูเออี และอาเซียน – แคนาดา
3. ลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น จัดกิจกรรมฟื้นฟูเศรษฐกิจแคมเปญต่อเนื่อง 5 เดือน (ก.ย. 2567 - ม.ค. 2568) ลดราคาสินค้า ช่วยลดภาระค่าครองชีพ 14,400 ล้านบาท โครงการชูใจ วัยเก๋า 60+ (วันที่ 30 ม.ค. - 30 เม.ย. 2568) ให้ผู้สูงอายุซื้อสินค้าราคาประหยัด ลดค่าครองชีพ รวมกว่า 10,000 ล้านบาท และสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ได้เตรียมโครงการ Back to School 2025 สำหรับนักเรียน นักศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการเงินหมื่นเฟส 3 สามารถใช้สิทธิ์ซื้ออุปกรณ์ การเรียน เครื่องแต่งกาย และสินค้าไอทีในราคาพิเศษ ตลอดจนจัดกิจกรรมธงฟ้าราคาประหยัดทั่วประเทศ มากกว่า 500 ครั้ง เพื่อจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในราคาประหยัด
4. กวาดล้างธุรกิจนอมินี โดยมีผลการดำเนินคดีรวม 851 ราย มูลค่าความเสียหายรวม 15,121 ล้านบาท และตั้งศูนย์ปฏิบัติการรับเรื่องร้องเรียนความผิดเกี่ยวกับนอมินี รวมทั้งแก้ไขปัญหาสินค้าด้อยคุณภาพจากต่างประเทศและสินค้าที่ฝ่าฝืนกฎหมาย โดยดำเนินคดีผู้กระทำผิดและฝ่าฝืนกฎหมาย 24,626 คดี มูลค่าความเสียหายรวม 1,257.24 ล้านบาท
นอกจากนี้มีการตรวจสอบโฆษณาและสินค้าผิดกฎหมายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ 17,568 รายการ/เว็บไซต์ พบกรณีเข้าข่ายกระทำผิดและได้แจ้งเตือนไปยังแพลตฟอร์ม (Notice) 8,095 รายการ/เว็บไซต์ และมีการถอดสินค้าดังกล่าวออกจากแพลตฟอร์ม (Takedown) 7,224 รายการ/เว็บไซต์ ซึ่งสามารถถอดสินค้าด้อยคุณภาพออกจากแพลตฟอร์มได้ถึง 90%
5.จัดงานแสดงสินค้ายิ่งใหญ่ แสดงศักยภาพสินค้าไทยสู่สายตาชาวโลก ได้แก่ งาน Bangkok Gems and Jewelry Fair ครั้งที่ 70 และ 71 และงาน THAIFEX-HOREC ASIA 2025 สร้างมูลค่าการค้ารวมกว่า 10,000 ล้านบาท และขณะนี้ อยู่ระหว่างจัดงาน STYLE Bangkok 2025 เป็นงานแสดงสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่นระดับนานาชาติ (วันที่ 2 - 6 เม.ย. 2568) งาน Thailand International Auto Parts & Accessories Show 2025 (TAPA 2025) งานแสดงสินค้าชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ของไทย (วันที่ 3 - 5 เม.ย. 2568) รวมทั้งเดือน พ.ค. จะจัดงาน THAIFEX Anuga Asia 2025 งานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่ใหญ่และครบวงจรที่สุดในภูมิภาคเอเชีย โดยทั้ง 3 งาน คาดว่าจะมีมูลค่าการค้ารวมกว่า 1.02 แสนล้านบาท
6.เร่งหาตลาดข้าว จัดคณะผู้ส่งออกข้าวไทยเดินทางเยือนแอฟริกาใต้ คาดปีนี้มีแนวโน้มส่งออกข้าวไปแอฟริกาแตะ 9 แสนตัน และเร่งรัดการซื้อขายข้าวตามสัญญากับจีน ปริมาณ 2.8 แสนตัน รวมทั้งเปิดเสรีข้าว ทลายทุนผูกขาดข้าว ช่วยผู้ประกอบการรายย่อยส่งออกข้าว
จัดคณะโรดโชว์ไปจีน (เซี่ยงไฮ้และเฉิงตู) โดยมีการลงนาม MOU ระหว่างผู้ประกอบการไทยกับบริษัท COFCO BIOTECHNOLOGY CO.,LTD หน่วยงานนำเข้าสินค้าเกษตรของจีน เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2568 สร้างความต้องการซื้อมันสำปะหลังไทย 9.8 แสนตัน (คิดเป็นหัวมันสด 2.96 ล้านตัน) มูลค่า 8,083 ล้านบาท
7. เร่งรัด 7 มาตรการ 25 แผนงาน บริหารจัดการผลไม้ตั้งเป้าระบายผลไม้ 9.5 แสนตัน
ให้ราคาดีทั้งปี เตรียมการล่วงหน้าเพื่อให้เกษตรกรขายได้ราคาดีที่สุด ประกอบด้วย
8.นำทัพ Soft Power ไทยสู่เวทีโลก สร้างมูลค่าการค้าให้กับประเทศไทยกว่า 7,077 ล้านบาท ผู้ประกอบการได้ประโยชน์ 205 ราย ผ่านการสนับสนุนอุตสาหกรรม Soft Power จำนวน 6 อุตสาหกรรม ได้แก่ หนังสือ เกม การออกแบบ แฟชั่น ภาพยนตร์ ละครและซีรีส์
9. ขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ใหม่ 18 รายการ (ก.ย. 2567 - มี.ค. 2568) สร้างมูลค่าทางการตลาดให้กับผู้ผลิตและผู้ประกอบการสินค้า GI เพิ่มขึ้นกว่า 4,500 ล้านบาท โดยปัจจุบันมีสินค้า GI รวม 224 รายการ และจับมือองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ตั้งเป้ายกระดับอันดับดัชนีนวัตกรรมโลก (GII) ของไทย
ทั้งด้าน Soft Power อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ รวมถึงใช้ IP ยกระดับภาคเกษตร สนับสนุนการพัฒนานโยบายและกฎหมาย IP ที่เกี่ยวกับ AI และการพัฒนาสินค้าสู่ Premium Products ตลอดจนปกป้องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ดำเนินคดี 1,367 คดี ของกลาง 2.9 ล้านชิ้น มูลค่าความเสียหาย 720 ล้านบาท
ทั้งนี้ยังมีหลายโครงการและกิจกรรม ในช่วง นายพิชัย นริพทะพันธุ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาส ให้กับการค้าไทย อีกทั้ง ยังได้สั่งการและกำชับให้ทุกหน่วยงานของ
อย่างไรก็ดีกระทรวงพาณิชย์เร่งเดินหน้าขับเคลื่อนงานของกระทรวงเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าของประเทศ ซึ่งที่ผ่านมา ผลงานได้ปรากฎเห็นผลเป็นรูปธรรมแล้ว โดยจะมุ่งแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน เร่งแก้ปัญหาสินค้าเกษตรราคาตกต่ำ
รวมถึงสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทย อำนวยความสะดวกด้านการค้า ควบคู่กับผลักดันการส่งออก เนื่องจากไทยเป็นประเทศเล็กและเปิด จึงจำเป็นต้องพึ่งพาการส่งออก เพื่อให้เศรษฐกิจการค้าไทยเดินหน้าเติบโตอย่างแข็งแกร่งในระยะยาว