จับตาปมร้อน"สหรัฐ-จีน-ไต้หวัน"สะเทือนเศรษฐกิจ-การค้าโลก

03 ส.ค. 2565 | 12:53 น.
อัปเดตล่าสุด :03 ส.ค. 2565 | 20:04 น.
887

"เอเซีย พลัส" วิเคราะห์ ปมร้อนการเยือนไต้หวันของ"แนนซี เพโลซี" เพิ่มดีกรีความขัดแย้ง สหรัฐ-จีน ปัจจัยเสี่ยงในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ และการค้าระหว่างประเทศ ทุบเศรษฐกิจโลก -ไทยการค้าสะดุด

บริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส (ASPS) ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้  (3 ส.ค.65 ) หลังการเดินทางเยือน"ไต้หวัน"ของนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ เมื่อวานนี้ 2 ส.ค.65 ว่า ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม ใน 2 แง่มุม คือ มุมของความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการที่จะเกิดการใช้กำลังระหว่างประเทศ และในมุมของการค้าระหว่างประเทศ  อย่างน้อยที่สุดทำให้ความคาดหวังว่ากำแพงภาษีระหว่าง สหรัฐ-จีน (Trade War) ที่ก่อนหน้านี้มีลุ้นว่า จะผ่อนคลาย อาจต้องล้มเลิกไป 

 

ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยฯได้ศึกษาผลกระทบต่อ SET Index ในช่วงที่มีการประกาศกำแพงภาษี แต่ละรอบพบว่ามีการปรับลดลงเฉลี่ย 7-10% 

 

 

จับตาปมร้อน\"สหรัฐ-จีน-ไต้หวัน\"สะเทือนเศรษฐกิจ-การค้าโลก

เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เดินทางถึงไต้หวันและกล่าวว่าเราเคารพในคํามั่น สัญญาของเราต่อระบอบประชาธิปไตย เพื่อย้ำว่าเราต้องเคารพเสรีภาพและประชาธิปไตย ของไต้หวันทั้งหมด ขณะที่จีนตอบโต้ทันทีที่เพโลซีถึงไต้หวัน โดยประกาศซ้อมรบทางทหาร ในวันที่ 4-7 ส.ค. นี้ ในน่านน้ำและน่านฟ้าที่ล้อมรอบไต้หวัน เตือนไม่ให้มีเรือหรือเครื่องบินใด ล้ำเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวระหว่างฝึกซ้อม ทําให้สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐ และจีนในไต้หวันนั้น เป็นเรื่องที่ต้องติดตามพัฒนาการต่อไป  ซึ่งอาจสร้าง Downside ใน เชิงเศรษฐกิจเพิ่มเติม หลังจากที่ IMF เพิ่งปรับลดคาดการณ์ World GDP Growth ปี 2565 จาก 3.6 % มาอยูที่ 3.2 % ซึ่งถือว่าอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับ World Bank และ OECD ที่ ปรับลดมาก่อนหน้านี้

 

 

จับตาปมร้อน\"สหรัฐ-จีน-ไต้หวัน\"สะเทือนเศรษฐกิจ-การค้าโลก

 

ขณะที่ ผลกระทบต่อประเทศไทยกรณีเลวร้ายน่าจะมีความเสี่ยงที่จะทําให้การค้าระหว่างประเทศสะดุด ขณะที่ไทยโครงสร้าง GDP สัดส่วนราว 68% มาจากภาคการส่งออก โดยไทยมีสัดส่วนการค้ากับจีนมากที่สุดราว 1.28 แสนล้านเหรียญในปี 2021 หรือคิดราว 22% ของประเทศคู่ค้าทั้งหมด และสหรัฐฯก็มีสัดส่วนการค้ากับไทยอันดับที่ 3 ราว 6.1 หมื่นล้านเหรียญ หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 11% ของประเทศคู่ค้าทั้งหมด โดยหากรวมสัดส่วนการค้า ทั้ง 2 ประเทศอยู่ที่ 33% หรือ 1 ใน 3 ของประเทศคู่ค้าท้ั้งหมดของไทย

 

จับตาปมร้อน\"สหรัฐ-จีน-ไต้หวัน\"สะเทือนเศรษฐกิจ-การค้าโลก

 

ที่มา :  บล.เอเซียพลัส (ASPS)