ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงในบริบทโลก ทั้งความตึงเครียดทางการเมือง วิกฤตเศรษฐกิจ และค่าใช้จ่ายการศึกษาที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศตะวันตก ได้ผลักดันให้นักเรียนชาวจีนมองมายังอาเซียนในฐานะจุดหมายปลายทางใหม่สำหรับการศึกษา โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีการเพิ่มขึ้นของนักเรียนและนักศึกษาจีนจำนวนมาก
จากข้อมูลในปี 2565 พบว่า นักศึกษาต่างชาติที่เรียนในไทยส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาจีน โดยมีจำนวนถึง 21,419 คน เพิ่มขึ้นถึง 130% จาก 9,329 คนในปี 2555 การเพิ่มขึ้นดังกล่าวเป็นผลจากระบบการศึกษาที่เปิดกว้าง ค่าเล่าเรียนที่ต่ำกว่า และการดำเนินการด้านวีซ่าที่ไม่ซับซ้อน
แนวโน้มดังกล่าว จึงทำให้ทุนจีนที่ย้ายฐานการผลิตมาไทยไม่เพียงเข้ามาลงในอุตสาหกรรมที่หลากหลายแล้ ยังพบว่าแวดวงการศึกษาในประเทศไทยในปัจจุบันยังพบว่า มีกลุ่มนักลงทุนจีนได้เข้าไปถือหุ้นในมหาวิทยาลัยเอกชนแล้วหลายแห่ง
ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรร ม(อว.) ที่ให้สัมภาษณ์สื่อในเครือเนชั่นว่า ปัจจุบันพบการเข้ามาถือหุ้นของกลุ่มทุนจีนในมหาวิทยาลัยเอกชนแล้วอย่างน้อย 3 แห่ง นั่นคือ
ซึ่งกระทรวงได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและเข้มงวดในการกำกับดูแลผ่านพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ทั้งในด้านหลักสูตร การเงิน และการบริหารจัดการ
“เรามีการติดตามอย่างต่อเนื่องในทุกมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะประเด็นที่น่ากังวลคือ จำนวนนักศึกษาจีนที่เข้ามาเรียนค่อนข้างมาก ต้องตรวจสอบว่ามี การเรียนจริงหรือไม่ หรือเป็นการแอบแฝงเข้ามาทำงาน รวมถึงการตรวจสอบเรื่องคุณภาพการศึกษา การใช้เงินกองทุน และความผิดปกติต่างๆ”ปลัดอว.กล่าว
ปัจจุบันมีหลายกรณีที่อยู่ในการเฝ้าระวังของกระทรวง อว. อาทิ กรณีมหาวิทยาลัยชินวัตร ที่เคยเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัย เมธารัถ แต่ภายหลังขอเปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อเดิม ซึ่งที่ผ่านมา กรรมการสภามหาวิทยาลัยที่มีตัวแทนของกระทรวง ได้เข้าตรวจสอบและพบความผิดปกติบางประการ จึงสั่งให้แก้ไข
นอกจากนี้ยังมีกรณีของมหาวิทยาลัยเกริก ที่มีการเข้ามาลงทุนจีน โดยได้ซื้อกิจการวิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง เพื่อเป็นสาขาวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย รวมถึงมีข่าวว่า การซื้อกิจการของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง ที่จะมีการขายหุ้นให้กับนักลงทุนจีนเช่นกัน
ดร.ศุภชัยยอมรับว่า แม้กฎหมายจะให้ความยืดหยุ่นเพื่อให้สถาบันสามารถปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของโลก แต่จำเป็นต้องมีมาตรการเพิ่มเติมในการกำกับดูแล โดยเฉพาะสถาบันที่มีต่างชาติถือหุ้น ซึ่งต้องมีการตรวจสอบที่มาของเงินลงทุนอย่างละเอียด เช่นเดียวกับมาตรฐานการกำกับดูแลสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย
“เราอาจต้องพิจารณาใช้มาตรการคล้ายกับการขออนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว หรือการขอใบอนุญาตธนาคาร ที่ต้องมีการตรวจสอบที่มาของเงินทุนอย่างละเอียด และผู้ถือหุ้นต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนด เพื่อป้องกันการใช้ตัวแทน (nominee) มาถือหุ้นแทน” ปลัด อว. ระบุ
ปลัด อว. กล่าวอีกว่า ตามมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน กำหนดให้มหาวิทยาลัยเอกชนต้องจัดสรรทุนเป็น 6 กองทุน ได้แก่
เพื่อเป็นหลักประกันในการดำเนินงานและดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ทั้งนักศึกษา คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่เพื่อดูแลนักศึกษาและบุคลากรในกรณีที่เกิดปัญหา โดยต้องจัดสรรกำไรเข้ากองทุนตามสัดส่วนที่กำหนด
“มาตรการนี้เป็นบทเรียนจากกรณีสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในอดีตที่ปิดกิจการ ทำให้เกิดภาระในการดูแลนักศึกษาและบุคลากรจำนวนมาก หากพบการดำเนินการนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์และผิดปกติ จะมีการแจ้งเตือน หากเตือนแล้วไม่ดำเนินการแก้ไขกระทรวงมีอำนาจในการเข้าควบคุม”
อย่างไรก็ตามในอีกมุมหนึ่ง ดร.ศุภชัย มองว่า การลงทุนจากต่างชาติยังเป็นโอกาสที่จะพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการศึกษา โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ มีความตึงเครียด ทำให้ไทยมีโอกาสในการดึงดูดนักศึกษาคุณภาพจากจีนให้เข้ามาเรียนและทำงานในไทย
“เรากำลังผลักดันนโยบาย Study in Thailand เพื่อดึงดูดนักศึกษาต่างชาติที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐมนตรี โดยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยไทยกับสถาบันการศึกษาชั้นนำจากต่างประเทศ เราต้องการให้ไทยเป็น Regional Education Hub แต่ต้องเป็นการร่วมมือกับสถาบันที่มีคุณภาพ และต้องมีการควบคุมมาตรฐานอย่างเข้มงวด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาการศึกษาของประเทศ” ปลัด อว.กล่าวทิ้งท้าย
ในการออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อกำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษาที่มีต่างชาติถือหุ้น ปลัด อว. ยอมรับว่า ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติระหว่างสถาบันที่มีต่างชาติถือหุ้นกับสถาบันของคนไทย และต้องสอดคล้องกับกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับฝ่ายกฎหมายเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม
ทั้งนี้ พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน มาตรา 84 ระบุว่า ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดนั้น ให้คณะกรรมการเตือนเป็นหนังสือให้ปรับปรุงแก้ไขสิ่งต่าง ๆ ตามที่แจ้งไปภายในเวลาที่กำหนด
ถ้าหากสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้นไม่ดำเนินการตาม ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้งดรับนักศึกษาในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งหรือทุกสาขาวิช เพิกถอน การรับรองวิทยฐานะ และเพิกถอนใบอนุญาตตามลำดับ
ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกล่าสุดของมหาวิทยาลัยเอกชน 3 แห่ง ผ่านระบบการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ Creden Data จากฐานข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์พบข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับโครงสร้างบริษัทที่บริหารงานมหาวิทยาลัย เอกชนทั้ง 3 แห่ง ดังนี้
ดำเนินการในนามบริษัท เกริก สุวรรณี และบุตร จำกัด จดทะเบียนตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2558 เพื่อดำเนินธุรกิจด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษา ปริญญาตรี โดยข้อมูล ณ วันที่ 22 ม.ค. 68 พบว่า มีกรรมการบริษัท 3 คน ประกอบด้วยนายกระแส ชนะวงศ์, นายหวัง ฉางหมิง และ นางกนกวรรณ หลี่
ขณะที่โครงสร้างการถือหุ้นมีด้วยกัน 2 ราย คือ บริษัทเกริก อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเคชั่นโฮลดิ้งจำกัด สัญชาติไทย ถือหุ้นในสัดส่วน 100% จำนวน 299,998 หุ้น ส่วนอีกรายคือ นางกนกวรรณ ถือหุ้นจำนวน 2 หุ้น
ทั้งนี้บริษัทเกริก สุวรรณี และบุตรจำกัด ยังเข้าไปถือหุ้น 3 บริษัทหลัก 3 บริษัทย่อย นั่นคือ บริษัท หมิงจ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง กรุ๊ป จำกัด สัดส่วน 30% จำนวน 48,000 หุ้น และบริษัท หมิงจ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเคชั่น (ประเทศไทย)จำกัด สัดส่วน 2% จำนวน 6,000 หุ้น และ บริษัทเกริก อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเคชั่น โฮลดิ้งจำกัด สัดส่วน 2% จำนวน 12,000 หุ้น
สำหรับบริษัทเกริก อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเคชั่น โฮลดิ้งจำกัด ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทเกริก สุวรรณี และบุตรจำกัดนั้น ปรากฎรายชื่อกรรมการ /คือ คือนายหวัง ฉางหมิง และนางกนกวรรณ หลี่ ส่วนโครงสร้างผู้ถือหุ้นของเกริก อินเตอร์เนชั่นแนลฯ พบว่า มี 4 ราย ประกอบด้วย
ส่วนมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ดำเนินงานโดย บริษัท ฟาร์อีสต์ แสตมฟอร์ด อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โดยข้อมูล ณ วันที่ 22 ม.ค. 68 พบว่า บริษัทได้จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2537 แจ้งดำเนินธุรกิจการศึกษาระดับอุดมศึกษา ปริญญาตรี มีกรรมการ 4 คน คือ
ส่วนโครงสร้างผู้ถือหุ้น
สำหรับบริษัท ไทย เอ็ดยูเคชั่น โฮลดิ้งส์จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท ฟาร์อีสต์ แสตมฟอร์ดฯ นั้น จากการตรวจสอบข้อมูลพบรายชื่อกรรมการเหมือนกันกับบริษัท ฟาร์อีสต์ แสตมฟอร์ดฯ ทั้ง 4 คน
โดยโครงสร้างบริษัท พบว่ามีบริษัท ไซน่า หยู่ฮวา เอ็ดดูเคชั่น อินเวสเมนท์ ลิมิเต็ด สัญชาติจีน ถือหุ้นใหญ่สุด สัดส่วน 44.30% จำนวน 15,907 หุ้น รองลงมาคือ ทม สิริสันต์ และสุธีรัตต ยศยิ่งยวด ถือหุ้นในสัดส่วนเท่ากัน 27.85% จำนวน 10,000 หุ้น
ขณะที่มหาวิทยาลัยชินวัตร ดำเนินงานโดยบริษัทเฟธ สตาร์ (ประเทศไทย)จำกัด โดยข้อมูล ณ วันที่ 22 ม.ค. 68 พบว่า บริษัทจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2541 ชื่อเดิมบริษัทโอเอไอ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด แจ้งดำเนินธุรกิจกิจกรรมของบริษัทโฮลดิ้งที่ไม่ได้ลงทุนในธุรกิจการเงินเป็นหลัก มีกรรมการ 8 คน คือ
ส่วนโครงสร้างผู้ถือหุ้น มีบริษัทโกลบอล แอดวานซ์ เลิร์นนิ่ง (ประเทศไทย)จำกัด สัญชาติไทย ถือหุ้นสัดส่วน 51% จำนวน 127,500,000 หุ้น รองลงมาคือ บริษัทโฮป เอ็ดดูเคชั่น กรุ๊ป (ฮ่องกง)จำกัด สัญชาติฮ่องกง สัดส่วน 49% จำนวน 122,499,999 หุ้น และหวัง จิงซื่อ สัญชาติจีน จำนวน 1 หุ้น